เนื่องจากอิเฎลพึ่งเข้าอบรม เรียนรู้การสร้างวัตถุด้วยโปรแกรม Maya ซึ่งเป็นโปรแกรม 3D ตัวหนึ่ง จึงอยากนำความรู้มาแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ผู้อ่านเว็บไซต์ของเรา
การให้ความรู้ เท่ากับการสร้างคน ให้เท่าไรก็ไม่มีวันหมด อีกทั้งยังถือเป็นวิทยาทานอีกด้วย แต่ถ้าใครคัดลอกบทความใด ๆ ก็ตาม เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งเว็บไซต์ที่มีโฆษณา และสื่ออื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลกำไร ผู้นั้นไม่ได้ทำทาน แถมยังผิดศีลข้อ 2 ซึ่งจะถูกตัดมือในขุมนรก
เริ่มเรียนกันไปพร้อม ๆ กับอิเฎลเลย
1. เปิดโปรแกรม Autodesk Maya ขึ้น ชื่อเจ้าของฟังดูคุ้น ๆ ทีแรกก็คิดว่าวิธีจะคล้าย ๆ 3Ds Max เพราะเจ้าของเดียวกัน แต่กลับสร้างความงงเป็นอย่างมากให้กับอิเฎลซึ่งเคยใช้ 3Ds Max คือ ศักยภาพและเครื่องมือต่าง ๆ ของทั้ง 3Ds Max และ Maya จะคล้าย ๆ กัน เพียงแต่ตัวเครื่องมือกลับวางกันคนละทิศคนละทาง
ลองมาดูวิธีการหมุนจอ ย้ายมุมมอง ย้ายมุมกล้องกันก่อน
Alt+คลิกซ้าย คือ หมุนมุมมอง หมุนจอ หรืออาจใช้ Mouse จับมุมของ View Cube แล้วหมุนก็ได้
Alt+คลิกกลาง คือ เลือนซ้าย ขวา บน ล่าง หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Pan
Alt+คลิกขวา คือ Zoom In และ Zoom Out ถ้าจะไม่กด Alt ค้างไว้ ก็ใช้ลูกกลิ้งกลาง Mouse ซูมเอาก็ได้
2. ตั้งค่าก่อนสร้างวัตถุ
– เมื่อจะสร้างวัตถุ ให้ตั้งค่า Menu Bar เป็น Polygons ดูตัวอย่างที่มุมซ้ายบน ของภาพด้านล่าง (Version ที่อิเฎลทำ Screengrab มาให้ดูคือ Maya 2012 ซึ่งอิเฎลไม่แน่ใจว่า Version อื่นจะมีแถบเครื่องมือในบริเวรเดียวกันหรือไม่)
– เมื่อตั้งค่า Menu Bar แล้ว ให้คลิกที่แถบเครื่องมือ Polygon เพื่อดู List ว่าสร้างรูปทรงอะไรได้บ้าง
3. สร้างกล่อง
– ลองคลิกที่รูปกล่อง
– เมื่อคลิกแล้ว Cursor ของ Mouse จะเปลี่ยนไป
– ให้ใช้ Mouse วาดสี่เหลี่ยมลงบน Grid (พื้นที่ตาราง)
– เมื่อลากรูป 4 เหลี่ยมแล้วก็จะเห็นเครื่องหมาย “ดึงขึ้น” ทำให้รูปสี่เหลี่ยมที่พื้นกลายเป็นรูปทรง
4. กำหนดลักษณะที่ต้องการเห็น เวลาทำงาน
หลังจากสร้างกล่องขึ้นมาแล้ว อิเฎลเห็นแต่เส้นขอบ ดูเหมือนว่ากล่องเป็นกล่องใส ๆ บางคนอาจเห็นเป็นกล่องทึบสีเทา ซึ่งลักษณะที่เรามองเห็นวัตถุสามารถเลือกได้ โดยดูที่ View Port บริเวรขอบด้านบนของพื้นที่ทำงาน ให้ลองคลิกกลับไปกลับมาเล่น ๆ ก็จะทราบว่าปุ่มไหนใช้ทำอะไร
