10 เหตุผล อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งเอเซีย คือ ตะเบงชะเวตี้

10 Reasons Tabinshwehti is Alexander the Great of Asia

All Rights Reserved © S.W. Eden (สว อิเฎล)

เมื่อสวอิเฏลอ่านหนังสือ “ภูมิหลังของพม่า” ซึ่งเป็นการรวบรวมจดหมายเหตุและบันทึกของชาวโปรตุเกศไว้มากมาย อิเฎลประหลาดใจมากที่ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (Tabinshwehti) ถูกเปรียบเทียบให้เป็น “พระเจ้าอะเล็กซานเดอร์ มหาราช แห่งเอเซีย” (Alexander the Great of Asia) แต่เมื่ออิเฎลศึกษาถึงพระราชประวัติของกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ อิเฎลก็มั่นใจว่า การเปรียบเทียบนี้ไม่ผิดเพี้ยนแน่ ๆ

อ่านประวัติศาสตร์และเรื่องเกี่ยวกับพม่าเพิ่ม
คลิกที่นี่ (Read More about Myanmar)


สำหรับอิเฎลซึ่งเป็นชาวไทยผู้ชื่นชอบเรื่องราวของวีรบุรุษเหมือนกับท่านผู้อ่าน อะเล็กซานเดอร์มหาราชและตะเบงชะเวตี้มีเสน่ห์ที่ทำให้คนหลงรักได้ไม่ด้อยไปกว่ากัน และอิเฎลจะสรุปผลวิเคราะห์เป็นข้อ ๆ ตามที่ตะได้เห็น ณ ที่นี้

1. เป็นกษัตริย์ตั้งแต่เป็นวัยรุ่น

อิเฎลจินตนาการณ์ไม่ออกเลยว่า วัยรุ่นในโลกปัจจุบันจะสามารถทำได้อย่าง อะเล็กซานเดอร์มหาราชและตะเบงชะเวตี้ เมื่ออ่านประวัติศาสตร์ดูแล้วน่าเหลือเชื่อมาก ในโลกตะวันตกจะมีความเชื่อว่าวัยกลางคนคือจุดเริ่มต้นของชีวิต ดังนั้นการที่พระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชขึ้นครองราชย์เมื่ออายุ 20 ปี จะถือว่าเป็นกษัตริย์ที่อายุน้อยมาก ส่วนตะเบงชะเวตี้นั้น ขึ้นครองราชย์ตอนอายุ 14 ปี และทำสงครามครั้งแรกเมื่ออายุ 18 ปี

2. ลุยศึก นำกองทัพด้วยตนเอง

ทั้งอะเล็กซานเดอร์มหาราชและตะเบงชะเวตี้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่ากล้าหาญผิดมนุษย์ กษัตริย์ทั้งสองนำกองทัพประทะกับข้าศึกด้วยพระองค์เอง ฉากที่อิเฎลลืมไม่ได้คือการผ่าวงล้อมของชาวมอญในหงสาวดีครั้งตะเบงชะเวตี้เจาะพระกรรณ

3. มีอวัยวะประหลาด ไม่เหมือนคนอื่น

อิเฎลเชื่อว่าพวกที่มีอวัยวะประหลาดที่ไม่มีพิษภัยถือว่าเป็นกษัตริย์ผู้มีบุญญาธิการสูง และหลาย ๆ ท่านคงเชื่อว่าเป็นเทพลงมาเกิด (จุติ) คนไทยหลายคนคงทราบว่าตะเบงชะเวตี้มีพระชิวหาเป็นสีดำ อย่างที่เรียกกันว่า “เจ้าหงสาลิ้นดำ” หรือ “พระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำ” ซึ่งตะเบงชะเวตี้มีลิ้นเป็นสีดำทั้งลิ้นประกอบกับริมฝีปากที่เป็นสีดำด้วย บางตำราอ้างว่าบุเรงนองหรือพระเจ้าพี่ของตะเบงชะเวตี้มีปานเป็นสีดำ แต่ข้อมูลนี้ยังไม่แน่ชัด อาจเป็นการแต่งเติมของคนชอบบุเรงนองก็เป็นได้ หันมาดูทางอเล็กซานเดอร์มหาราช ศีรษะของกษัตริย์ผู้นี้ไม่ธรรมดา เพราะมีเขางอกออกมาเหมือนเขาแกะ แต่ท่านอาจไม่ค่อยชอบโชว์ให้คนอื่น ๆ เห็นเท่าไรนักจึงเอาผมปิดไว้

