สมพงษ์ อ้นชาวนา ผู้นำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อิเฎลไปค่ายวรรณกรรมเด็กกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่จังหวัดพิษณุโลก พวกเราเข้าฟังบรรยายพร้อมศึกษาดูงานเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กับผู้ประสพน์ความสำเร็จคือ นายสมพงษ์ อันชาวนา

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น


คอกวัวตัวอย่างของนางสมพงษ์ อันชาวนา เลี้ยงเพื่อเอามูลมาทำปุ๋ยและพลังงานแก๊สหุงต้ม
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
ค่ายวรรณกรรมเด็ก โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่

นางสมพงษ์เล่าว่าเดิมทีชาวนาทุกคนจะเฝ้ารอต่อการเก็บเกี่ยวข้าว โดยจะได้รายได้ปีละ 3-4 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ซึ่งชาวบ้านเหล่านี้ไม่มีการทำบัญชี เมื่อได้เงินมาก็ใช้จนหมดก่อนจะถึงช่วงฤดูเก็บเกี่ยวครั้งต่อไป ทั้งยังมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่ง สว อิเฎลคิดว่าเรื่องค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับคนต่างจังหวัดเท่านั้น แต่เกิดกับคนในเมืองด้วย นั่นคือ ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน และค่านิยมที่ผิด ๆ ติดกับวัตถุนิยม สมัยที่ ผ.อ. ธงชัย ชิวปรีชา ยังดำรงค์ตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ท่านปลูกฝังเสมอว่าให้สนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้าน และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย มีผู้ปกครองคนหนึ่งยกมือขึ้นถามท่านว่า หากชาวบ้านเอาเงินที่ได้จากชนชั้นกลางอย่างพวกเขา ไปใช้กับสิ่งฟุ่มเฟือยที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ คำตอบของคำถามนั้นอยู่ที่นี่ หากชาวด้บ้านรู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียงแล้ว ทุกปัญหาของสังคมและชาติบ้านเมืองก็จะไม่เกิด

สมัยที่นางสมพงษ์ อันชาวนาติดหนี้ถึง 600,000 บาท เริ่มจากน้ำท่วมที่นา และตามมาด้วยภัยแล้งตลอดปี นอกจากนี้ยังมีปัญหาเพลี้ยกระโดด เขาไม่มีวิธีหารายได้อื่น จนต้องกู้เงินมาใช้ พอถึงเวลาชำระหนี้เขาก็ต้องกู้ที่อื่นเพื่อมาใช้หนี้เดิม ทำให้หนี้สินพอกพูนไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็ต้องกู้นอกระบบซึ่งคิดดอกเบี้ยสูงมาก เงิน 600,000 บาทนั้นมากมายสำหรับชาวนา เทียบได้กับการเก็บเกี่ยวข้าวบนที่นาถึง 100 ไร่จึงจึใช้หนี้หมด ความรู้สึกของคนติดหนี้คือไม่มีชีวิตเป็นของตนเอง นายสมพงษ์ตัดสินใจเข้าอบรมเรื่องเศรษฐกิจอย่างพอเพียง ซึ่งความตั้งใจของเขาคือต้องพยายามที่จะพึ่งพาตนเองให้ได้


นายสงพงษ์ อันชาวนา บรรยายให้ความรู้แก่นักเรียนและพระสงฆ์เกี่ยวกับการเลี้ยงชีพอย่างพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

เดิมทีที่นายสมพงษ์จะเข้าไปทำงานในเมืองในระหว่างรอข้าวออกรวง ชาวนาบางคนทำอาชีพเผาถ่านไปขายในเมืองและได้เงินวันละ 300 บาท แต่การเข้ามือง
สภาพแวดล้มทำให้ชาวนาเกิดกิเลศ มีความต้องการทางวัตถุ อยากรวยเร็วจนติดหวย อีกทั้งค่ารถไปกลับและค่าอาหารในเมืองมีราคาแพงมื้อละ 30-50 บาท นายสมพงษ์เปลี่ยนเวลาเห่งการรอคอยดังกล่าวมาทำกสิกรรมควบคู่กับการเกษตรชนิดอื่น ๆ คือ เลี้ยงวัว กบ ปลา ไก่ หมักฮอร์ไมน ทำน้ำหมักฉีดฆ่าแมลงเอง ทำปุ๋ยเม็ดจากขี้วัว และปลูกเห็ด