5. คำสั่งดัดจุด ไม่ใช่ฤๅษีดัดตน มีขึ้นเพราะ หลายครั้งรูปทรงเลขาคณิตไม่ใช้สิ่งที่เราต้องการสร้างเสมอไป เราอาจอยากได้รูปคน รูปรองเท้า รูปโคมไฟแปลก ๆ ณ ที่นี้จะสอนวิธีการดัดจุด เส้น และ ด้าน ให้ทุกคนฝึกดัดวัตถุบ่อย ๆ จะได้วัตถุสวยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญทั้งสิ้น
เวลานี้ อิเฎลต้องการดัดกล่องให้บิดเบี้ยว มาทำไปพร้อม ๆ กัน
– ก่อนอื่นต้องคลิกที่กล่อง
– ตามด้วยคลิกขวาค้างไว้
– จะมี Menu คำสั่งปรากฏขึ้น
– ลาก Mouse ไปยัง Edge หรือ Vertex หรือ Face
– แล้วค่อยยกนิ้วกลางขึ้น
Vertex คือ ดัดวัตถุโดยเคลื่อนย้ายจุด (มุมกล่อง หรือ ตรงที่เส้นตัดกัน)
Edge คือ ดัดวัตถุโดยการย้ายเส้นขอบ (เส้นรอบ ๆ กล่อง)
Face คือ ดัดวัตถุโดยการเคลื่อนย้ายผิว (แต่ละด้าน หรือ บริเวรระหว่างเส้น)
ทั้ง 3 แบบ อาจเลือกพร้อมกับหลาย ๆ อันก็ได้ เช่น อาจเลือกจุดใดจุดหนึ่งแล้วลางย้ายที่ หรือเลือกหลายจุดก็ได้ เวลาเลือกหลาย ๆ จุด ให้กด Shift ค้างไว้
เมื่อเลือกส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุแล้ว ต้องเคลื่อนย้ายสิ่งที่เลือก มี 3 เครื่องมือ ดังนี้
(อย่ากดค้าง)
กดปุ่ม W คือเคลื่อนย้าย ซ้ายขวา ขึ้นลง
กดปุ่ม E คือหมุน
กดปุ่ม R คือดึง ย่อ หด ขยาย
จำไว้ว่า ต้องเลือกวัตถุ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุก่อนเสมอ จึงจะใช้ 3 เครื่องมือนี้ได้ กรณีเลือกจุด หรือ Vertex จะใช้ E และ R ได้ผลก็ต่อเมื่อเลือก 2 จุดขึ้นไป เพราะจุด ๆ เดียวจะไปหมุนหาอะไร หรือจะไปขยายจุดได้อย่างไร
ถ้าดัดวัตถุจนเป็นที่พอใจแล้ว ให้คลิกขวาค้างไว้เหมือนเดิม แล้วลาก Mouse ไปปล่อยที่คำว่า “Object Mode” ซึ่งหลังจากนี้ เวลาเลือกวัตถุก็จะเลือกได้ทั้งชิ้น กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม (ไม่ได้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง)
รูปด้านล่าง แสดงตัวอย่างของการใช้ปุ่ม W จะมี 3 แกน x,y,z เพื่อให้แม่นยำในการย้าย
รูปด้านล่าง แสดงตัวอย่างของการใช้ปุ่ม E จะหมุนได้ 3 แกนเช่นกัน
6. คำสั่งเพิ่ม Segment (หรือ Subdivisions) ของกล่อง ในกรณีกล่องยังบิดเบียวไม่พอ อยากให้มีการบิดตรงกลาง ๆ บ้าง
กรณียังไม่เคยทำดัดกล่อง แต่คิดไว้ก่อนว่าน่าจะมีหลาย ๆ Segment
– ให้คลิกที่กล่อง
– แล้วมองไปที่แถบเครื่องมือตั้งค่าด้านขวามือ
– คลิกที่ชื่อกล่อง (น่าจะชื่อ PolyCube1)
– แล้วเพิ่ม Subdivisions จาก 1 เป็นจำนวนอื่น ๆ
– ท่านจะเห็นว่ากล่องเหมือนมีลวดลายตารางที่ถี่ขึ้น
