บทความนี้เขียนและวิเคราะห์โดย สว อิเฎล กล่าวถึงสมัยที่ พระเจ้าชนะสิบทิศ เจอเรื่องวุ่น ๆ ตนเอาไม่อยู่ ครั้นพบ พระเจ้าชนะสี่ทิศ กษัตริย์ลาว
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ขอเริ่มที่ พระเจ้าบุเรงนองกะยอทินนรธา (เรียกสบาย ๆ ว่า บายินนองจอเดงนอระธา) เป็นที่รู้จักกันในนามของพระเจ้าชนะสิบทิศ โด่งดังมากในเรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” ซึ่งสิบทิศนี้หมายถึง แปดทิศรอบตัว และทิศเบื้องบน กับเบื้องล่าง บุเรงนอง กลายเป็นขวัญใจสาว ๆ ชาวไทยตั้งแต่นั้นมา โดยผู้สร้างภาพยนต์และละครเวทีต่างเลือกเอาแต่คนหน้าตาดีมารับบทนี้ หมายความว่า คนไทยให้นิยามของคำว่าบุเรงนอง คือ เป็นบุคคลสมบูรณ์แบบ (Perfect) ทั้งเก่งและมีเสน่ห์ ไม่เคยสู้แพ้ใคร ถ้ายกทัพไปเอง สว อิเฎลเชื่อว่าบุเรงนองอาจรู้สึกเช่นเดียวกับที่คนไทยคาดคิดเอาไว้ คือเขาจะแพ้ใครไม่ได้ หรือไม่แพ้ ก็ต้องเอาชนะศัตรูได้อย่าสมบูรณ์แบบ
แม้ว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราช ผู้ที่ปะทะกับพม่าครั้งแรกที่เมืองเชียงกราน จะถูกชาวพม่ามองว่าชอบรุกรานเพื่อนบ้านไปทั่ว โดยตีเอาเมืองทางเหนือของอโยธยาไปซะหมด แต่ความเห็นของอิเฎลบุเรงนองนั้นยิ่งกว่า เพราะบุเรงนองมุ่งเอาเมืองต่างชาติต่างภาษามาเป็นของตน ซึ่งแตกต่างจากนโยบายรวมชาติพม่าและมอญของตะเบงชะเวตี้ซึ่งต้องการสันติภาพ หลังจากสมัยของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ บายินนองตีเอาเมืองอังวะซึ่งตกเป็นของไทยใหญ่ตั้งแต่ปลายสมัยเมงจีโย (พ่อของตะเบงชะเวตี้) หลังจากนั้น บายินนองตีเอาไทยใหญ่มาได้ และไปตีเมืองเชียงใหม่ โดยอ้างว่าเชียงใหม่ชอบยุแหย่ให้ไทยใหญ่เกิดกบฏ
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
หลังจากการรบทางตอนเหนือของแผนที่พม่าปัจจุบัน บุเรงนองยังไม่ยอมกลับเมืองหงสาวดี เขาพาทัพใหญ่เดินทางไปตีล้านช้าง คือลาว หรือ ศรีสัชนาลัย โดยในขณะนั้นล้านช้างมีพระราชาคือ “สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราช” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระเจ้าศรีชิต มีสมยานามว่า พระเจ้าชนะสี่ทิศ บุเรงนองได้ชิงเอาพระธิดาของพระมหาจักรบรรดิ (พระเทพกษัตรีย์) ไป ในขณะเดินทางไปถวายตัวแก่พระเจ้าศรีชิต แต่พระเจ้าศรีชิตมิได้ถือโทษโกรธเคืองไทย แต่กลับมาช่วยไทยป้องกันบ้านเมือง ต่อมากรุงศรีอยุธยาได้ส่งพระแก้วฟ้าไปแทน เพื่อไปเป็นมเหสีของพระเจ้าศรีชิต (สว อิเฎลไม่เห็นด้วยกับภาพยนต์สมเด็จพระนเรศวรในบทที่ว่า เป็นการตั้งใจให้พระเทพกษัตรีย์ถูกพม่าชิงตัวไป)
บุเรงนองโกรธล้านช้างเป็นครั้งที่ 1
