
รถสีสดใสที่นักเรียนและอาจารย์มหิดลวิทย์นังไปสถานีสามเสน
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก
น้อง ๆ นักเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เดินทางมายังจังหวัดพิษณุโลก และพักที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดกำแพงมณี อิเฎลมีหน้าที่ไปช่วยดูน้องตอนน้องทำวรรณกรรมสำหรับเด็ก เราเดินทางไปที่นั่นเหมือนชาวบ้านทั่วไป ไม่มีอะไรหรูหรา เรานั่งรถบัสตากลมออกจากโรงเรียนเวลาเที่ยง วันที่ 24 มิถุนายน 2553 ช่วงหน้าของรถบัสปิดทึบทำให้เหม็นควันรถจากคันด้านหน้ามาก อิเฎลจำได้ว่าเมื่อก่อนตองอิเฎลเรียนอยู่ที่นี่ มีรถบัวแบบรถเมล์สีแดง เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ อิเฎลนั่งกับอาจารย์อู๊ด เป็นอาจารย์คนใหม่ เขาเป็นคนดี ชอบช่วยเหลือคนอื่น หลังจากนั้นเราไปที่สถานีรถไฟสามเสน เดินไปเดินมา ถ่ายรูปในระหว่างรอรถกว่าหนึ่งชั่วโมง พวกเราประมาณ 150 คนมีตั๋วสำหรับรถไฟ 2 ตู้ท้ายสุด ตอนแรกแทบไม่มีที่นั่ง เพราะมีผู้โดยสารคนอื่น ๆ จึงขอให้เขาย้ายไปตู้อื่น ทีแรกอาจารย์จะให้อิเฎลนั่งกับอาจารย์ แต่เมื่อเข้าไปคนท้าย ๆ เลยได้นั่งกับน้อง ๆ อาจารย์ไม่เห็นอิเฎลก็เลยกลัวว่าอิเฎลจะตกรถ
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
♫ สมพงษ์ อ้นชาวนา ผู้นำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
♫ กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
♫ ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
♫ ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่
เรานั่งอยู่ในในรถไฟ 6 ชั่วโมง ประสพน์การณ์ครั้งแรกของน้องหลาย ๆ คน เพราะส่วนใหญ่นักเรียนมหิดลชอบใช้บริการ ขสมก. ส่วนอิเฎลเคยนั่งรถไฟไปกลับนครปฐมตอนไป survey มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นระยะที่สั้นมาก อิเฎลมาเจอครั้งนี้ยอมรับว่าน้อง ๆ ทุกคนมีความอดทนกันสุด ๆ เพราะรถไฟจอดทุกป้าย บางคนเตรียมข้าวมา บางคนต้องมาซื้อกิน ราคาแพงมาก ไวตามิลค์ราคา 20 บาท แม่ค้าทุกคนใส่เสื้อแดง มีโถน้ำแข็งติดป้ายยุบสภา พวกเราส่วนใหญ่ก็ทนไว้ หิวน้ำไม่เป็นไร หิวข้าวไม่เป็นไร เพราะเราไม่อยากสนับสนุน เรานั่งกันอย่างแออัด เพราะมีผู้โดยสารคนอื่นที่ไม่ยอมย้ายออกไปตู้อื่นด้วย พวกแม่ค้าเสื้อแดงก็เบียดเข้ามาชนพวกเราอย่างไม่เกรงใจ ยังดีที่มีพวกกลุ่มฮาเฮ ร้องเพลงกันทั้งขาไปขากลับ
