งานใดกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง และงานอะไรไม่คุ้มครอง

© 2012 The Sw Eden (สว อิเฎล) สงวนลิขสิทธิ์ในส่วนที่เป็นประสบการณ์และภาพ
งาน Fan Art โดยทั่วไปจะไม่ได้รับการฟ้องร้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ศิลปินยังสามารถขายภาพเหล่านี้ได้อีกด้วย เช่นตาม South Central Park ณ NYC

งานที่ได้รับการคุ้มครอง

มาตรา ๖ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรือ งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

จากข้อความด้านบน อิเฎลจะจำกัดความศัพท์ต่าง ๆ ให้ดังนี้

1. วรรณกรรม หมายถึง งานเขียนหรืองานที่แต่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือนิยาย มี 2 ประเภทคือ วรรณกรรมลายลักษณ์ (งานเขียน บันทึกเป็นตัวอักษร) และ วรรณกรรมมุขปาฐะ (การบอกเล่าเรื่องราว) ทั้งนี้รวมไปถึงการแสดงท่าทางด้วย
2. นาฏกรรม หมายถึงงานแสดงในลักษณะแสดงตามเรื่องราวที่แต่งขึ้นใหม่หรือมีอยู่แล้ว รวมถึงท่าเจ้นต่าง ๆ ด้วย
3. ศิลปกรรม คืองานศิลปะต่าง ๆ อาจคาบเกี่ยวกับคำอื่น ๆ ในหัวข้อใกล้ ๆ กันนี้ เช่น ภาพเขียน งานปั้น ภาพพิมพ์ และสถาปัตยกรรม
4. ดนตรีกรรม (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) หมายถึง งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
5. โสตทัศนวัสดุ ตัวอย่างเช่น ภาพถ่าย, แผ่นใส, วิดิทัศน์, silde นำเสนองาน และสื่อผสมอื่น ๆ
6. ภาพยนตร์ คือภาพเคลื่อนไหวแสดงเรื่องเล่าหรือเหตุการณ์ รวมไปถึง animation ด้วย
7. สิ่งบันทึกเสียง ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายโดยวิทยากร การเทศนาโดยพระสงฆ์

ภาพถ่ายมีลิขสิทธิ์โดย รตจิตร

ส่วนงานที่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้คุ้มครองคือ

1. แนวคิด (Concept)
2. ทฤษฎีและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3. ข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นความจริง และทุกคนมีสิทธิ์นำไปใช้ได้ เช่น ขั้นตอน กรรมวิธีต่าง ๆ

สมัยอิเฎลเรียนอยู่ที่ประเทศไทย อาจารย์สอนคณิตศาสตร์ท่านหนึ่งบอกว่าคนไทยไม่ค่อยชอบเขียนตำราเรียนคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์เพราะเขียนแล้วมันไม่มีลิขสิทธิ์ ใครคิดจะถ่ายเอกสาร ทำสำเนาอะไรก็ได้หมด อิเฎลก็งง คิดในใจว่า จริงหรอ? เพราะเมื่อเปิดปกรองก็เห็นเขียนเรื่องลิขสิทธิ์ไว้ อิเฎลคิดว่าสิ่งที่มีลิขสิทธิ์นั้นอาจเป็นตัวอย่าง โจทย์ แต่ถึงอย่างไร นั่นก็ถือว่าเป็นการแสดงขั้นตอนการคิดคำนวนอยู่ดี

อีกกรณีที่อิเฎลอยากแจ้งให้คนไทยทราบ คนไทยบางกลุ่มเชื่อว่า มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่ถือว่างานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไม่ได้รับการคุ้มครอง แต่ความเป็นจริงประเทศอื่นก็เช่นเดียวกับเรา

เทคโนโลยีการปั๊มน้ำ

สิ่งที่ไม่ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์คือ

1. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือตอบโต้ของ กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม 1 ถึง 4 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

ถึงงานเหล่านี้จะไม่มีลิขสิทธิ์ และบุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถหยิบมาใช้ประกอบวิชาชีพของตน แต่อิเฎลก็แนะนำให้ทำการอ้างอิงแหล่งที่มา เนื่องจากจะทำให้บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ มีน้ำหนัก ความน่าเชื่อถือมากขึ้น

Chris Fehn อ่านข่าวช่อง 3

โพสอื่น ๆ เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
1 • ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายลิขสิทธิ์
2 • งานใดกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง และงานอะไรไม่คุ้มครอง
3 • อายุของงานอันมีลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์อยู่ได้กี่ปี
4 • การละเมิดลิขสิทธิ์ มีอะไรบ้าง
5 • บทลงโทษเมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์
6 • เว็บแชร์ไฟล์ผิดกฎหมายหรือเปล่า “ไม่ผิดครับ”
7 • จะรู้ได้อย่างไรว่ามีคนละเมิดลิขสิทธิ์ของเรา
8 • ประโยชน์ของกฎหมายลิขสิทธิ์
9 • ผู้ขโมยลิขสิทธิ์ ย่อมตกนรก

Advertisement

3 Comments

Filed under Uncategorized

3 responses to “งานใดกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง และงานอะไรไม่คุ้มครอง

  1. ขออนุญาต นำบทความไปใส่ใน google site นะครับ
    https://sites.google.com/view/ton-pcom

    Like

  2. Pingback: มีใครชอบ Visual Kei J-Rock ยุค 1990 แถวนี้มั้ย? | Sw-Eden.NET

  3. Pingback: ภาพยนตร์นิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ธีสิส ทำเพื่ออะไร? | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.