เมื่อกองทัพของบุเรงนองไปถึงหลวงพระบาง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของล้านช้าง (ลาว) ในสมัยนั้น บุเรงนองถึงกับโกรธที่ตนต้องตีเมืองร้าง เพราะพระเจ้าศรีชิตอพยพทหารและผู้คนไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เวียงจันทร์ เท่าที่อิเฎลสังเกตุอุปนิสัยของบายินนอง คือชอบเอาเจ้าเมืองประเทศราชมาเป็นเชลย เก็บไว้ที่หานตาวดี ทำให้บายินนองอาจคิดว่าเป็นการยกทัพมาล้านช้างเสียเที่ยว
หลังจากที่บายินนองคิดว่าล้านช้างเกรงกลัวตน เขาก็คิดว่าจะตีเอากรุงศรอยุธยาได้โดยไม่มีใครมาตีประกบ บุเรงนองเริ่มยื่นข้อเสนอที่ฟังไม่ขึ้นคือ ขอช้างเผือก 2 เชือก พระมหาจักรพรรดิก็เล่นบทเดิมคือไม่ยอมตอบจดหมาย เหมือนกับก่อนศึกพระศรีสุริโยทัย ที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ขอช้างเผือกตัวหนึ่ง เพื่อสงบศึกเมืองทวาย อิเฎลเข้าใจว่าบายินนองต้องการเอาเมือง เอาช้าง และเอาทรัพย์สินเงินทอง ให้ได้มากกว่าพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ หรืออย่างน้อยที่สุด ต้องได้เท่ากัน เมื่อพระมหาจักรบรรดิไม่ตอบพระราชสารแล้วนั้น ก็สมความปรารถนาของบุเรงนองที่ใฝ่ฝันจะตีกรุงศรอยุธยาให้ได้ บุเรงนองเริ่มจัดการกับหัวเมืองทางเหนือที่สมเด็จพระไชยราชาธิราชเคยเอาเป็นเมืองประเทศราชไว้ป้องกันดินแดน ซึ่งบุเรงนองเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เมืองพิษณุโลกยกทัพมาช่วยอยุธยา สมัยศึกศรีสุริโยทัย
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
บุเรงนองโกรธล้านช้างเป็นครั้งที่ 2
เมื่อบุเรงนองตีเอากรุงศรีอยุธยาได้แล้วนั้น พระมหินทราชาตัดสินใจก่อกบฏ โดยไปชวนล้านช้างรุมตีพิษณุโลก บุเรงนองจึงส่งกองทัพมาช่วยพิษณุโลก แต่กองทัพพม่าก็แตกพ่ายไป โดยที่พิษณุโลกยังไม่แตก แม้ว่าครั้งนั้นค่ายทหารของล้านช้างจะถูกเผาโดยพวกพิษณุโลก แต่กำลังพลมิได้ย่อท้อเลย ส่วนกองทัพเรือของทางสยาม โดนแพไฟ ของพิษณุโลกเผาย่อยยับ (อิเฎลเห็นว่าเป็นวิธีเดียวกับการเผากองทัพเรือของ สามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือ และเป็นวิธีเดียวกับที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ เผาเรือโปรตุเกศ เพื่อยึดเอาเมืองเมาะตะมะ)
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
บุเรงนองโกรธล้านช้างเป็นครั้งที่ 3
บายินนองเห็นว่าพิษณุโลกเอาชนะกองทัพล้านช้างและกองทัพกรุงศรีได้ จึงส่งกองทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ กองทัพลาว นำโดยพระเจ้าศรีชิต ยกลงมาถึงเมืองอยุธยา ปะทะกับกองทัพพม่า จนพม่าแตกพ่ายยับเยิน บุเรงนองโกรธล้านช้างอีกตามเคย บุเรงนองจึงยกทัพไปตีกองทัพล้านช้างด้วยตัวเอง (ตอนนั้นบุเรงนองก็จะ 60 แล้วนะ) อย่างที่อิเฎลว่า คือบุเรงนองชอบชนะอย่างไร้ที่ติ บุเรงนองเอากองทัพใหญ่ มีทหารมากกว่าล้านช้างหลายเท่า ทีแรกพระเจ้าเศรษฐาธิราชให้กองทัพเดินทัพหนี แต่หนีไม่พ้น ทำให้พระเจ้าเศรษฐาธิราชต้องจนมุม เพื่อรักษาชีวิตทหารของตนไว้พระเจ้าเศรษฐาธิราชถือน้ำพิพัฒน์สัตยา สัญญาว่าล้านช้างจะเป็นเมืองขึ้นต่อพม่า (หงสาวดี)