เมื่อไปถึง มันเป็นเวลาเกือบเที่ยงคืนแล้ว เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่ดูแลเรา ทั้งทหาร ตำรวจ อำเภอ และแม่บ้าน มาต้อนรับเราอย่างดี มีรถทหารมารับอีกฟากหนึ่งของทางรถไฟ ทุกคนส่งกระเป๋าขึ้นรถ ปีนกันสนุกมาก นั่งตากลมชมวิวยามดึกไปถึงวัดกำแพงมณี หลวงพี่แมวมารับ มีข้าวต้มและนมให้กินกัน จากนั้น เรานั่งรถกระบะของชาวบ้านใจดี ที่มารับส่งเรากันอย่างฟรี ๆ อิเฎลนอนกับอาจารย์ ในห้องพักที่ศูนย์ปฏิบัติธรรม ระยะทางที่รถกระบะขับจากหน้าวัดเข้าป่า อยู่ที่ประมาณ 1 กิโลเมตรได้ เห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่มาก ที่คางมีรังผึ้งเหมือนเป็นเคราติดอยู่ อาจารย์สอนคณิตศาสตร์บอกว่าตอนกลางวัน มีผึ้งบินเต็มไปหมด ดูเป็นเคราใหญ่จริง ๆ เวลาเกือบเที่ยงคืนจนถึงหลังเที่ยงคืนของทุกวันพระจันทร์ทรงกลดเด่นสง่าอยู่กลางท้องฟ้าเสมอ ฟ้าเปิด อากาศแจ่มใส อิเฎลได้ยินชาวบ้านคุยกันว่า ไปบนหัวควายไว้ไม่ให้ฝนตก พวกเราจะได้ไม่ลำบาก ทุกเช้าเราจะมารวมกันหน้าพระใหญ่ สวดมนต์ นั่งสมาธิ วันแรก ๆ เราตั้งใจกันดี แต่วันสุดท้าย น้องบางคนอ่อนเพลียจนล้มหลับไม่รู้ตัวทั้งนั่งขัดสมาธิอยู่ แน่นอน เพราะหลังจากดูงานมาเหนื่อย ๆ พวกเขาทำงานกันถึงดึกเพื่อให้งานวรรณกรรมสำหรับเด็กเสร็จทันเวลา
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
น้องผู้หญิงนอนในบ้านปูน ส่วนน้องผู้ชายนอนในบ้านมุงจาก แต่มีมุ้งให้ บางคนเห็นว่าเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม จึงเกิดอาการกลัวผีมาก นอนเปิดไฟทั้งคืน เมื่อถึงตอนเช้า ห้องนั้นกลายเป็นที่ชุมนุมกันของแมลงนานาชนิด จนเปิดมุ้งออกมาไม่ได้ น้องเล่าว่า เขามองไม่เห็นอะไรเลย เพราะแมลงมาอุดทุกตารางนิ้วของผ้ามุ้ง ส่วนน้องอีกคนตื่นเช้ามา พบว่าเท้าของตนเกินออกไปนอกมุ้ง โดนยุงและเหลือบกัดเป็นเม็ดมากมาย มาค่ายครั้งนี้ น้อง ๆ เป็นเม็ดแบบน่ากลัวกันหลายคน ทหารจึงพาไปส่งโรงพยาบาล แม่เมื่อเขาเห็นว่ามาบ่อยกันเหลือเกิน จึงส่งหมอชุมชนหิ้วกล่องยามาปฐมพยาบาลกันถึงที่
เช้าขึ้นมา หลวงพี่แมว พานักเรียนเดินชมวัด ดูหุ่นจำลองนรก มีเปรตและการทรมานต่าง ๆ ในวัด มีสวนสัตว์ มีวังมัจฉา และมีหมาวัก 106 ตัว ซึ่งทำให้วัดไม่เคยโดนขโมย อิเฎลกับน้อง ๆ ก็ซื้ออาหารปลาให้ปลากันคนละถุงสองถุง ถือว่าทำบุญให้วัด เพราะทางวัดไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ หลวงพี่แมวพูดถึงหลักธรรมจากใบไม้ เมื่อต้นไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมรอบบริเวณ กันไม่ให้น้ำระเหยไปจากดิน ต้นไม้เล็ก ๆ ก็มาพึ่งพาอาศัย เมื่อเทียบกับต้นไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นกลางดินแห้งแล้ง ต้นไม้นั้นก็เอาชีวิตรอดไม่ได้
