ตะเข็บ วิธีป้องกันอันตราย และการอยู่ร่วมกับตะขาบตัวเล็กอย่างสันติ

ภาพถ่ายตะเข็บโดย สว อิเฎล สงวนลิขสิทธิ์
โพสโดย สว อิเฎล สงวนลิขสิทธิ์ทั้งภาพถ่ายและบทความ

มาเข้าเรื่องกัน อิเฎลไม่เคยพบศัตรูของตะเข็บในห่วงโซ่อาหาร ช่วงหน้าฝน จำนวนตะเข็บจะมีมากมาย จนควบคุมไม่อยู่ และพวกมันส่งกลิ่นหอม โดยเฉพาะเมื่อคนเอามือไปจับ แต่ถ้าบ้านใครมีตะเข็บก็ขออย่าได้กังวล เพราะเมื่อฤดูฝนผ่านไป มันก็จะลดจำนวนลงไปเอง

ตะเข็บรับประทานตะไคร่น้ำเหมือนกิ้งกือสีแดงทั่วไป สัตว์ทั้งสองชนิด Millipede และ Centipedes มีปากเป็นฟันไว้โกยตะไคร่น้ำที่ติดตามก้อนหินหรือกำแพงในรูปแบบเดียวกัน คล้ายคลึงกับฟันของหอยทาก ซึ่งฟันลักษณะนี้จะไม่มีพิษภัยต่อมนุษย์ มันจะไม่ไข่หรือกัดลงไปบนผิวหนังของมนุษย์ แต่ที่มนุษย์เราเจอว่ามีไข่กิ้งกืออยู่ในตัว เพราะเราเป็นแผลที่เท้าและไปเหยียบโดนไข่ของมันในดิน

สรุปแล้วทั้งตะเข็บและกิ้งกือ ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ แต่หลายคนอาจคิดมาก หรืออุปทานว่ามันน่ารังเกียจ (ปล. จริง ๆ มันน่ารักนะ ต้องใช้จิตวิญญาณในการดู)

ภาพถ่ายตะเข็บโดย สว อิเฎล สงวนลิขสิทธิ์

มาถึงวิธีการป้องกันอันตรายให้ตะเข็บ ถ้าพบมันอยู่ในตัวบ้านของคุณ เช่นห้องนอน หรือ ห้องน้ำ อิเฎลแนะนำให้นำกระดาษหรือแผ่นพลาสติก เขี่ยมันไปทิ้งนอกบ้าน เพราะถ้ามันอยู่ในห้องนอนของคุณ มันจะไม่มีอะไรกิน และมันก็จะตายในที่สุด จึงกล่าวได้ว่า ห้องนอนของคุณเป็นศัตรูของมัน

และถ้ามันอยู่ในห้องน้ำ มันจะถูกน้ำท่วมตาย กล่าวคือ อิเฎลได้ค้นพบว่าตะเข็บชอบที่ชื้นแต่ไม่ชอบที่เปียก ขาบาง ๆ ของมันไม่สามารถเดินฝ่าแรงตึงผิวของน้ำออกไปได้ ดังนั้นมีแต่ท่านนั้นแล ที่สามารถทำมหาทานโดยการจับตะเข็บไปปล่อยตามสวนทุก ๆ วัน

วิธีการจับตะเข็บนี้ อิเฎลแนะนำให้ใช้วิธีต้อนขึ้นกระดาษ มากกว่าที่จะใช้มือจับ เพราะทันทีที่อิเฎลทำให้ตะเข็บตกใจ มันจะปล่อยสารกลิ่นหอม (บางคนบอกว่าเหม็นเน่า) ออกมา และมันเหม็นมาก ๆ ดังนั้นทางที่ดี ท่านไม่ควรทำให้มันตกใจ ต้องเขี่ยเบา ๆ ใส่กระดาษและเอาไปเทที่ดิน

