หากคุณขวนขวายจนกระทั่งมาพบบทความนี้ที่อิเฎลเขียน อิเฎลเชื่อว่าคุณเป็นสาธุชนผู้เคารพสิทธิ์ของตัวเองและผู้อื่น หากพร้อมอ่านแล้ว เชิญ Scroll Down ได้เลย
© 2012 The Sw Eden (สว อิเฎล) สงวนลิขสิทธิ์ในส่วนที่เป็นประสบการณ์และภาพ
ตามอุปนิสัยของชาวไทยเรา อิเฎลต้องพูดตามตรง ไม่ได้ดูถูกกัน ชาวไทยไม่ค่อยใส่ใจเรื่องลิขสิทธิ์เท่าไรนัก หากจะพูดว่ามีนิสัยขี้ขโมยก็คงจะรุนแรงไป เพราชาวไทยไม่ใช้นัก Copy ที่ทั่วโลกขนานนามอย่างประเทศจีน แต่ประเทศไทยอาจจะเป็นหรือกำลังจะเป็น หากเยาวชนรุ่นใหม่ ยังไม่ใส่ใจเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ คือทรัพย์สินทางปัญญาชนิดหนึ่ง ซึ่งกฎหมายคุ้มครองให้เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ในการ คัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง ตลอดจนหาผลประโยชน์ทางด้านการค้าและชื่อเสียง
ทั้งนี้ ผู้สร้างสรรค์งานจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตั้งแต่ที่งานนั้นถูกสร้างขึ้น หมายความว่า ถ้าอิเฎลวาดภาพหนึ่งขึ้นมา อิเฎลเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพนั้น โดยไม่จำเป็นต้องไปจดลิทธิ์หรือแจ้งกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ถ้าเป็นเช่นนั้น เพื่อน ๆ ผู้อ่าน อาจจะสงสัยว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญามีไว้เพื่ออะไร?
หากอิเฎลนำผลงานของอิเฎลไปจดที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อมีผู้ต้องการใช้ผลงานของอิเฎลเพื่อการค้า เขาก็สามารถหาข้อมูลติดต่อของอิเฎลได้อย่างง่ายดายที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา
โดยปกติ เมื่ออิเฎลวาดภาพ หรือทำงานศิลปะอื่น ๆ เสร็จ อิเฎลจะถ่ายภาพ หรือนำงานจริง upload ขึ้นเว็ปไซต์ที่มีวันเวลาระบุ เช่น Flickr, WordPress และ DeviantArt ถ้าคุณไม่มี Account ของเว็ปไซต์เหล่านี้ คุณก็สามารถนำลง Facebook ซึ่งก็จะมีวันเวลาระบุให้เช่นกัน ในทางกลับกัน ผู้ที่สร้างงานศิลปะหรืองานใด ๆ แต่ไม่มีความประสงค์นำแสดงตามเว็ปไซต์หรือตีพิมพ์ ท่านผู้นั้นก็ควรนำผลงานไปจดลิขสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่ออย่างน้อยที่สุด งานของจะถูกรับรองว่าถูกผลิตขึ้นมาโดยใคร เมื่อไร
ตอนที่อิเฎลเรียนสถาปัตยกรรมที่ New York Institute of Technology อาจารย์ของอิเฎลทำงานให้กับบริษัทสถาปัตยกรรม เขาบอกว่าทุกครั้งที่เขาออกแบบงานให้กับบริษัท เขาจะเขียนเครื่องหมาย Copyrights ไว้ และตามด้วยชื่อของเขาที่มุมกระดาษเสมอ เพื่อพิสูจน์ว่าเขาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานนั้น ๆ แต่อย่างที่บอก บริษัทสามารถนำงานนั้นไปใช้ได้ตามคำสั่งที่มอบหมายงานให้กับอาจารย์ของอิเฎล แต่ถ้าบริษัทต้องการถือครองลิขสิทธิ์ทั้งหมด ต้องมีการเซ็นต์สัญญาที่ระบุเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน
กรณีอาจารย์ของอิเฎลเป็นลูกจ้างบริษัท และเจ้านายสั่งให้ออกแบบ แต่อาจารย์ของอิเฎลไปจ้างคนอื่นให้ออกแบบแทน กรณีนี้ ลิขสิทธิ์เป็นของอาจารย์ของอิเฎล เว้นแต่กรณีที่ทั้งสองได้ทำสัญญาตกลงเรื่องลิขสิทธิ์กันเอง
ปัจจุบันนี้ องค์กรเอกชนมักจัดประกวดภาพถ่าย และตราสัญลักษณ์ (Logo) มากมาย โดยมุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการส่งผลงานเข้าประกวด ซึ่งโดยส่วนใหญ่ในใบประกาศจะเขียนในเชิงว่า “ลิขสิทธิ์ของงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดจะเป็นขององค์กรดังกล่าว” การนี้ คือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพราะงานที่ไม่ได้รับรางวัลกลับต้องตกเป็งขององค์กร หมายความว่า นักเรียนนักศึกษาต้องสูญเสียผลงานที่ตนสร้างสรรค์ไปฟรี ๆ หากอิเฎลคิดจะส่งผลงานยเข้าประกวด อิเฎลจะไม่เลือกส่งกับการแข่งขันที่มีข้อความเช่นนี้ แต่เพื่อน ๆ พี่น้องสามารถคิดเอาเองได้ เป็นสิทธิ์ของท่าน
โพสอื่น ๆ เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
1 • ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายลิขสิทธิ์
2 • งานใดกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง และงานอะไรไม่คุ้มครอง
3 • อายุของงานอันมีลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์อยู่ได้กี่ปี
4 • การละเมิดลิขสิทธิ์ มีอะไรบ้าง
5 • บทลงโทษเมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์
6 • เว็บแชร์ไฟล์ผิดกฎหมายหรือเปล่า “ไม่ผิดครับ”
7 • จะรู้ได้อย่างไรว่ามีคนละเมิดลิขสิทธิ์ของเรา
8 • ประโยชน์ของกฎหมายลิขสิทธิ์
9 • ผู้ขโมยลิขสิทธิ์ ย่อมตกนรก