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

อิเฎลถึงกับอึ้งมากที่นายสมพงษ์เผยว่าเขาสามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้ภายในเวลา 2 ปี เมื่อนายสมพงษ์ไปเล่าเรื่องของตนให้ชาวบ้านคนอื่น ๆ ฟัง ชาวบ้านก็ไม่เชื่อ โดยให้เหตุผลว่า พวกเขาอยู่กันอย่างธรรมดายังยากจนอดอยากขนาดนี้และถ้าจะให้พวกเขาอยู่กันอย่างพอเพียงเขาจะอดอยากขนาดไหน ซึ่งชาวบ้านเหล่านี้มีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับคำว่า เศรษฐกิจอย่างพอเพียง นายสมพงษ์ทราบถึงความสำเร็จของตนเองโดยการจดบัญชีรายรับรายจ่าย เขาจึงแนะนำให้ชาวบ้านคนอื่น ๆ ทำบัญชีด้วย แต่พวกชาวบ้านไม่ยอมทำกันเท่าที่ควร นายสมพงษ์จึงเปิดบ้านของต้น เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชาวบ้านคนอื่น ๆ เขาแนะนำการเก็บออมอย่างถาวร โดยต้องปลดหนี้ที่ทุกคนมีได้ภายใน 5 ปี


เพาะเลี้ยงเห็ดในโอ่ง ได้กินเห็ดทุกวัน เลี้ยงชีพตนเองแบบพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

นายสมพงษ์ลดค่าใช้จ่ายอาหาร โดยเลี้ยงกบ เลี้ยงปลา และเพาะเห็ด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เห็นผลได้เร็ว เพราะมันจะขยายพันธุ์ไปเอง อีกทั้งต้นทุนต่ำ อิเฎลเห็นการปลูกเห็ดในโอ่งที่นายสมพงษ์มีอยู่ที่บ้าน ก็อยากปลูกบ้าง เพราะได้เห็ดกินทุกวัน นายสมพงษ์เอาโอ่งที่แตกแล้วมาเป็นภาชนะเพาะพันธุ์เห็ด ทั้งกันแดดในตัว และรักษาความชื้นได้ดี เขาบอกกัยพวกนักเรียนว่า ถ้าอยากทำตาม ก็ไม่ต้องไปหาเรื่องทำโอ่งให้แตก เพราะเขาหมายถึงเอาโอ่งเก่ามาใช้ (reused) ซึ่งที่จริงสามารถใช้โอ่งใหม่ได้ ในโอ่งใบหนึ่ง ๆ จะเรียงก้อนเชื้อได้ 25 ก้อน การที่จะเริ่มปลูกเป้นครั้งแรก ให้เอาผ้าคลุมโอ่งและเอาน้ำรดทุกวัน ทำเช่นนี้เพียงสัปดาห์เดียวเห็ดช่อแรกก็จะงอกขึ้น และหลังจากนั้นมันจะงอก 5-6 ช่อทุกวัน จนมีเหลือแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน

ส่วนเรื่องเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา นั้นสามารถทำควบคู่กันได้เป็นอย่างดี เหมือนกับที่พวกเรารู้กันว่าขี้เป็ดและขี้ไก่เป็นอาหารของปลา นายสมพงษ์ซื้อเป็ดและไก่มา 10 ตัว รอไม่นานมันก็ออกไข่จนได้มา 70 ตัว หลังจากนั้นก็ได้รายได้จากไข่ของเป็ดและไก่มาเลี้ยงชีพโดยไม่ต้องรอฤดูเก็บเกี่ยว การเลี้ยงปลา มิใช่ได้ปลาเป็นอาหารเท่านั้น ชาวบ้านยังสามารถหมักน้ำปลาเองได้อีกด้วย

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

กล้วยถือว่าเป็นพืชผลทางการเกษตรอีกชนิดที่สามารถปลูกได้ดีในอำเภอบางกระทุ่ม อำเภอนี้ส่งออกกล้วยตาก และกล้วยเชื่อม ได้ประมาณสวนละ 3 ตันต่อวัน เมื่อชาวบ้านที่ทำสวนกล้วยเหลือเปลือกกล้วย ก็จะนำมาให้กลุ่มเลี้ยงวัวและเลี้ยงปลา เปลือกกล้วยสามารถเป็นอาหารของวัวได้ และเอาไปบดเป็นอาหารปลา ขี้วัวที่ได้ จะนำมาตากแห้งและเอาเข้าเครื่องปั่นกับไอน้ำจนจับตัวกันเป็นก้อน เพื่อเป็นปุ๋ยในการเพาะปลูกต่อไป ส่วนกลุ่มเลี้ยงสุกร ก็จะได้อาหารจากรำข้าว ซึ่งได้มาหลังการสี ขี้หมูและขี้วัวเหล่านี้สามารถนำมาหมักเพียง 15 วันก็จะได้แก็สมีเทน เอามาใช้เป็นแก๊สหุงต้ม ติดไฟได้ดีมาก