4. สร้างเมืองใหม่ และย้ายเมืองหลวง

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสร้างขึ้นเป็นเมืองใหญ่คือเมือง อเล็กซานเดรีย (Alexandria) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ชายฝั่งประเทศอียิปต์ ส่วนพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ไม่คิดเหมือนพม่าคนอื่น ๆ ที่จะตีกรุงอังวะเป็นเมืองหลวงหรือใช้เมืองบ้านเกิดเป็นเมืองหลวง (ตองอู) หากแต่เข้ายึดเมืองหงสาวดีของชางมอญและใช้เป็นเมืองหลวงรวมของทั้งพม่าและมอญ

5. แต่งงานเพื่อการเมือง และแต่งกับหญิงต่างชาติ

การแต่งงานกับหญิงต่างชาติซึ่งมาจากเมืองขึ้นนั้นทำให้เมืองขึ้นต่างชาติต่างเผ่าพันธุ์เคารพนับถือ อิเฎลไม่ขอยืนยันว่าการแต่งงานที่หลายคนอ้างว่าเป็นการแต่งงานเพื่อการเมืองจะเป็นการเมืองไปเสียทั้งหมด พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแต่งงานกับเจ้าหญิงเปอร์เซีย และตะเบงชะเวตี้แต่งงานกับเจ้าหญิงมอญ

6. ชื่นชอบเพศเดียวกัน (เป็นเกย์)

อิเฎลไม่ได้ยันว่ากษัตริย์ทั้งสองเป็นเกย์ แต่อิเฎลแนะนำให้ท่านผู้อ่านคิดว่าทำไมชนรุ่นหลังอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ อยากให้กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่เป็นเกย์ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชมีเพื่อทหารคนสนิทซึ่งเมื่อเสียทหารนี้ไป ท่านก็เศร้าโศรกไม่สมประดี ซึ่งอิเฎลจะกล่าวต่อไปในข้ออื่น ส่วนพระเจ้าตะเบงชะเวตี้จะมีเพศสัมพันธ์กับเด็กชายหรือทารุณทหารแปรหรือไม่นั้น หรือทำลามกกับผู้หญิงมากมาย ท่านผู้อ่านต้องพิจารณาว่าทำไมตะเบงชะเวตี้ถึงไม่แต่งตั้งมเหสีให้เยอะ ๆ เหมือนกษัตริย์องค์อื่น ๆ เสียเลย ขอให้ใช้วิจารณญาณ

7. เหยียบดินแดนตะวันออก

เรื่องการเหยียบดินแดนตะวันออกของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้อาจไม่ไกลถึงขนาดบุเรงนองและพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็นับได้ว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นกษัตริย์กรีกพระองค์แรกที่เหยียบดินแดนตะวันออก ถึงตอนเหนือของอินเดีย และพระเจ้าตะเบงชะเวตี้เป็นกษัตริย์พม่า (มอญ) พระองค์แรกที่เหยียบกรุงศรีอยุธยา (อ่านบทความวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ เรื่องพระเจ้าตะเบงชะเวตี้สุภาพบุรุษแดนสยาม กับ ศึกเมืองเชียงกราน และศึกเมืองทวาย เกิดขึ้นจริงหรือไม่)

8. รบเมืองสุดท้ายชนะ แต่ไม่งดงามเหมือนครั้งก่อน ๆ

ไม่ใช่อิเฎลเพียงคนเดียวที่ถือว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชไม่ได้พ่ายแพ้อินเดีย เพราะการถอยทัพไม่ได้หมายถึงการพ่ายแพ้ แม้ว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจะสูญเสียกำลังพลไม่น้อย แต่ท่านก็ได้พระเจ้าเปารวะแห่งอินเดียเป็นตัวประกัน เช่นเดียวกันกับพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ซึ่งได้พระมหาธรรมราชาแห่งพิษณุโลกและพระราเมศวรราชโอรสแห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นตัวประกัน

9. กินเหล้าจนตาย และการตายไม่แน่ชัด

หลังจากที่อิเฎลทั้งอ่านหนังสือทั้งดูภาพยนต์เกี่ยวกับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ก็พบว่ามีเรื่องเล่ามากกว่า 3 เรื่อง มีทั้งประชวร ทั้งโดนลอบวังหาร จนกระทั่งเมาเพราะคิดถึงทหารคนสนิทจนตาย ส่วนพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ มีคนเขียนว่าติดน้ำจัณฑ์ และโดนพลดาบมือขวาลวงไปคล้องช้าง ชาวบ้านเล่ากันว่าโดนตัดเศียร บ้างว่าโดนพิษ แต่ถึงอย่างไร ไม่มีใครหาพระศพพบ

