“ไม่ใช่ไม่ชอบสุริโยทัย แต่ในอดีต สว อิเฎล ไม่ชอบภาพยนต์เรื่องนี้”
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ตะเบงชะเวตี้ กับ บุเรงนอง ; สองปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ตองอู
Tabinshwehti and Bayinnaung ; Early Kings of Taungoo Dynasty
ดูรูปพม่าทั้งหมด คลิกที่นี่
ดูรูปวังบุเรงนองทั้งหมด คลิกที่นี่
ปัจจุบันนี้ สว อิเฎล ยอมรับว่าภาพยนต์เรื่องสมเด็จพระศรีสุริโยทัยเป็นภาพยนต์รุ่นบุกเบิก ไม่แพ้เรื่องบางระจัน กับ นางนาก ภาพยนต์เรื่องนี้ทำให้ชาวต่างชาติมองประเทศไทยในแง่มุมอื่น ที่มิใช่แค่ถนนข้าวสาร หรือแหล่งลามกอย่างที่อิเฎลได้ยินในเสียงภาคเรื่อง Pirates of the Caribbean ตอนที่ภาพยนต์เรื่องสุริโยทัยเข้าในโรงหนัง โรงเรียนพาอิเฎลและเพื่อน ๆ ไปดูกันยกโรงเรียน ครูได้แจกเรื่องย่อให้กับทุกคน เพราะการเปลี่ยนฉากเพื่อเล่าเหตุการณ์ที่เร็วขนาดนั้น คงทำพวกเด็ก ๆ งงเป็นแน่ อิเฎลก็สงสัยว่าฝรั่งจะดูกันรู้เรื่องหรือไม่ แต่ถึงอย่างไรก็ดีใจที่ชาวต่างชาติได้ดูภาพยนต์เรื่องนี้ หรืออย่างน้อยพวกเขาก็รู้ว่าประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา ไม่ใช่ประเทศที่จะใช้เงินทุนมากดขี่กันง่าย ๆ หรือเห็นฝรั่งเป็นพระเจ้า
สิบปีก่อน ตอนที่ภาพยนต์ศรีสุริโยทัยฉายอยู่ในโรง อิเฎลมีกระดาษสำหรับจดตอนที่นั่งดูภาพยนต์อยู่ อิเฎลคิดถึงมันขึ้นมาในวันนี้ โรงหนัง World Trade มีเครื่องปรับอากาศเย็นเฉียบ จึงไปคุ้ยกองกระดาษเก่า ๆ สมัยเรียนมัธยมต้น แต่ไม่เจอกระดาษที่ตัวเองเขียน กลับไปเจอเรื่องย่อที่ครูแจก อิเฎลก็จะขอเล่า เท่าทีจำได้ว่าเคยเขียนลงไป ตอนนั้นเขียนไปหนึ่งหน้ากระดาษ A4 เต็ม ๆ
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
รอบ พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง
Around Shwedagon Pagoda
ดูรูปพม่าทั้งหมด คลิกที่นี่
ดูรูปวังบุเรงนองทั้งหมด คลิกที่นี่
ภาพยนต์เริ่มสงครามครั้งแรกที่ไทยรบกับพม่า คือศึกเมืองเชียงกราน ที่อิเฎลเคยทราบมา พม่าไม่มีปืนใหญ่ และศึกครั้งนั้นพม่าไม่มีทหารโปรตุเกสมาด้วย เพราะการรุกล้ำดินแดนเป็นเพียงการตามทหารมอญ แต่ประเทศมีทหารโปรตุเกศแน่นอนเพราะมีการเตรียมการก่อน ในภาพยนต์สร้างว่าพม่ามีปืนใหญ่ และระดมยิงฝ่ายสยาม อิเฎลก็สงสัย เมื่อถึงฉากสำคัญเมื่อสมเด็จพระศรีสุริโยทัยจะออกรบ ในภาพยนต์ไม่ได้สร้างเหมือนที่เคยเรียนมาสมัยประถม ที่ว่าท่านออกรบโดยพระมหาจักรพรรดิไม่ทราบ อิเฎลยังสงสัยอีกว่า ถ้าพระมหาจักรพรรดิทราบจริง ทำไมถึงยอมให้พระชายาออกรบได้ ห่วงใยกันหรือไม่ สงครามครั้งนั้น ในภาพยนต์มิได้กล่าวถึงศึกเมืองทวาย ที่สยามไปรุกรานพม่าก่อน และยึดเอาเมืองทวายไว้ ทำให้พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ต้องลองถามขอช้างเผือกเชือกหนึ่ง ว่าสยามต้องการสันติภาพหรือไม่