มูลหรืออุจจาระวัว เป็นแก๊สหุงต้มได้อย่างดี และยังนำมาทำปุ๋ยขายได้อีกด้วย
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
ค่ายวรรณกรรมเด็ก โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่

อิเฎลชอบภูมิปัญญาชาวบ้านที่พบเห็นในการศึกษาดูงานครั้งนี้มาก น้ำขวดหนึ่งคว่ำลงใต้ต้นพริกและเอาผ้าคลุมไว้ สามารถรดต้นพริกได้ทั้งสัปดาห์ นาย สนอง สินไหม เป็นหนึ่งในผู้พาดูงาน คำพูดประโยคหนึ่งที่อิเฎลขนรุกทันทีที่ได้ยิน และยังจำได้เสมอมา คือเขาจะหยุดเผาฟางเพื่อจะคืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ให้แก่ในหลวง เดิมทีชาวนาจะเผาฟางเพราะไม่ได้เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เอาแต่จ้างให้คนเอารถมาไถนา นาย สนอง ยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำลายทรัพยากรดินวิธีอื่น ๆ เช่น ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยที่นายสนองสาธิตวิธีการทำให้ดู ได้มาจากการผสมกันของ ขี้วัว ขี้ค้างคาว และกากน้ำตาล ส่วนน้ำหมักซึ่่งนำมาใช้แทนยาฆ่าแมลง ได้มาจากการหมักผักเน่า อิเฎลจึงลองมาทำที่บ้าน และพยายามจะทำปุ๋ยพืชสดด้วย เพราะที่บ้านมีขี้สุนัขมากมาย นาย สนอง แนะนำให้หมัก 3 เดือน แต่อิเฎลหมักได้ไม่ถึงสัปดาห์ คนที่บ้านก็ไล่ให้ไปเททิ้งให้หมด เพราะอิเฎลไม่รู้จะจัดการกับกลิ่นของมันอย่างไร


นายสนอง สินไหม ผู้บรรยายให้ความรู้แก่นักเรียน เรื่องการหมักมูลสัตว์ และกระบวนการทำเม็ดปุ๋ยชีวภาพ
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

ในระหว่างที่นายสมพงษ์ชักชวนชาวบ้านคนอื่น ๆ ให้ดำเนินรอยตามพระราชดำรัชเศรษฐกิจพอเพียง เขาได้พบกับคนหลาย ๆ ประเภท ซึ่ง นายสมพงษ์พูดถึงเสมอ เพื่อ ให้คนเรามีความกระตือรือล้น ที่จะพัฒนาแผ่นดิน คนเหล่านี้ได้แก่
1. หัวไวใจสู้
คนพวกนี้กล้าที่จะลองอะไรใหม่ ๆ เพราะสิ่งที่ในหลวงทรงสอนและให้แก่ชาวไทยเป็นสิ่งที่ดีเสมอ
2. คอยดูทีท่า
คนพวกนี้จะคอยดูคนกลุ่มแรก ถ้าสำเร็จก็จะทำตามทันที ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้ เขาไม่เชื่อที่คำพูด แต่เชื่อเมื่อมีการปฏิบัติจริง
3. เบิ่งตาลังเล
คนพวกนี้จะคอยดูว่าจะมีอะไรเหลือมาให้ตน ไม่ลงมือทำเองตั้งแต่ต้น
4. หันเหหัวดื้อ
คืออย่างไรก็ไม่ทำตาม จะเอาแต่ทำการเกษตรแบบเก่า เอาแต่ใช้รถไถ เอาแต่ใช้อาฆ่าแมลง ไม่พัฒนาเสียที
5. งอมือจับเจ่าไม่เอาไหนเลย
คนพวกนี้จะมีหนี้สินพอกพูนไม่รู้จบ และไม่เคยคิดปลดหนี้

