เวลา 9.00 น. – 9.30 น. เจ้าหน้าที่ขนส่งในวันนั้นน่ารักมาก เป็นผู้หญิงผมยาว ขาว สูง หน่วยก้านดี๊ ดี เสียดายที่ไม่ทราบชื่อ เธอเรียกผู้เข้าสอบ ด้วยเทเลโข่งให้ไปฟังคำอธิบายก่อนการสาธิต โดยถ้าใครที่ไม่ได้นำรถมาสอบ ก็สามารถติดต่อเช่ารถ ได้ที่ป้อมตรงกลางสนามสอบเลย ค่าเช่าครั้งละ 100 บาท แต่หากเกิดอุบัติเหตุก็ต้องจ่ายค่ะ excess 2,000 บาทด้วย สำหรับกรมขนส่งพื้นที่ตลิ่งชันนี้มีแต่รถฮอนด้า 3 คัน Body ค่อนข้างกระทัดรัด ทำให้การสอบปฏิบัติไม่น่ายาก
**งานเขียนนี้ ถือเป็นวิทยาทานเพื่อให้ทุกคนได้อ่าน โดยห้ามมิให้คัดลอกนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้ในเว็บไซต์อื่น โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีโฆษณา ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งนี้อนุญาตให้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษา โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและชื่อผู้เขียน
ในวันที่เพื่อนของรตจิตรไปสอบ รตจิตรขอระบุชื่อเจ้าหน้าที่ขนส่งที่ทำหน้าที่อธิบายการสาธิตการสอบปฏิบัติในที่นี้ ชื่อฟังแล้วรู้เลยว่าผู้ชาย เผื่อว่ากรมขนส่งจะอ่านพบบทความนี้และจะได้ให้เจ้าหน้าที่ขนส่งผู้นี้ปรับปรุงการพูดจาด้วย ยกตัวอย่าง
(ก) เมื่อคุณเจ้าหน้าที่ผู้ชาย อธิบาย ก็จะเทเลโข่งถามว่าใครสงสัย หรือมีคำถาม พอประชาชนตาดำ ๆ ถามก็จะถูกตอบกลับอย่างดูหมิ่น ดูถูก ต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่พวกเขามาสอบครั้งแรกก็ต้องมีข้อข้องใจเป็นธรรมดา และที่สำคัญทุกคนอยากสอบผ่านกันทั้งนั้น เช่น
คำถาม: การสอบท่าที่ 1 ถ้าถอยหลังเทียบจอดแล้วไม่ทับกรอบนอกเส้นสีแดง แต่ทับเส้นเหลืองกรอบใน เป็นไรไม้
คำตอบของคุณเจ้าหน้าที่ผู้ชาย : ถ้าคุณไปทับเส้นใดเส้นหนึ่งหมายถึงอะไร
ผู้ถาม: กินเลนใช่ไม้คะ
คำตอบของคุณเจ้าหน้าที่ผู้ชาย : เอ้อ! ก็ใช่อะดิ.. เวลาถามผมนะ อยากให้ใช้สมองหน่อย..ทำนองนี้ คนเข้าสอบฟังแล้วสะอึก ไม่ได้มองไปที่คนถาม แต่จ้องที่เจ้าหน้าที่ขนส่งต่างหาก ผู้อำนวยการขนส่งคงเข้าใจนะคะ
(ข) ในระหว่างการอธิบาย คุณเจ้าหน้าที่ผู้ชาย กลับบอกพวกเข้าสอบใหม่ว่า ไม่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยก็ได้ เพราะพวกคุณไม่ได้มาสอบกฎจราจร พวกคุณสอบข้อเขียนผ่านไปแล้ว ให้สนใจแค่อย่าทับเส้นสีแดงเท่านั้นพอ ทั้ง ๆ ที่ขนส่งควรให้มือใหม่ตระหนักอยู่เสมอว่าทุกครั้งที่ขับรถต้องคาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ ให้ติดเป็นนิสัยยิ่งดี แต่โชคดีที่ในวันนั้นทุกคนก็คาดเข็มขัดนิรภัยกันหมด แทบไม่มีใครฝ่าฝืนกฎจราจรตามที่คุณเจ้าหน้าที่ผู้ชาย เจ้าหน้าที่ขนส่งเทลโข่งบอก
เมื่อเจ้าหน้าที่อธิบายท่าสอบแต่ละท่า ก็จะมีการสาธิตการขับให้ดู 3 ท่าดังนี้
เทคนิค/วิธีการสอบใบขับขี่ภาคปฏิบัติ ท่าถอยหลังเทียบจอด (ท่าที่ 1)
เทคนิค/วิธีการสอบใบขับขี่ภาคปฏิบัติ ท่าจอดทับเส้น (ท่าที่ 2)
เทคนิค/วิธีการสอบใบขับขี่ภาคปฏิบัติ ถอยหลังตรง (ท่าที่ 3)
**งานเขียนนี้ ถือเป็นวิทยาทานเพื่อให้ทุกคนได้อ่าน โดยห้ามมิให้คัดลอกนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้ในเว็บไซต์อื่น โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีโฆษณา ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งนี้อนุญาตให้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษา โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและชื่อผู้เขียน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องตามลำดับ
(0) วัตถุประสงค์ที่รตจิตรเขียนเรื่องการสอบใบขับขีปี 2555
(1) เอกสารที่ต้องเตรียมไปที่กรมขนส่ง เมื่อจะไปสอบใบขับขี่
(2) ทางไปสนามสอบใบขับขี่ใหม่ กรมขนส่ง ตลิ่งชัน (พื้นที่ 2)
(3) ขั้นตอนรับบัตรคิว ก่อนสอบใบขับขี่
(4) การทดสอบสมรรถนะก่อนสอบใบขับขี่ข้อเขียน
(5) ฟังบรรยายก่อนสอบข้อเขียน
(6) ขั้นตอนการสอบใบขับขี่ข้อเขียน E-Exam
(7) เทคนิคการสอบใบขับขี่ข้อเขียนให้ผ่าน
(8) เวลารับบัตรคิวเพื่อสอบภาคปฏิบัติเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่
(9) บรรยายการสาธิตการสอบภาคปฏิบัติเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่ใหม่
(10) เทคนิค/วิธีการสอบใบขับขี่ภาคปฏิบัติ ท่าถอยหลังเทียบจอด (ท่าที่ 1)
(11) เทคนิค/วิธีการสอบใบขับขี่ภาคปฏิบัติ ท่าจอดทับเส้น (ท่าที่ 2)
(12) เทคนิค/วิธีการสอบใบขับขี่ภาคปฏิบัติ ถอยหลังตรง (ท่าที่ 3)
(13) ป้ายจราจรในสนามสอบใบขับขี่
(14) เทคนิค/วิธีการสอบใบขับขี่ภาคปฏิบัติ ขึ้นสะพาน (เกียร์กระปุก)
(15) การเสียค่าธรรมเนียมเพื่อใบอนุญาตใหม่