อิเฎล พยายามไม่สนใจว่าการเรียกชื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้จะผิดเพี้ยนไปอย่างไร เพราะปัจจุบันอิเฎลไม่ได้ใส่ใจกับการเรียกชื่อมาก คำว่า “เมงตยายเวที” ที่มีความหมายว่า “พระมหาธรรมราชาฉัตรทอง” เป็นชื่อหลังขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ซึ่งคำว่า “เมง” (Min) ก็คือคำว่า “พระเจ้าแผ่นดิน” อยู่แล้ว อิเฎลจำได้ว่าในเรื่องสุริโยทัยนี้ เรียกพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ว่า “พระเจ้าเมงตยายเวที” อิเฎลไม่ทราบว่าจำผิดหรือไม่
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
พระพม่ากำลังฉัน
Burmese Buddish Monks are eating.
ดูรูปพม่าทั้งหมด คลิกที่นี่
ดูรูปวังบุเรงนองทั้งหมด คลิกที่นี่
เรื่องใหญ่ ๆ ที่คิ้วของ อิเฎล ผูกติดกันเป็นปม คือ ตอนพระเจ้าตะเบงชะเวตี้สั่งให้ทหารยิงทำลายบ้านเมือง อิเฎลทราบมาว่าไม่ใช่นิสัยของตะเบงชะเวตี้ที่จะยิงปืนใหญ่ใส่ชาวบ้านที่ไม่มีทางสู้เอาอย่างนั้น ตะเบงชะเวตี้ทำบุญอยู่เสมอ เรื่องรบก็คือรบ ไม่ใช่เรื่องทำร้ายผู้คนไร้อาวุธ
การแต่งกายของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้นั้นทำเอา อิเฎล ช็อคไปเป็นปีเลยทีเดียว ไม่รู้ว่าเหตุใดจึงต้องทำให้ท่านเหมือน กระเทย/ตุ๊ด/เกย์ ขนาดนี้ มันเหมือนจะมีปัญหาอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ถึงให้ตะเบงชะเวตี้วิปริตจริงก็คงไม่เป็นไปได้ขนาดนั้น อิเฎลไม่เคยคิดว่าคนที่ชำนาญการสงคราม อยู่กับค่ายทหารมาตลอด จะมีการแต่งหน้าแต่งตัวเหมือน….. ภาพลักษณ์ของกษัตริย์แห่งพม่าและมอญ ที่ไม่ประหารใครเอาง่าย ๆ กลับดูเหี้ยมโหด ไม่เป็นมิตรเอาเสียเลย คนที่น่าจะเหี้ยมโหดกว่าเห็นควรจะเป็นบุเรงนอง แต่เมื่อ อิเฎล ได้ดูภาพยนต์เรื่องนเรศวร บุเรงนองก็ดูใจดีแปลก ๆ แถมประเสริฐกับชาวสยามอย่างสุด ๆ ซึ่งความจริง บุเรงนองประหารข้าศึกง่ายกว่าตะเบงชะเวตี้เสียอีก อยากให้ลองอ่านโคลงกลอนที่คนไทยโบราณเขาเขียนกัน
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
สิงห์ สัญลักษณ์แห่งพ่อของพม่า
Lion is the symbol of father for Burmese.