ถ้าท่านพบว่ามีตะเข็บอยู่เป็นจำนวนมากในบ้านของท่าน ท่านไม่จำเป็นต้องจับทีละตัว ให้ท่านนำมันใส่ในภาชนะพลาสติกผิวเรียบ มันจะไม่สามารถปียป่ายขึ้นมาได้

สว อิเฎลหวังว่าข้อแนะนำเหล่านี้ จะเป็นส่วนช่วยให้ท่านได้สร้างบุญบารมี ครั้งหนึ่งที่ท่านช่วยตะเข็บ ท่านจะได้บุญ และเมื่อท่านหมั่นทำอย่างสม่ำเสมอ นั่นแหละ คือ บารมี

ภาพถ่ายตะเข็บโดย สว อิเฎล สงวนลิขสิทธิ์

ภาพถ่ายตะเข็บโดย สว อิเฎล สงวนลิขสิทธิ์

ภาพถ่ายตะเข็บโดย สว อิเฎล สงวนลิขสิทธิ์
ภาพถ่ายตะเข็บโดย สว อิเฎล สงวนลิขสิทธิ์

ภาพถ่ายตะเข็บโดย สว อิเฎล สงวนลิขสิทธิ์

ภาพถ่ายตะเข็บโดย สว อิเฎล สงวนลิขสิทธิ์

Advertisement

7 Comments

Filed under Uncategorized

7 responses to “ตะเข็บ วิธีป้องกันอันตราย และการอยู่ร่วมกับตะขาบตัวเล็กอย่างสันติ

  1. ตะเข็บเื้สื้อ

    ไม่ไหว ไม่ไหว!!

    Like

  2. tae

    คือผมมีคำถามครับ คือผมเอากระป๋องพลาสติกมาลองน้ำแอร์แล้วมีผ้าขี้ริ้วอยู่ แล้วไอตัวตะเข็บเนี่ย มันไปอยู่บนผ้าขี้ริ้วที่อยู่ในกระป๋องน้ำ แต่มันอยู่ส่วนที่ไม่ได้จมน้ำ ผมเห็นคิดว่ามันตายแล้ว แล้วผมก็ไม่ได้เก็บกวาดปล่อยไว้หลายวัน จนมาเก็บเอาน้ำไปเททิ้งแล้วเอาฟากระป๋องเขี่ยๆ ตัวตะเข็บว่าจะเอาทิ้งเพราะคิดว่ามันตายแล้วตั้งแต่ครั้งแรกที่เหน เพราะตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็นก็หลายวันมากๆ พอเขี่ยๆไปให้มาอยู่ฝากระป๋อง ปรากฎว่ามันยังไม่ตาย ผมประหลาดใจมาก งงเลยว่า มันยังไม่ตาย แล้วมันอยู่บนผ้าตั้งนานไม่ขยับ ของกินก็ไม่มี ทำไมมันยังรอด อ่ะครับ ?? มหัศจรรย์ ตอนนี้ผมก็เลยเอาไปปล่อยแล้ว ไงก็ขอคำตอบหน่อยครับ??

    Like

    • ไดโนเสาร์เลือดเย็นต้องการอาหารน้อยกว่าไดโนเสาร์เลือดอุ่นสิบเท่า

      Like

  3. rainbownco

    ช่วงนี้มีตะเข็บมาไข่และโตอยู่ในกระถางผักเต็มไปหมดเลยค่ะ แต่ก็ไม่อยากทำบาปกับสัตว์ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร เลยปล่อยไว้ให้อยู่ในดินอย่างนั้น เพราะมันก็ไม่ได้ทำให้ผักไม่โตแต่อย่างใด พอได้มาอ่านว่าเมื่อพ้นหน้าฝนไปแล้วจะลดจำนวนลงก็โล่งใจค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ มีประโยชน์นะคะ 🙂

    Like

  4. ขนิษฐา แซ่ดค้ว

    แล้วมันกัดไหม

    Like

  5. Pingback: รด. หญิง สอบยังไง เรียนอะไร มีคำตอบ | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.