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

หลังจากที่ชาวบ้านอำเภอบางกระทุ่มหันมาใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ทำมาหากินในที่ดินของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องลงไปดิ้นรนในเมือง พวกเขาก็มีเวลาไปมาหาสู่กันมากขึ้น และเกิดสังคมชาวบ้านแบบไทย ๆ ขึ้นอีกครั้ง พวกเขาจะประชุมกันทุกวันที่ 6 ของเดือนเพื่อช่วยกันคิดแก้ปัญหาให้กับเพื่อนบ้าน ที่บ้านของกำนันสมพงษ์มีเครื่องสีข้าว สีข้าวให้แก่ชาวบ้านโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกที่เก็บไว้กินเองมาให้สี ทั้งนี้เป็นนโยบายการเก็บออมข้าวเปลือก มิให้ชาวบ้านขายไปจนหมด


เลี้ยงปลา และเลี้ยงกบยังชีพ เพื่อชาวนาจะได้มีกินตลอดปี ไม่จำเป็นต้องรอฤดูเก็บเกี่ยวอย่างเดียว
ดูรูปทั้งหมดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ดูรูปทั้งหมดของค่ายมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ พิษณุโลก

เมื่อชาวบ้านได้คุยกันอย่างใกล้ชิดแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ก็ได้รับการแก้ไขด้วยน้ำใจของคนไทย ทุกคนมีความมุ่งมั่นเพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศชาติ พวกเขาเข้าร่วมโครงการ To be No.1 ใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี โดยชุมชนนี้เป็นแหล่งปลอดยาเสพติด นอกจากนี้ยังได้รางวัลในโครงการอนุรักษ์ควายไทยปี 2550 ของสมเด็จพระเทพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นายสมพงษ์บอกว่าเดิมทีคนชอบกินควาย ตอนนี้พวกชาวบ้านไม่ใช่แค่เอาควายมาไถนา ยังเอามาเดินเล่น พาผู้ที่มาศึกษาดูงานชมหมู่บ้าน และยังเปิด Home Stay ให้ผู้ที่ดูงานเหล่านี้ได้พักอยู่กับชาวบ้านและสัมผัสวิถีชาวบ้านจริง ๆ

อิเฎลจำได้ว่าตอนแรกอิเฎลก็ลังเลเมื่ออาจารย์ที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ชวนไปค่ายนี้ แต่เพียงวันแรกที่ออกดูงาน อิเฎลก็รู้สึกคุ้มค่ามากที่ได้เรียนรู้ และคุ้มค่ายิ่งกว่านั้นคือได้มาเล่าสู่กันฟังที่นี่ อิเฎลชอบน้อง ๆ ที่โรงเรียนด้วย พวกเขาทำให้อิเฎลคิดถึงสมัยที่อิเฎลเรียนอยู่ พวกเขาฉลาดและมุ่งมั่นทำงานได้เสร็จทันเวลา แม้ว่าสมองของพวกเขาชอบคิดอะไรยาก ๆ แต่พวกเขาพูดด้วยได้ง่ายทีเดียว ทั้งขาไปและขากลับ เรานั่งรถไฟ ตากลม ร้องเพลง เล่าเรื่องกันสนุก อิเฎลอยากให้อนาคตของประเทศชาติเหล่านี้รักชาติรักแผ่นดินตลอดไปเหมือนกับชาวบ้านบางกระทุ่ม

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
**ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความนี้ไปลงในเว็ปไซด์อื่นหรือส่งต่อในอีเมล หากคุณต้องการให้เพื่อนของคุณอ่าน ให้ส่ง URL ของหน้าเว็ปนี้ไปแทน ในกรณีที่คุณต้องการใช้ในการเรียนการสอนในลักษณะของกระดาษแจกในห้อง คุณต้องระบุชื่อผู้เขียน “สว อิเฎล”, URL ของหน้านี้ และวันที่ที่คุณพิมพ์ และคุณไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยเชื่อม ของดีบางกระทุ่ม
ทำนาพึ่งพาธรรมชาติ ณ อำเภอบางกระทุ่ม
ค่ายวรรณกรรมเด็ก โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ปัญหาความยากจนของชาวนาชาวไร่

1 Comment

Filed under Uncategorized

One response to “สมพงษ์ อ้นชาวนา ผู้นำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

  1. Pingback: ใครเบื่ออ่านโพสการเมืองในไลน์และเฟสบุ๊คบ้าง? | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.