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
บุเรงนองโกรธล้านช้างเป็นครั้งที่ 4
พระเจ้าศรีชิตออกกลอุบายชักชวนให้กองทัพของบุเรงนองหยุดพักแรมก่อนเดินทางเอาพวกตนกลับไปเป็นเชลย คืนนั้นล้านช้างทั้งมหดร่วมมือร่วมใจกัน หนีออกจากค่ายทหารบุเรงนอง เมื่อบุเรงนองตื่นขึ้นมาเห็นเชลยหายไปหมด ก็โกรธอีกครั้ง อย่างที่อิเฎลเคยเกรินไปว่า บุเรงนองมีนิสัยชอบเอาเชลยเมืองต่าง ๆ ไปไว้กับตนแล้วอ้างว่าจะเลี้ยงอย่างดี บายินนองเห็นว่าจะยุ่งเป็นการใหญ่ หากยกทัพตามไปถึงเวียงจันทร์ จึงตัดสินใจเอาเมืองที่ค่ายตนตั้งอยู่ใกล้ก่อน ก็คืออโยธยา **ทั้งนี้อิเฎลเชื่อว่าคำสาบานมีจริง พระเจ้าศรีชิตจึงมีพระชนต์มายุไม่ยืนนานนัก เพราะผิดคำสาบาน
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
บุเรงนองโกรธล้านช้างเป็นครั้งที่ 5
เมื่อบุเรงนองตีเอากรุงศรีได้แล้ว เขมรก็มาขอเป็นเมืองขึ้นแก่พม่า ทำให้ประเทศเพียงประเทศเดียวในระแวกนั้นที่บุเรงนองตีเอามาไม่ได้ คือ ล้านช้าง บุเรงนองจึงยกทัพเพื่อไปตีเอาล้านช้างมาให้ได้ แต่เจอเหมือนเดิม คือ กษัตริย์และทหาร หนีออกนอกเมือง ทำให้บุเรงนองต้องยกทัพตามเพื่อเอาตัวพระเจ้าศรีชิต เพราะถ้าไม่ได้ตัวประกัน ถึงได้เมืองไปชาวเมืองต้องประท้วงก่อกบฏเป็นแน่ พระเจ้าศรีชิตชำนาญทางในประเทศตนเอง กองทัพบุเรงนองซึ่งเป็นทัพใหญ่ โดนล่อให้ตามจนเหนื่อยล้านกันทั้งกองทัพ ทหารเริ่มหมดกำลังใจ ทั้งจากที่จัดการล้านช้างไม่ได้เสียที รวมกับที่ระยะเวลาการออกศึกทำให้ไม่ได้กลับบ้านมานานมาก บุเรงนองจำต้องยกทัพกลับหงสาวดี ครานี้ทำให้อิเฎลคิดถึงทหารของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่เหน็ดเหนื่อและท้อแท้จากการทำสงคราม แม้ว่าจะเป็นทหารมีฝีมือ แต่ก็ไม่อยากรบ
Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น
บุเรงนองเกรงที่จะยกทัพไปตีล้านช้างในสมัยของพระเจ้าเศรษฐาธิราช เขาพักอยู่ที่กรุงหงสาวดี ทั้ง ๆ ที่ใจจริงอยากได้ล้านช้างมาก เขาไม่คิดรบเอาเมืองอื่นเลย บุเรงนองรอจนพระเจ้าเศรษฐาธิราชสิ้นพระชนต์ จึงยกทัพมาตีเอาล้านช้าง และบุเรงนองก็ทำสำเร็จ แต่ชัยชนะที่เขาได้ มิใช่ชัยชนะเหนือพระเจ้าเศรษฐาธิราช วีรกษัตริย์แห่งลาว และยังเป็นวีรกษัตริย์ผู้ช่วยปกป้องแผ่นดินไทย
ไทย ถือว่า ลาว เป็นมิตรกันโดยแท้ (อิเฎลยันว่าลาวไม่ได้คิดเช่นเดียวกัน) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาพรมแดนที่ลาว มีน้อยที่สุด หากเทียบกับพรมแดน พม่า เขมร และมาเลเซีย ปัจจุบัน ปี 2010 พรมแดนเขมรเห็นจะเป็นปัญหาหนักเรื่องเขาพระวิหาร อิเฎลเห็นว่าความขัดแย้งครั้งนี้ เหมือนกับประวัติศาสตร์ ที่เขมรขอเป็นเมืองขึ้นต่อพม่า ทั้ง ๆ ที่อโยธยาไม่อยากเป็น และเมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกทัพสู้กับพม่า เขมรยกทัพมาตีท้ายครัวของไทย
