เข้าใจปัญหาวัยรุ่น อารมณ์ ค่านิยม และช่องว่างสังคม จากประสบการณ์จริง

“หลังจากที่พระเจ้าทดสอบเรา พระเจ้าก็ให้คำตอบแก่เรา” สว อิเฎล

© สว อิเฎล – บทความสงวนลิขสิทธิ์ ห้ามคัดลอก หรือทำซ้ำ

ถึงแม้ว่าอิเฎลนับถือศาสนาพุทธ แต่เราทุกคนคงจะได้ยินเรื่อง บททดสอบของพระเจ้า กันจนชินหู ถ้าชาวพุทธพูดถึงเรื่องนี้ คงจะใช้คำว่า บททดสอบของธรรมชาติ

มนุษย์เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับกิเลส หรือความต้องการ ดั่งที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า มนุษย์มีความต้องการไม่สิ้นสุด หลายคนอยากเป็นในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้เป็น และอยากให้คนอื่นเคารพนับถือ แม้ว่าตนเองไม่ได้ทำคุณประโยชน์ใด ๆ

สาเหตุที่อิเฎลคิดเขียนหัวข้อนี้ขึ้นมา เพราะ ณ วันนี้ อิเฎลได้เห็นตนเองในอดีตในรูปของบุคคลอื่น ๆ และการที่ได้รู้จักคนเหล่านี้ ทำให้อิเฎลเรียนรู้ว่าอิเฎลเติบโตขึ้น และได้ผ่านอุปสรรคเหล่านั้นมาอย่างสมบูรณ์แล้ว

1. อยากรู้อยากลองด้วยตนเอง

สมัยมัธยม อิเฎลฝันอยากเป็นโน่นอยากเป็นนี่ ตามประสาวัยรุ่น มันเป็นสิ่งดีที่ทำให้เราถีบตัวในช่วงเวลานั้น อิเฎลลองดื่มแอลกอฮอล์ ทั้ง ๆ ที่เวลานั้นอายุยังไม่ถึง 18 ปี เพียงเพราะคิดว่ามันเจ๋ง และมีเพื่อนคนอื่น ๆ ที่ลองสูบบุหรี่

เวลานี้อิเฎลเรียนรู้ทั้งหมดแล้วว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น แต่กลับทำให้สุขภาพและสังคมเสื่อมลง ในทางศาสนาพุทธ การทำร้ายตนเอง มีบาปหนักกว่าการทำร้ายผู้อื่น และในศาสนาคริสต์ ร่างกายเปรียบเสมือนวิหารของพระเจ้า ถ้าเราทำลายมัน เรามีบาป

เร็ว ๆ นี้ อิเฎลได้พบเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มีความคิดเหมือนกับอิเฎลสมัยเรียนมัธยม เพื่อนคนนี้สูบบุหรี่ และดื่ม และยิ่งไปกว่านั้น เขามีความสนใจในฝิ่นและกัญชา เพราะคิดว่าตนเองจะดูสุดยอดในสายตาคนอื่น ๆ ถ้าเราจะพูดให้เขาเชื่อ เขาคงจะไม่ฟัง แต่ถ้าเขาโชคดี เวลาจะทำให้เขาเรียนรู้มันด้วยตัวของเขาเอง

2. พูดเกินจริง

อิเฎลไม่ได้เป็นคนพูดเกินจริง เพราะไม่ชอบโกหก แต่อาจเป็นคนฝันเกินจริง ในสมัยที่อิเฎลเข้ามหาวิทยาลัยศิลปากร อิเฎลอยากทำวงดนตรี เพราะติดเพลงร็อคมาก อิเฎลชวนเพื่อน ๆ ว่าใครเล่นเครื่องดนตรีอะไรเป็นบ้าง ฝันนี้จบลงเมื่อเราได้รู้ว่างานคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่อนุญาตให้เราทำอย่างอื่นเลย

