พระราชวังบุเรงนอง กับอาณาเขตส่วนตัว

สว อิเฎลเยี่ยมเมืองหงสาวดีเป็นครั้งที่ 3 แล้ว และครั้งนี้กลับมาประเทศไทย จึงอยากแบ่งปันประสพการณ์และความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระราชวังกัมโพชของบุเรงนอง กะยอทินนรธา


ดูภาพพม่าอื่น ๆ

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

บุเรงนอง เป็นพระราชาที่มีเสน่ห์สำหรับคนไทย เราคลั่งไคล้เขาทั้ง ๆ ที่เขามาเอาเมืองของเรา อิเฎลคิดว่าทุกที่ที่อ่านอยู่คงรู้เรื่องการเสียกรุงครั้งที่ ๑ อิเฎลคงไม่ต้องแนะนำเรื่องเกี่ยวกับบุเรงนองมาก แต่อิเฎลอยากกล่าวสั้น ๆ ว่า คนไทยสมัยโบราณไม่ได้ชอบเขาเหมือนคนไทยปัจจุบัน

พระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมืองหงสาวดี (หานตาวดี) จากแผนที่ของการขุดพบซากโบราณคดี พระราชวังนี้มีอาณาเขตครอบคลุมพระธาตุมุเตา หรือ ชะเวมอดอ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระราชวังนี้กว้างขวางมาก นอกจากนี้ยังมีตำหนักของชายา 54 พระองค์ จาก 53 เมืองขึ้น กับน้องสาวของตะเบงชะเวตี้อีกหนึ่ง

อ่านประวัติศาสตร์และเรื่องเกี่ยวกับพม่าเพิ่ม
คลิกที่นี่ (Read More about Myanmar)


บุเรงนองชอบอะไรก็ตามที่กว้าง ๆ ใหญ่ ๆ และมาก ๆ อิเฎลดูแผนที่ที่แสดงในพระราชวังจำลองแห่งนี้ คือ เรื่องตำหนักมเหสีที่กล่าวไปข้างต้น, เรืองประตูพระราชวัง 20 ประตู ซึ่งถือว่าทำให้ง่ายต่อการโจมตีของข้าศึก และเรื่องที่บุเรงนองจับเชลย บุคคลสำคัญของเมืองขึ้นต่าง ๆ มาสะสมไว้ได้หลายหมู่บ้าน


ดูภาพพม่าอื่น ๆ

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น

เดิมทีพระราชวังของเมืองหงสาวดีไม่ได้มีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่โตเช่นนี้ อิเฎลจะเล่าถึงครั้งพระเจ้าตะเบงชะเวตี้มาทำพิธีเจาะพระกรรณ (อิเฎลพูดว่า “เจาะหู” คนพม่ายังรู้ว่าต้องพูดว่า “ทรงเจาะพระกรรณ”) พระเจ้าตะเบงชะเวตี้นำทัพม้า 500 นาย ผ่านกำแพงเมืองหงสาวดีซึ่งเป็นเมืองหลวงของมอญมาทำพิธีที่ชเวมอดอ หรือพระธาตุมุเตา การนี้แสดงให้เห็นว่าพระธาตุมุเตาไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังของหงสาวดี

ครั้นพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ราชาภิเษกที่หงสาวดี อิเฎลไม่พบเรื่องที่ท่านต่อเติมพระราชวัง เพราะตะเบงชะเวตี้มีนโยบายรักษาน้ำใจของชาวมอญทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ทหาร หรือประชาชน ดังนั้นอิเฎลสันนิษฐานว่าเขตพระราชฐานของตะเบงชะเวตี้ไม่ได้กว้างจนควบเอาพระธาตุมุเตาเข้ามาอยู่ด้วย

สิ้นสมัยพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ เราหลายคนเข้าใจกันว่าหงสาวดีแตกเพราะเกิดกบฏ ดังนั้นพระราชวังต้องได้รับความเสียหาย ดังนั้นแล้ว เมื่อบุเรงนองเอาชนะกบฏ บุเรงนองจึงต้องซ่อมแซมและปรับปรุงพระราชวัง อิเฎลสันนิษฐานว่า ฝังพระราชวังที่ท่านเห็นอยู่ในปัจจุมบันนี้คือสิ่งที่บุเรงนองสร้างขึ้นใหม่หลังได้เมืองคืน

Article by © 2010 Sw Eden
เขียนโดย สว อิเฎล – สงวนลิขสิทธิ์บทความและรูปภาพ
** ห้ามคัดลอกลงเว็ปไซด์อื่น อนุญาตให้ใช้ทำรายงานเพื่อการศึกษาเท่านั้น


ดูภาพพม่าอื่น ๆ

Leave a comment

Filed under Uncategorized

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.