ดูรูปพม่าทั้งหมด คลิกที่นี่
ดูรูปวังบุเรงนองทั้งหมด คลิกที่นี่
สิบปีที่แล้ว ที่ โรงหนัง World Trade มีเครื่องปรับอากาศเย็นเฉียบ แต่ภาพยนต์เรื่องนี้ทำเอา อิเฎล เหงื่อตก กระดาษที่จดเปียกทั้งใบเลย อิเฎล เดินออกมากับเพื่อน ๆ ทั้งตัวสั่น รู้สึกเหมือนจิตใจกระทบกระเทือนมาก ความเห็นของอิเฎลนั้น คือ เมื่อพม่ายกทัพกลับไปเพราะสมเด็จพระศรีสุริโยทัยสิ้นพระชนต์ คือการแสดงความเป็นสุภาพบุรุษของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ เมื่อตะเบงชะเวตี้ยกทัพไปจะเก็บเมืองอื่นแทนแล้ว พระมหาจักรพรรดิกลับให้โอรสสองพระองค์ไปตามจะฟาดฟันทัพเขาอีก อิเฎลไม่สามารถเอ่ยออกมาเป็นคำพูด ณ ที่นี้ได้ ขออภัย ในที่สุดทั้งสองได้ถูกจับเป็นตัวประกัน อิเฎลวิจารณ์ ขออภัยอีกครั้ง
ถ้าให้ อิเฎล สร้างภาพยนต์เอง แล้วเอาให้ทั้งสองฝ่ายดูดีไปซะหมด ภาพยนต์ก็ไม่สนุก อิเฎล เข้าใจว่าการที่บทของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้มีความเหี้ยมโหด เพราะเป็นการสร้างสีสันให้ภาพยนต์มีอรรธรส ไม่ว่าบุคลิกของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้จะเป็นเช่นไรในภาพยนต์ศรีสุริโยทัยเรื่องนี้ หรือจนกระทั่ง นายมังตรา ในเรื่องผู้ชนะสิบทิศ ที่ดูจะเอาแต่ใจตัวเอง อิเฎล คิดว่าการสร้างตัวละครตัวนี้ขึ้น คือการสร้างสัญลักษณ์เปรียบเทียบให้รู้ว่าตัวเอกฝ่ายดีนั้นดีขนาดไหน โดยอะไรที่ไม่ดีสุด ๆ ก็เอามาลงที่ตะเบงชะเวตี้ ถึงอย่างไรก็ตาม อิเฎลอ่านประวัติของตะเบงชะเวตี้ กษัตริย์ผู้นี้ฉลาดเหมือนชาวมอญในเรื่องราชาธิราช กล้าหาญแต่ใจเย็น รักชีวิตทหารเป็นที่สุด และรักชาวมอญเหมือนรักตัวเอง
ตะเบงชะเวตี้เป็นนัตหลวง ไม่ว่าภาษาไทยจะเรียกว่าผีหรือวิญญาณ แต่ของให้ระลึกว่่าท่านเป็นเทพขึ้นกับพระอินทร์ ตะเบงชะเวตี้คงใจดีมากที่ให้เรา ๆ ท่าน ๆ นำท่านมาแต่งเติมอะไรต่อมิอะไรที่ไม่ดีนัก และเผยแพร่สู่สายตาสาธารณชน ทุกครั้งที่เราทุกคนเห็นท่านในบทบาทใดก็ตามและเรารู้สึกสนุก หัวเราะ เราควรขอบคุณท่านเป็นอย่างน้อยที่สุด
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ผีเสื้อราตรี ภาพถ่ายในพม่า Myanmese Moth
ดูรูปพม่าทั้งหมด คลิกที่นี่
ดูรูปวังบุเรงนองทั้งหมด คลิกที่นี่
เรื่องราวในพงศาวดาร ถูกบันทึกไว้แต่ครั้งโบราณ ซึ่งก็เป็นการบันทึกจากการบอกกล่าวเล่าถึงในสมัยนั้นๆ ซึ่งไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าเรื่องที่เขียนขึ้นนั้นจริงหรือเท็จประการใด หากจะเปรียบเช่นดังปัจจุบันก็มีการบันทึกเรื่องราวต่างๆไว้มากมายกว่าสมัยเดิมๆ เสียอีกโดยผ่านสื่อต่างๆ มีทั้งเรื่องที่เป็นจริงและเท็จมากมาย จนแยกแทบจะไม่ถูกเช่นกัน
LikeLike
Pingback: ละครไทยล้าหลัง ประชดประชัน ตบตี เสียดสี? | Sw-Eden.NET
Pingback: ยืมของเพื่อน ไม่จำเป็นต้องคืน ถือว่าให้ไปเลย? | Sw-Eden.NET