หลังจากเที่ยววัดกำแพงมณีกับหลวงพี่แมว นักเรียนได้แยกเป้นสองกลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งไปสอนหนังสือน้อง และอีกกลุ่มไปดูงานเศรษฐกิจพอเพียง กับการทำกล้วยตาก เรารอรถอยู่บนโบสถ์ แม่นัท แม่ของนักเรียนคนหนึ่งในค่าย มาพูดบรรยายให้เราสำนึกในความเป็นชาติ เธอเริ่มจากเรื่องการดำเนินชีวิตอยู่กับธรรมชาติ คือสามารถอยู่ได้ทุกที่ ร่วมกับทุกคนในโลก โดยไม่ต้องแสดงความอึดอึด หรือทำให้คนรอบข้างอึดอัด จนกระทั่งถ้ามีงูเลื้อยมา ก็ไม่ต้องตีมันหรือตกใจกลัว เพราะมันจะเลื้อยผ่านไปเอง แม่นัทสอนเรื่องการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ว่า อย่างน้อยที่สุด ต้องเกิดประโยชน์แก่ตนเองและไม่เป็นปัญหาแก่ผู้อื่น และอย่างดีที่สุดคือเป็นประโยชน์แก่ตัวเองและให้ประโยชน์กับสังคม
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
♫ สมพงษ์ อ้นชาวนา ผู้นำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
♫ กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
♫ ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
♫ ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่
แม่นัทกล่าวต่อ เรื่องการขอยืม การกู้ เป็นเรื่องเสียศักดิ์ศรี เกิดจากกิเลสที่เห็นเพื่อนบ้านมีข้าวของ มีรถ มีตู้เย็น จึงซื้อตามจนเงินหมด เมื่อมีหนี้จนหัวโตแล้ว ชาวบ้านจึงคิดได้ กลับใจ ใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงค์ชีวิต ไม่จ่ายเกินรายรับ เรื่องการกินการอยู่นั้นเหมือนกัยเรื่องอื่น ๆ คือ มีทางเลือกเสมอ ถ้าชาวบ้านไม่มีเงิน ก็ไม่จำเป็นต้องกินของแพง อาหารครบ 5 หมู่ราคาถูกมีถมไป ชาวบ้านบางคนไม่มีรถ เลยไม่รู้จะซื้อของกินที่ไหน จึงเกิดสหกรณ์หมู่บ้านขึ้น และมีการนัดกันไปซื้อของ เพื่อให้เสียน้ำมันเพียงหนเดียว
แม่นัทมีความคิดต่อต้านธุรกิจ Mall ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เหมือนกับชาวบ้านจังหวัดอื่น ๆ และเหมือนกับอิเฎลด้วย แม้ว่าอิเฎลจะเกิดเป็นชนชั้นกลาง ซึ่งส่วนใหญ่พ่อแม่มีรถ และชอบการลดแลกแจกแถมของห้างเหล่านี้ อิเฎลทราบดีว่ามันเป็นการทรยศชาติ ทำลายธุรกิจของคนไทย แม่นัทเล่าถึงวิดีโอ ประเทศอาเจนติน่า ซึ่งเคยเป็นประเทศที่หรูหรา มั่งมี เก่งกีฬา แต่กลับถูกกลืนชาติด้วยลัทธิวัตถุนิยม ทุกคนชอบความฟุ้งเฟื้อ ประชาชนขายบ้าน เพราะความต้องการทางวัตถุ จนกลายเป็นลูกจ้างของต่างชาติไปหมด ซึ่งประเทศไทยใกล้ยุคนั้นแล้ว มีน้อยคนที่ตระหนักถึงปัญหานี้ สมาชิคในครอบครัวของอิเฎลยังคิดแต่จะสะสมแต้ม เอาของแถม ให้พูดกี่ครั้งว่าท่านกำลังทำลายชาติ ก็ไม่มีใครฟัง คงเห็นว่าอิเฎลอายุน้อยที่สุดกระมั้ง ไม่เหมือนกับในภาพยนตืที่ผู้ใหญ่เขาสำนึกได้เพราะคำพูดลูกหลาน เรื่องจริงคือพวกผู้ใหญ่มี ego สูง คิดแต่เรื่องเงิน หากให้เลือกว่าเงิน ชาติ หรือศักดิ์ศรีนั้นดีที่สุด ผู้ใหญ่มักจะเลือกชาติและศักดิ์ศรี แต่เมื่อให้เลือกปฏิบัติ ผู้ใหญ่ก็เอาแต่เงิน
อิเฎลแสดงความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว ขอกลับมาที่เรื่องที่แม่นัทพูด แม่นัทเล่าให้ฟังว่าเพื่อนของตนมีธุรกิจขายของชำ เดิมทีครอบครัวได้รายได้เป็นแสน แต่พอมี Mall ต่างชาติมาตั้ง รายได้ลดลงเหลือไม่ถึงครึ่ง อิเฎลขอเสริมว่า เมื่อคนซื้อน้อย มันก็จะเกิดวงจรอุบาตว์ ในไม่ช้า ของแทบทุกชนิดมีวันหมดอายุ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กไม่มีทางเลือก เอาของไปหมุนเวียน หรือประชาสัมพันธ์ลดราคาเยอะ ๆ ไม่ได้ เมื่อลูกค้าจะมาซื้อแล้วเห็นมีแต่ของใกล้หมดอายุ ลูกค้าก็ยิ่งหนีออกห่าง
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

กล้วยเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีที่อำเภอบางกระทุ่ม
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก
หลังจากนั้น อิเฎลควรจะมีหน้าที่รอรับวิทยากรผู้บรรยาย แต่อาจารย์อีกท่าน ชวนไปดูงานด้วย อิเฎลฟังเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และวิธีทำกล้วยตาก ซึ่งมีประโยชน์มาก อิเลนำมาเขียนได้เป็นหน้า แบ่งปันประสพน์การณ์ให้ท่านผู้อ่าน ก็รู้สึกทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นแล้ว ทั้งยังได้ทบทวนความรู้อีกด้วย แต่อิเฎลอยากขอว่า กรุณาอย่าคัดลอกไปลงเว็ปไซด์อื่นเลย มันเป็นการขโมยอย่างหนึ่ง อิเฎลไม่ลบบทความพวกนี้หรอก ให้ Link เพื่อนไปดูก็พอ แต่ถ้าจะพิมพ์แจกเด็กนักเรียน อิเฎลยินดี ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มา อย่างน้อยควรให้เกียรติกันบ้าง
เมื่อเสร็จจากการดูงานทั้งสองแห่ง เราไปที่ว่าการอำเภอบางกระทุ่ม อิเฎลสังเกตุว่าทุกคนใส่เสื้อสีม่วง กันหมด เหมือนเสื้อหอนักเรียนหญิงของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เราฟังนายอำเภอบรรยาย เขาเล่าว่าสมเด็จพระเทพเสด็จมาหลายอำเภอในจังหวัดพิษณุโลกในปี 2551 เพื่อติดตามผลโครงการพระราชดำริมูลนิธิชัยพัฒนา ครั้งนั้นพระเทพเสด็จขึ้นที่ว่าการอำเภอ ทำให้แต่เดิมที่ชาวบ้านทุกคนเคยใส่รองเท้าขึ้นไป ก็ไม่ใส่รองเท้าขึ้นไปอีกเลย เพราะถือว่าเมื่อพระเทพเคยมาแล้ว ก้จะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เราฟังบรรยายเรื่องรางวัลต่าง ๆ ที่อำเภอบางกระทุ่มได้ ทั้งเรื่องปศุสัตว์ และเรื่องการปลูกป่า เวลาเดินดูที่ว่าการอำเภอเหลือน้อยจนไม่ได้ไปดูอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวร ซึ่งนายอำเภอบอกว่าจะทำพิธีบวงสรวงทุก ๆ วันที่ 1 เมษายน

คนที่นี่ใส่เสื้อสีม่วงเพราะรักพระเทพทุกคน
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก