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อิเฎลคุยกับเพื่อนร่วมคณะที่ออสเตรเลีย เขาคุยอวดว่าเขามีแฟนเป็นชาวออสเตรเลีย และ เขามีเว็ปไซด์ขายของ อิเฎลฟังดูก็ไม่อยากจะเชื่อ เพราะคนนี้ไม่ได้ถึงกับเก่งขนาดนั้น ต่อมาเพื่อนของเขาได้บอกความจริงเกี่ยวกับเขาให้อิเฎลฟัง แฟนชาวออสเตรเลียของเขาเป็นคนจีนเหมือนกับเขา และเขาไม่ได้มีเว็ปไซด์ขายของ เพียงแต่เขาเอาของของเขาไปโพสตามเว็ปบอร์ดคนอื่นเพื่อขาย

3. คลั่งไคล้วงดนตรี และคนหน้าตาดี

ทั้งสองเรื่องนี้อยู่ที่รสนิยมของคนว่าชอบแนวไหน หน้าตาแบบนางสาวไทย บางคนอาจคิดว่าหน้าเกลียด เป็นต้น นี่เป็นเรื่องที่เกิดกับวัยรุ่นเกือยทุกคน อยากมีผู้นำแฟชั่น จนกระทั่งคิดว่าตนเองเจ๋งสุดยอดเมื่อเป็นแฟนของวงดนตรีหรือดาราดัง ๆ

สมัยมัธยมปลาย อิเฎลคิดว่าชอบวงร็อคจะทำให้ตนเองดูเจ๋ง แน่นอนมันดูเจ๋งในสายตากลุ่มคนที่ไม่เจ๋ง เพราะไอ้คำว่า “เจ๋ง” หรือสุดยอด น่าจะหมายถึง ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต มากกว่าที่จะหมายถึง พวกวัยรุ่น เรียนห่วย แต่งชุดดำ ทำสีผม หูเสียบซาวเบาท์

เวลานี้ อิเฎล ไม่มีความคิดเช่นนั้นแล้ว ถึงอิเฎลใส่เสื้อที่มี Logo วงดนตรีที่โด่งดังที่สุดในโลก นั่นไม่ได้ส่งเสริมให้คนยกย่องอิเฎล แต่กลับเป็นการส่งเสริมให้คนยกย่องวงดนตรีดังกล่าว หรือไม่ก็ “อยู่ดี ๆ ก็ไปเสียเงินซื้อเสื้อมาโฆษณาให้วงอะไรไม่รู้”

ในขณะเดียวกัน อิเฎลได้เห็นเพื่อน ๆ หลายคนที่ยังคิดเช่นนั้นอยู่ เมื่อเห็นแล้วก็หวนกลับไปคิดถึงความเสียเวลา และความคิดที่ผิด ๆ ของตนเองในวันเด็ก

4. นิยมต่างชาติ จนลืมชาติตนเอง

ค่านิยมนี้เกิดมากในวัยรุ่นไทย และเกิดบ้างในวัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะค่านิยมการเลือกใช้สินค้า ค่านิยมการเชื่อถือสื่อและข่าวสาร ตลอดจนค่านิยมชื่นชมดารานักร้องเกาหลี ญี่ปุ่น ชาวตะวันตก และ Justin Bieber

สมัยมัธยมต้น อิเฎลติดฟุตบอลมาก และทีมที่ชอบคืออินโดนีเซีย เมื่ออิเฎลคิดย้อนกลับไป ไม่อยากจะเชื่อว่าตนเองเชียร์ทีมอิโดเนเซียเมื่อพวกเขาแข่งกับทีมชาติไทย เมื่อคิดได้แล้ว อิเฎลก็ตระหนักว่าวันเด็กมีความโง่อยู่มาก และลืมชาติของตน

อิเฎลเชื่อว่ามีผู้ใหญ่หลายคนที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ คือ เชียร์ทีมโปรดของตน ซึ่งส่วนมากมาจากยุโรป ถึงแม้ว่าทีมนั้นจะแข่งกับทีมชาติไทยก็ตาม

ส่วนค่านิยมเรื่องดารานักร้อง ปัจจุบันบริษัทใหญ่ ๆ ในประเทศไทย ลงทุนจ้างดารานักร้องจากเกาหลี ญี่ปุ่น เพื่อมาแสดงโฆษณาสินค้าเพียงไม่กี่วินาที เงินที่จ่ายไปนั้นอยู่ที่หลักสิบล้าน ถึงร้อยล้าน แต่ผลออกมาไม่ได้แตกต่างจากโฆษณาที่แสดงโดยคนไทยนัก