ดูวิดีโอ สอบินยา (สอพินยา) เตรียมจัดการกับ สัตว์ร้าย 7 หัว
ผมอ่านแล้วแต่มีจุดหนึงที่พบไม่เข้าใจครับ
คือที่เขียนว่า ล้านช้า หรือ ศรีสัชนาลัย ถ้าผู้เขียนหมายถึงว่า
ล้านช้างอาณาจักรหนึ่ง และศรีสัชนาลัย อาณาจักรหนึ่งก็ถูกต้องครับ
แต่ล้านช้างกับศรีสัชนาลัยไม่ใชาอาณาจักรเดียวกันเลย
เพราะล้านช้าง คือ ลาว หรือ เรียกแบบโบราณก็กรุงศรีสัตนาคนหุตร่มขาว
และศรีสัชนาลัย คือ บริเวณหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยครับ
LikeLike
Pingback: พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช : กษัตริย์ลาว ผู้ที่บุเรงนองต้องหวั่นเกรง | Voices for the Laotian Who do not have Voices
Pingback: พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช : กษัตริย์ลาว ผู้ที่บุเรงนองต้องหวั่นเกรง | Voices for the Laotian Who do not have Voices
Pingback: พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช : กษัตริย์ลาว ผู้ที่บุเรงนองต้องหวั่นเกรง | Voices for the Laotian Who do not have Voices
เขียนได้ดีครับ ขอชม แต่อยากให้อาจารย์อธิบาย เกี่ยวกับพระไชยราชา เพราะผมชื่นชอบพระองค์มาก ขนาดใน สุริโยทัย พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ยังไม่กล้ามาตีเลย ในความคิดผม ถ้าไม้โดนรอบปลงพระชน ไม่เสียกรุงครั้งที่1แน่ อยากทราบรายละเอียดและนิสัยของท่านครับ
LikeLike
พระเจ้าไชยเชษฐา ใช้กลศึกเดียวกับเล่าปี่ คือหนี ถือเป็นสุดยอดใน 36 กลยุทธ
LikeLike
ท่านอาจจะเป็น fanclub สามก๊กก็ได้ เห็นสมัยนั้นอ่านกันเยอะ
LikeLike
ສາຍສຳພັນອັນດີລາວໄທມີມາແຕ່ຍາວນານ ແຕ່ຈຸດທີ່ແຕກຫັກກໍ່ຄືຊ່ວງສະໄທຍືດຄອງລາວແລະຂົ່ມເຫງຄົນລາວແຕ່ປີ1779-1893
LikeLike
สับสน, จะว่าพระเจ้าศรีชิตก็ว่าพระเจ้าศรีชิต >จะว่าพระเจ้าเศรษฐาธิราชก็ว่าพระเจ้าเศรษฐาธิราช> อีกอย่างต้องว่าพระเจ้าไชยเศรษฐาธิราชบ่แม่นพระเจ้าเศรษฐาธิราช >คนลาวบ่รู้ว่าพระเจ้าศรีชิตเป็นพระเจ้าไชยเศรษฐาธิราช.
LikeLike
เศรษฐาธิราช อีกอย่างต้องว่าพระเจ้าไชยเศรษฐาธิราชบ่แม่นพระเจ้าเศรษฐาธิราช คนลาวบ่รู้พระเจ้าศรีพระเจ้าไชยเศรษฐาธิราช (อ่าน:พระเจ้า-ไช-ยะ-เสดฐา-ธิราช)ลาวสะกดเศรษฐาบ่แม่นเชษฐาทีแปลว่าอ้าย ส่วนเศรษฐา(อ่าน:เสด-ฐา)หมายเถิงอันประเสริฐ(พระเจ้าไชยเศรษฐา=พระเจ้าผู้มีชัยชนะอันประเสริฐ บ่แม่นอ้ายผู้มีชัยชนะ(ถ้าสะกดด้อย”ช”เป็นเชษฐา)ฺ.
LikeLike
พระเจ้าไชยเชษฐา เก่งแต่หนีรึเนี่ย นึกว่าจะรบเก่งกว่านี้ 555555 กะให้เกิดความรำคาญแล้วหนีอย่างเดียว……..อยุธยามีน้อยมากแค่ไหน ก็ยังยืดหยัดสู้
พระเจ้าไชยเชษฐา เก่งจริงหรือ เห็นยกทัพไปปราบ ข่า ขมุ ในลาวใต้ ผลคือแพ้ยับเยิน จนตัวเองต้องหนีแตกทัพกัน และ พลัดหลงกับกองทัพ ไปสิ้นพระชนม์ที่ไหนก็ไม่รู้ จนวันนี้
LikeLike
Pingback: คุณเคยถูกเพื่อน ๆ ดูถูก หรือรังเกียจมั้ย แบบว่าเป็นตัวเสนียดของห้อง? | Sw-Eden.NET