เมื่อกลับวัดกำแพงมณี อิเฎลมีหน้าที่เดินดูน้อง ๆ มหิดลวิทยานุสรณ์ทำนวนิยายเด็ก หรือเรียกว่าวรรณกรรมสำหรับเด็ก ช่วยอาจารย์ปรีดากับพี่อีกสามคนแนะนำน้อง ๆ อิเฎลจะเดินไปเดินมา แนะนำไปทั่ว ทั้งการเขียน การวาด ที่จริงอิเฎลถนัดการวาด แต่อยากให้น้อง ๆ วาดกันเองและคิดลงสีกันเอง อิเฎลจึงแค่วาดให้ดู แต่ไม่วาดให้ ตอนนี้อิเฎลทำหนังสือเด็กเพื่อการกุศลทั้งหมด 3 เล่มแล้ว อิเฎลไม่คิดค่าใช้จ่ายส่วนตัวเลย เงินที่บริจาค จ่ายให้กับโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์เท่านั้น มีเพื่อน ๆ ของผู้ปกครองไปช่วยแจกตามมูลนิธิต่าง ๆ ถ้าอิเฎลแจกเองจะแจกโรงเรียนยากจน และดรงเรียนวัด อิเฎลคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพรสวรรค์ เราได้มาฟรี ๆ โดยไม่ต้องเรียนศิลปะ เราให้มันกับสังคมไปฟรี ๆ เป็นเรื่องที่ดี ดีกว่าที่จะบริจาคเงินเพราะผู้ใหญ่ที่คุมเงินจะโกงกันเปล่า ๆ บางคนชอบให้เงิน เพราะลดหย่อนภาษีได้ แต่กว่าเงินจะไปถึงปลายทาง ก็เหลืออยู่ไม่กี่บาท ถ้าอยากช่วยอิเฎลพิมพ์หนังสือเด็ก สามารถบริจาคได้ที่เว็ปนี้ ดูด้านบนสุดของหน้านี้ แล้วคลิกเข้าไปได้เลย
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

น้อง ๆ มหิดลวิทยานุสรณ์ทำหนังสือนิยายเด็กกันอย่างขยันขันแข็ง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก
อิเฎลรับประทานอาหารกับอาจารย์ทุกมือ เมื่อถึงวันหยุดของสัปดาห์ เด็กชาวบ้านจะมาที่วัดเพื่อให้พระสอนหนังสือ แต่พอดีวันนั้นพระติดธุระ อาจารย์สอนเลขคือ อาจารย์รังสิมา จึงเข้าสอนแทน อิเฎลเคยเรียนกับอาจารย์รังสิมาตอนอยู่มัธยนศึกษาปีที่ ๔ ตอนนั้นอิเฎลตกเลขเพราะเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงของชีวิต อาจารยืรังสิมาเป้นที่ชื่อนชอบของเด็กนักเรียนตอนที่แยกฐานเมื่ออิเฎลไปดูงานในวันแรก และครั้งนี้อาจารย์รังสิมาก็เป้นที่ชื่นชอบของเด็ก ๆ เช่นเคย ทุกคนติดอาจารย์ ไม่อยากกลับบ้าน อิเฎลบอกว่าอาจารย์เก่งมาก ๆ ที่ทำให้เด็ก ๆ อยากเรียนรู้ อาจารย์รังสิมาไม่ได้ทำเพราะเป็นหน้าที่ แต่อาจารย์ชอบเห็นเด็ก ๆ มีความสุข อาจารย์ตัดสินใจไปสอนเด็ก ๆ แทนพระเอง เพราะเห็นว่าไม่มีใครสอน การทำดีไม่จำเป็นต้องได้ผลตอบแทนเป็นเงินทองเสมอ อิเฎลอยากเห็นโลกเป้นเช่นนี้

ชาวบ้านลงมือทำอาหารให้นักเรียนมหิดลกันเอง ที่ท่านเห็นในภาพคือโต๊ะของคณาจารย์
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
♫ สมพงษ์ อ้นชาวนา ผู้นำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
♫ กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
♫ ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
♫ ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่