ไม่นานนี้ มี user คนหนึ่งใน Facebook ชวยอิเฎลพูดเรื่องชาตินิยม ทีแรกอิเฎลคิดว่าเขารักประเทศไทยมาก แต่ท้ายที่สุด เขานิยมประเทศอื่น อิเฎลรู้สึกเสียดายมาก เพราะเวลานี้ อิเฎลนักถือแผ่นดินแม่ และไม่ว่าอิเฎลจะอยู่ที่ไหน อิเฎลต้องทำให้ทุกคนได้รู้ว่าคนไทยคือคนเก่ง

5. ท้อแท้กับผลการเรียน

คนเรามีทั้งท้อแท้และเดินหน้าต่อ กับท้อแท้ แล้วถอยหลังจนกระทั่งลาออกจากโรงเรียน และฆ่าตัวตาย แบบหลังเป็นเรื่องที่หน้ากลัวมาก

อิเฎลเคยท้อแท้เมื่อโดนอาจารย์แกล้งเพราะความคิดเห็นทางการเมืองต่างกัน เวลานั้น อิเฎลอยากออกจากโรงเรียน และเขียน Blog ใน Myspace ว่า การศึกษานั้นพิการ และไม่ได้ช่วยพัฒนาบุคลากร Blog นั้นอาจยังอยู่ในเว็ปนี้ อิเฎลจำไม่ได้ว่าลบไปหรือยัง และเมื่อเวลาผ่านไป อิเฎลเรียนจบปริญญาตรี ทั้งยังได้เกียรตินิยม ทำให้อิเฎลรู้ว่า ถ้าเราท้อถอยและไม่เรียนต่อ เราจะเสียโอกาศดี ๆ เหล่านี้ไป นั่นหมายถึงเราจะเสียอนาคตอันล้ำค่าของเรา

เมื่อเวลาผ่านไป อิเฎลคุยกับเด็ก ม.เชียงใหม่คนหนึ่ง เขาติดวงดนตรีญี่ปุ่น มีโลกส่วนตัวอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ จนไม่เข้าเรียน ไม่ไปสอบ เขาด่าบิดามารดาของเขาให้อิเฎลฟัง และเขาอยู่ในระหว่างพักการเรียน คนเหล่านี้อิเฎลเห็นมามาก มีทั้งไม่พอใจกับเกรดที่ได้ และไปโทษคนโน้นคนนี้ อีกทั้งหาตัวอย่างที่แย่กว่าตนเองมาเป็นข้ออ้าง เพียงเพื่อสนับสนุนว่าตนเองไม่ผิด และเถียงหัวชนฝาเพื่อจะเอาชนะโดยไร้เหตุผล

นี่อาจจะเป็นที่มาของคำด่าที่ว่า “ไร้การศึกษา” เพราะ ณ เวลาที่คนเหล่านี้ก้าวออกจากเส้นทางนักเรียนนักศึกษา เขาได้มีนิสัยเช่นนี้แล้ว เมื่อไร้สังคม นิสัยก็ยากที่จะถูกเปลี่ยน ความเคารพบุคคลที่มีประสบการณ์ได้เสื่อมหายไป เพราะคิดว่าตนเองเหนือกว่าคนทั้งโลก

ทำไมอิเฎลจึงเขียนหัวข้อเรื่องนี้?

เพราะอิเฎลไม่อยากให้วัยรุ่นคนอื่น ๆ ต้องพบกับสิ่งยั่วยวนและอารมณ์การต่อสู้กับตนเองเช่นนี้ สิ่งที่อิเฎลอยากเห็นคือ เด็กรุ่นใหม่รู้หน้าที่ และก้าวกระโดดข้ามอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้มันด้วยตนเอง

บทความนี้ อาจมีทัศนคติขัดแย้งกับบทความอื่น ๆ ที่อิเฎลเคยเขียนมา ทั้งนี้ เพราะเมื่อคนเราเติบโตขึ้น ความคิดของเราเปลี่ยนไป อิเฎลไม่คิดลบบทความเก่า ๆ เพราะมันอาจเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อย

Advertisement

Leave a comment

Filed under Uncategorized

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.