10. สิ้นพระชนต์อายุ 33 และ 34

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นอีกคนที่เสียชีวิตด้วยอายุ 33 ที่อิเฎลและท่านผู้อ่านต้องจำได้ อิเฎลยังคิดถึงคนอื่น ๆ อีกคือนักเขียนกลอนที่อิเฎลชอบ และ พระเยซู คริสต์ (Jesus Christ) ถ้าแฟน J-Rock ก็คงอดคิดถึง ฮิเดโตะ “ฮิเดะ” มัตซือโมโต้ (Hideto Matsumoto) ไม่ได้ ส่วนพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ สิ้นพระชนต์ (หรือหายสาบสูญ) เมื่อพระชนต์มายุได้ 34 ปีเศษ (อิเฎลคำนวนดู คือ 34 ปีกับอีกประมาณ 2 เดือน)

อ่านประวัติศาสตร์และเรื่องเกี่ยวกับพม่าเพิ่ม
คลิกที่นี่ (Read More about Myanmar)


คราวนี้ท่านผู้อ่านทุกท่านคงจะไม่แปลกใจเลยว่า กษัตริย์ประเทศเพื่อนบ้านของเราที่กินอาณาเขตได้ไม่เท่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกลับถูกเปรียบเทียบให้เป็นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งเอเซีย สิ่งที่ทั้งสองกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่มีความแตกต่างกันนั้นก็มีอยู่มาก แต่การเปรียบเทียบนี้ เป็นศิลปะที่ทำให้เรา ๆ ท่าน ๆ เห็นถึงพระปรีชาสามารถของกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ รวมถึงข้อผิดพลาดที่เราสามารถนำมาเป็นบทเรียน ว่าแล้ว อิเฎลก็ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านบทความนี้ บทความนี้เป็นอีกบทความหนึ่งที่อิเฎลใช้เวลาศึกษาอยู่นานเพื่อเขียนขึ้น

~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
คุณรู้จัก Black Tongue : The Animation หรือยัง?
มันคือการ์ตูนสั้น กำลังถูกดัดแปลงให้เป็นเกมส์ online ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในฤดูหนาวปี 2011
มีโครงเรื่องมาจากบทประพันธ์ของ สว อิเฎล
เชิญชมได้ ณ ที่นี้

6 Comments

Filed under Uncategorized

6 responses to “10 เหตุผล อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งเอเซีย คือ ตะเบงชะเวตี้

  1. m

    เรียกว่ายิ่งใหญ่แล้ว อ่านไปคิดเป้นนักรบ ปราดเปรืองการรบมี 10 แก่นสาร

    Like

    • เขาไม่เก่ง คงไม่มีคนยกย่องขนาดนี้
      และที่สำคัญในอดีต ไม่ได้ทำอะไรสะดวก เหมือนปัจจุบัน ยังได้ขนาดนี้

      Liked by 1 person

    • อิเฎลคะ หนูสงสัยที่บอกว่าพระเจ้าตะเบงชเวตี้หายสาบสูญ ไม่คนมีคนพบพระศพเลยหรอคะเพราะที่อ่านหรือฟังมาจากหลายๆที่การสวรรคตของพระองค์ดูเขียนแนบเนียบมาก เราอ่านเองยังรู้สึกเหมือนคนเขียนอยู่ในเหตุการณ์ อีกเรื่องนะคะถ้าพระองค์หายสาบสูญจริงๆเป็นได้ไหมว่าอาจจะมีพระชนม์ชีพอยู่

      Like

      • เมื่อท่าน Boesenbergia พึ่งจะศึกษา ท่านจะพยายามหาความจริง แต่เมื่อท่านศึกษาไปสักพัก ท่านจะพบว่าข้อมูลจากหลายแห่งไม่ตรงกัน เหมือนใครอยากเขียนก็เขียน ขนาดว่าเป็นประวัติศาสตร์ ข้อมูลยังเปลี่ยตลอดเวลาเลย สมมติท่านอ่าน Wikipedia ภาษาอังกฤษ เรากดดูคนที่เข้ามาแก้ ก็แก้กันเป็นว่าเล่น

        ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด ที่ควรทำ คือ เชื่อในสิ่งที่ศรัทธาว่ามันจริง ถ้าคิดจะชอบคนในประวัติศาสตร์ คนคนที่ท่านชอบนั้น เป็นของท่าน Boesenbergia เอง

        Like

  2. Pingback: ประวัติและประเภทของงาน Graphic Design | Sw-Eden.NET

  3. ขอบคุณค่ะ

    Like

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.