เมื่อน้อง ๆ วาดรูปกันได้เข้าที่แล้ว อิเฎลก็เริ่มวาดรูปบ้าง อิเฎลวาดนิยายเด็กเรื่องที่ 3 ต่อ คือ “ทักทายกับนกยักษ์” อิเฎลอายเวลามีคนมาดูภาพตอนที่ยังวาดไม่เสร็จ แต่เวลาเสร็จแล้ว อิเฎลไม่เคยอาย วันนั้นเป็นวันก่อนสุดท้าย ซึ่งน้อง ๆ ทำงานกันจนเลยเที่ยงคืน แต่น้อง ๆ ไม่ได้ทำงานช้าเลย อาจารย์ปรีดายอมรับว่านักเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ มีความรับผิดชอบที่จะทำงานให้เสร็จ ไม่เหมือนกับโรงเรียนอื่น ๆ ที่นักเรียนคิดว่าไม่เสร็จก็ไม่ตายหรอก อาจารย์ปรีดาเคยไปสอนค่ายวรรณกรรมเด็กที่อื่น ๆ และค่ายเหล่านั้นให้เวลาในการทำงานมากกว่านี้ แต่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ใช้เวลาไปกับการดูงาน และทำบุญวันพระใหญ่ ผลที่ออกมา ไม่ได้เป็นการทำเสร็จเพื่อส่ง แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรร ความสามารถ และความพยายาม นักเรียนมหิดลวิทย์ เป็นนักเรียนสายวิทย์ อิเฎลรู้ดีถึงเรื่องนี้ หลายคนรู้ว่าวาดไม่สวย แต่ก็กล้าวาดออกมา อิเฎลบอกเขาว่า วาดการ์ตูนไม่ใช่เป้นการวาดภาพเหมือน แต่มันเป็นงานเสมือนจริง หรือภาพเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นไม่มีใครต้องกังวล

ดูหนังสือทักทายกับงูใหญ่ Tuskty and Pink Cobra
ดูหนังสือทักทายกับเด็กกวน Tuskty and an Annoying Kid
ดูหนังสือทักทายกับนักยักษ์ Tuskty and Giant Birds
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก
วันสุดท้ายจบลงด้วยการเล่านิยาย อาจารย์ปรีดาให้รางวัลกับคนที่เล่านิยายได้น่าสนใจที่สุด และคนที่วาดได้เด่นที่สุด อาจารย์ปรีดายุ่งอยู่กับการให้คะแนนเด็กมาก อิเฎลคิดว่าอาจารย์คงไม่เห็นนักเรียนหญิงสองสามคนที่นั่งเล่านิยายของตนให้เด็กชาวบ้านฟัง เมื่อพวกเธอเล่านิยายเสร็จ ก็ยังเล่นกับเด็กต่อ ทั้งวาดรูปและตัดกระดาษ อิเฎลชอบการทำดีเช่นนี้จริง ๆ อยากให้พวกเธอได้รางวัลบ้าง อิเฎลรู้ว่าพวกเธอคงไม่คิดอะไร แต่คงจะเป็นเรื่องที่ดีถ้าเพื่อน ๆ ได้เห็นแบบอย่างการทำดีของพวกเธอ
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

อาจารย์สมศักดิ์กล่าวในวันปิดงาน ล้อมรอบด้วยหนังสือนิยายเด็ก ผลงานของนักเรียนมหิดลวิทย์ชั้นมัธยม 5
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก
อาจารย์รังสิมาคุยกับพวกแม่บ้านที่มาทำอาหารให้นักเรียน จึงทราบว่าที่ทุกคนต้อนรับโรงเรียนเราดีขนาดนี้ เพราะเขาเรียกเราว่า ลูกของพระเทพ อิเฎลเห็นชาวบ้านเอาผลไม้ ขนมและอาหารมาให้ไม่ขาดสาย นายอำเภอบอกว่าพระเทพเสด็จมาที่นี่ก่อนที่โรงเรียนเราจะมาถึงสัปดาห์หนึ่ง พวกเขาทุกคนเลยเลี้ยงพวกเราอย่างดี อิเฎลไม่รู้ว่าจะอธิบาย ณ ที่นี้อย่างไร อาจารย์รังสิมาพูดแล้ว ทำเอาทุกคนน้ำตาคลอ จะให้อิเฎลคิดกลับไปกี่ครั้งก็ยังน้ำตาคลอ หลังจากนั้นพวกน้อง ๆ ได้รวมตัวกันไปกล่าวของคุณผู้ดูแลทั้งหมด เรายิ้มมีความสุขอย่างบอกไม่ถูก ต่อไปเป็นพิธีปิดค่าย จัดทำขึ้นในโบสถ์ เป็นการกล่าวสรุปขอบคุณทุก ๆ คนที่ให้ความสะดวกสบายแก่พวกเรา