กรณีของเราตอนนี้ กรณีที่เราดัดกล่องไปเรียบร้อยแล้ว
– ให้ไปที่ Menu Bar
– เลือก “Edit Mesh”
– ถ้าหาคำสั่งนี้ไม่เจอ แสดงว่า Mode ไม่ได้อยู่ที่ Polygons (อธิบายแล้วในข้อ 1)
– เมือคลิก “Edit Mesh” ที่ Menu Bar แล้ว ให้เลือก Insert Edge Loop Tool
– จะเห็นได้ว่า Cursor ของ Mouse จะกลายเป็นลูกศรขาว ๆ
– ว่าแล้วให้คลิกแบ่งกล่องเป็นหลาย ๆ ส่วนตามต้องการ
– ถ้าตองการเส้นแนวขวาง วาดเส้นขวาง ๆ ลงบนส่วนที่จะแบ่ง
ทำเช่นนี้เพื่อให้มีจุดอ้างอิง หรือ เส้นขอบ หรือ พื้นผิว ที่จะดัดวัตถุได้ละเอียดขึ้น
ดูตัวอย่างว่าดัดวัตถุได้ละเอียดขึ้นเป็นเช่นไร
คราวนี้อิเฎลก็ทำเหมือนเดิม
– โดยคลิกขวาค้างไว้แล้วลาก mouse ไปปล่อยที่ “Face”
– จากนั้นก็ลงมือเคลื่อนย้าย Face ด้วยปุ่ม “W” ตามรูปด้านล่าง
7. Boolean หมายถึง รวม หรือ แยก หรือ ตัดทอนวัตถุ เช่น เอาวัตถุ 2 ชิ้นมาต่อกัน หรือเอามาตัดกัน
ก่อนอื่นต้องมีวัตถุอย่างน้อย 2 ชิ้น เอาเป็นว่า 2 ชิ้นจะง่ายสุด
– อิเฎลสร้างทรงกลม
– แล้วลากทรงกลมนั้นมาเบียดกับสี่เหลี่ยมเบี้ยว ๆ ที่เคยสร้างไว้
– อาจจะลดจำนวน Segment ของทรงกลมให้พอดี ๆ กับ Segment ของสี่เหลี่ยม โดยคลิกที่ชื่อทรงกลมด้านขวามือของหน้าจอ
ถ้าต้องการคำสั่ง Boolean เป็น window เล็ก ๆ ขึ้นมา
– ให้ไปที่ Menu Bar
– เลือก “Mesh”
– แล้วเลือก “Booleans”
– แล้วเลือก “———-”
แต่จะไม่เอาเป็น window เล็ก ๆ ออกมาก็ได้ สามารถใช้เครื่องมือโดยการเลือก Union หรือ Difference หรือ Intersection ได้ทันที
(ก่อนจะใช้คำสั่ง ต้องเลือกวัตถุก่อน โดย เลือก 2 วัตถุ โดยการกด Shift ค้างไว้)
Union หมายถึง เอาวัตถุที่เลือกทั้งหมดมารวมกันเป็นวัตถุเดียว
Difference หมายถึง ตัดวัตถุหนึ่งด้วยอีกวัตถุหนึ่ง โดยวัตถุแรกที่เลือกตอนกด Shiftจะเป็นวัตถุที่เหลืออยู่
Intersection หมายถึง เอาเฉพาะส่วนที่ทับซ้อนกัน
ทำพร้อมกัน
– อิเฎลกด Shift ค้างไว้
– แล้วเลือกกล่อง
– จากนั้นก็เลือกทรงกลม
– จากนั้นก็ปล่อย Shift
– แล้วมาคลิกที่ Difference ในหน้าต่างเล็ก ๆ
ผลลัพธ์ที่ได้หลังจากคลิก Difference รูปสี่เหลี่ยมที่อิเฎลเลือกก่อนทรงกลม จะยังอยู่ โดยส่วนที่หายไปเป็นส่วนที่ทรงกลมกินเข้ามา
8. ใส่สีวัตถุ
– ให้เลือกที่วัตถุ
– แล้วคลิกขวาค้างไว้
– ลาก Mouse ลงมาจนถึงคำว่า “Assign Favorite Material”
– แล้วเลือก Blinn หรืออื่น ๆ
– มองไปทางขวามือ
– ที่แถบแนวตั้ง Attribute Editor
– เลือกแถบแนวนอนที่เป้นชื่อ Material (ใครเลือก Blinn ก็มักจะชื่อแถบ Blinn)