อาจารย์ รังสิมา เป็นอาจารย์ที่ดีมาก เป็นอาจารย์ที่อาสาสอนน้อง ๆ ที่วัดกำแพงมณีแทนพระอาจารย์
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก
อิเฎลเดินดูบริเวณสถานปฏิบัติธรรม เห็นแม่น้ำขนาบสองฝั่ง อิเฎลจึงคิดว่า นี่หรือที่เรียกว่าเมืองสองแคว เมื่ออิเฎลไปถามชาวบ้าน ชาวบ้านบอกว่าแม่น้ำที่เห็นหลังวัด โค้งไปตามทางเดินเข้าศูนย์ปฏิบัติธรรม แล้วโค้งกลับมา ทำให้เหมือนศูนย์ปฏิบัติธรรมถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำ โดยมีทางเชื่อมเข้าแผ่นดินใหญ่เล็ก ๆ ซึ่งเป็นทางที่งดงามไปด้วยป่าไผ่สองข้างทาง เรานั่งรถทหารไปเพื่อจะขึ้นรถไฟ แต่ตกรถไฟไปสองรอบ ทีแรกตกรอบเดียว เราเห็นว่าเหลือกเวลาจึงพากันไปซื้อของช่วยชาวบ้าน เลยตกรถอีกรอบ ในที่สุดได้นั่งรถไฟรอบประมาณ 5 โมงเย็น นักเรียนแทบไม่นอนกัน ร้องเพลง คุย เล่นกันสนุก ไปถึงลพบุรีก็ตะโกน “สวัสดีคุณลิง” อาจารย์บอกว่าติดมาจากเวลาเขียนนิยาย เรียกสัตว์ต่าง ๆ นำหน้าว่าคุณ เช่น คุณยีราฟ คุณช้าง คุณแกะ เป็นต้น นักเรียนมีจำนวนคับคั่งเต็มตู้รถไฟ เมื่อถึงสถานีสามเสนจึงลงกันไม่ทัน รถไฟออกไปก่อน ทุกคนที่ลงไปแล้ววิ่งตาม ตะโกนเรียกรถไฟให้หยุด และทุกคนก็ได้ขึ้นรถบัสกลับบ้านโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ส่วนอิเฎลลงก่อนถึงโรงเรียน ให้แม่ขับรถไปรับ เกือบเที่ยงคืน อิเฎลเผื่อเวลาไว้วันหนึ่งไว้พัก ก่อนเริ่มงานวันแรก
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
**ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความนี้ไปลงในเว็ปไซด์อื่นหรือส่งต่อในอีเมล หากคุณต้องการให้เพื่อนของคุณอ่าน ให้ส่ง URL ของหน้าเว็ปนี้ไปแทน ในกรณีที่คุณต้องการใช้ในการเรียนการสอนในลักษณะของกระดาษแจกในห้อง คุณต้องระบุชื่อผู้เขียน “สว อิเฎล”, URL ของหน้านี้ และวันที่ที่คุณพิมพ์ และคุณไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมด
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
♫ สมพงษ์ อ้นชาวนา ผู้นำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
♫ กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
♫ ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
♫ ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่
น่าสนุกดีนะครับ ได้ความรู้ ได้บุญด้วย
LikeLike
Pingback: Context แปลว่าอะไร? ในนิเทศศาสตร์ | Sw-Eden.NET