– ใส่สีตามต้องการ Color แปลว่าสี Transparency แปลว่าความโปร่งใส
9. Render หรือ เอาผลงานออกมาเป็นรูปแบบภาพหรือวิดีโอ
– มองที่แถบเครื่องมือด้านบน
– ปุ่มที่เป็นเครื่องหมาย “Cut! Movie เริ่มถ่ายทำหนัง” ที่วงสีแดงไว้ในภาพด้านล่าง
– ปุ่มที่มี 2 จุดด้านหน้า (ปุ่มขวาสุด) คือ Render Settings ไว้ตั้งค่าขนาดภาพหรือขนาด Video
– เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่มที่เป็นป้าย “Cut!” เปล่า ๆ (ด้านซ้ายมือของในวงกลมแดง)
– ตอนนี้จะเห็นผลลัพธ์ออกมา
– สามารถกด File Save ได้ตามปกติ
ถ้าต้องการสร้าง Object ที่ซับซ้อนขึ้น ให้ฝึกดัดวัตถุให้คล้อง ทำไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็ดัดได้เร็ว และดัดได้สวยเอง ตอนแรก ๆ อาจจะงง ๆ ว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง แต่ถ้าชินกัยการทำงานของ Software แล้วก็จะรู้สึกง่ายกว่าปั้นดินน้ำมัน
บทความนี้เขียนเป็นวิทยาทาน ไม่อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ รวมถึงเว็บไซต์ที่มีโฆษณา แม้ว่าผู้ที่คัดลอกจะไม่มีส่วนได้เสียกับเว็บไซต์นั้นก็ตาม
ขั้นตอนการใช้โปรแกรม 3Ds Max สอนฟรีทางเว็บโดย อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช
1. วิธีการสร้างวัตถุใน 3ds Max สำหรับมือใหม่
https://sw-eden.net/2016/03/22/3ds-max-beginner/
2. วิธีการสร้างรูปทรงจากเส้น ใน 3Ds Max
https://sw-eden.net/2016/03/22/extrude-3ds-max/
3. วิธีการทำตัวหนังสือหนาๆ ใน 3Ds Max
https://sw-eden.net/2016/03/22/3ds-text/
4. วิธีการใส่รูป เป็นพื้นผิววัตถุใน 3Ds Max
https://sw-eden.net/2016/03/22/3ds-max-material/
5. วิธีการใช้เครื่อง Mocap (Motion Capture) iPi Recorder AnimaKit
https://sw-eden.net/2016/04/05/mocap-motion-capture/
6. การใส่ไฟล์ Motion Capture ในกระดูก 3Ds Max
https://sw-eden.net/2016/04/02/rigging-motion-capture-mocap/
สุดยอดมากอยากทำเกม
LikeLike
ลงโปรแกรมแล้ว error 1335 ‘maya 2013.cab’… ต้องทำไงคะ
LikeLike
ถึงซื้อแผ่นจากพันทิพ หรือ พาต้ามา
ถ้าใช้ serial จริง ไม่มีปัญหาเลยจ้า
LikeLike
เป็นประโยชน์คับสำหรับผู้เริ่มต้น
LikeLike
เยี่ยมมาก ขอบคุณครับ
LikeLike
เมื่อก่อนผมทำไม่เป็นพอดูปุ๊บก็ทำไม่เป็นเหมือนเิม
LikeLike
Yes! Finally something about หวยออนไลน์.
LikeLike
Pingback: Match Moving คืออะไร? ใช้อะไรทำได้บ้าง? | Sw-Eden.NET