กังหันเพื่อพลังงานลม
สงวนลิขสิทธิ์โดย © รตจิตร
พลังงานลมที่ได้เพื่อทดแทนไฟฟ้า เพื่อการสูบน้ำ
ต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์มาจากอ้อย ส่วนของเสียจากการผลิตน้ำตาลคือ กากน้ำตาล นำมาผลิต gasohol และ Bio Diesel แทน Diesel มีผู้ถวายบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ และถวายบ้านพลังงานลมเพื่อการทดลองใช้
ในโครงการต่าง ๆ ณ สวนจิตรลดาแห่งนี้
– โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา
– โรงบดแกลบ
เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทั้ง เศษ เปลือกข้าว หรือแกลบ นำมาบดอัด ใช้เป็นเชื่อเพลิงแห้งได้
– โรงน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์
– โรงน้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง
โครงการนี้เพิ่งได้รับเกียรติบัตร รางวัลพัฒนาการดีเด่น จากการประกวดโรงงานที่จัดทำกิจกรรม 5 ส ประจำปี 2553 เพื่อช่วยรับซื้อผักผลไม้จากเกษตรกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงราคาตกต่ำ
– โรงผลไม้อบแห้ง โรงขนมอบ
ด้านหน้าของอาคารผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้ง ซึ่งสร้างปี 2543 แสดง Production Flow ให้เข้าใจได้ง่าย วันที่รตจิตรเข้าชมโครงการ มีชาวบ้านมาฝึกทำ คุกกี้เนยรวมมิตร เพื่อการทำมาเลี้ยงชีพของตน ยิ่งช่วงนี้ใกล้เทศกาลขึ้นปีใหม่ด้วย โดยทางโครงการ ฯ เป็นผู้จัดเตรียมวัตถุดิบ และวัสดุอุปกรณ์ ฟรีค่ะ
– งานน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์
มีรูปแสดงขั้นตอนการผลิตน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ ไว้ด้านหน้า แอบเห็นตัวหนังสือด้านล่าง ว่าสนับสนุนโดย บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) อีกแล้ว สมแล้วที่เติมน้ำมันบางจากมาไม่รู้กี่ปี ไม่รู้กี่คัน คือรถยนต์ที่บ้านทุกคัน ไม่ว่าคันที่อายุ 8 ปี คันเก่า ที่อายุ 7 ปี หรือคันใหม่แค่ 6 เดือน ก็อุดหนุนบางจากแก๊สโซฮอล์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแก๊สโซฮอล์ 91 หรือ 95 อาคารน้ำผลไม้สร้างในปี 2532 และใกล้ ๆ กันมีพระบรมฉายาลักษณ์น่ารัก ๆ ของสมเด็จพระเทพรัตนสุดา รตจิตรจึงถ่ายรูปเก็บมาฝากให้เพื่อน ๆ ดูกันด้วยจ้า
– งานผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง
ด้านหน้าบนจะมี poster เขียนว่า น้ำผึ้งแท้ ดีแต่สุขภาพ ช่วยเหลือเกษตรกรไทย รตจิตร ยังไม่เคยเห็นน้ำผึ้งที่ไหน อร่อย แต่ราคาถูก มากแค่ 170 บาท แต่ถ้าซื้อที่ร้านตัวแทนจัดจำหน่าย ราคาอยู่ที่ 180 บาท ก็ยัง Okay นะคะ ขวดก็สวยมาก เป็นของขวัญจัดกระเช้าปีใหม่ได้สบาย ๆ เลยค่ะ
ทางโครงการ ฯ รับซื้อน้ำผึ้งจากสหกรณ์ผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเชียงใหม่ มีบอร์ดแสดงสายการผลิตให้เห็นอย่างละเอียด บอร์ดนี้สนับสนุนโดย บริษัท แป้งข้าวสาลีไทยมาร์เก็ตติ้ง จำกัด
– อาคารวิจัยและพัฒนา 1
อาคารนี้สร้างปี 2530 พวกเรา สมาชิกบางจากแก๊สโซฮอล์คลับ ได้แต่เดินผ่านค่ะ แต่ถ้ามีโอกาสเข้าไปชั่วเวลาไม่กี่นาที ก็คงไม่สามารถทำอะไรได้มาก เวลาก็น้อยเหลือเกิน รตจิตร
– โรงปุ๋ยอินทรีย์ และ งานการผลิตน้ำลูกหม่อน น้ำมะขามป้อม กลุ่มเราก็ไม่ได้เข้าไปดูค่ะเพราะเวลาจำกัดจริง ๆ รตจิตรได้แต่เอารูปมาฝากให้เพื่อน ๆ ดูกันนะคะ
– โรงหล่อเทียนหลวง
คุณสาวิตรีชี้ให้เห็นความต่างของเทียนที่ปั้นด้วยมือ และ Mole เล่าติดตลกตามที่ในหลวงทรงมีรับสั่งว่า “…เทียนที่ปั้นด้วยมือนอบน้อมไป พอเจอแสงแดด ก็อ่อนโย้ลง…”
การหล่อเทียน เอาจากรังผึ้งมาหล่อที่จุดหลอมเหลว โดยเคี่ยวขี้ผึ้งมาลง Mole ส่วนแม่พิมพ์ เทียนพรรษาพระราชทาน (ลายก้านแย่ง) เป็นปูนผสมไฟเบอร์กลาส รตจิตรยิ่งดู ยิ่งจด ยิ่งถ่ายรูป ยิ่งเขียน ยิ่งเห็นถึงพระอัจฉริยะของในหลวง หลายรอบด้านจริง ๆ ค่ะ โครงการรับซื้อขี้ผึ้งจากชาวบ้าน และลำเลียวเข้าโรงหล่อ
Toffee นม หรือนมอัดเม็ดใช้ส่วนผสมของนมผง ~70% น้ำตาลไอซิ่ง ~29% เกลือ ~1% การผลิตทำจากนมผงโดยถ้าวันนี้ผลิตนมผง พรุ่งนี้ก็นำไปผลิตนมอัดเม็ดทันที
อ่านเพิ่มเติม
♦ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา Royal Chitralada Project
♦ คุณสุวิตรี สุมาลา เจ้าหน้าที่นำชมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
♦ ระหว่างทางไปห้องชม วีดิทัศน์ ณ ศาลามหามงคล
♦ ณ ศาลามหามงคล
♦ เนื้อหาจากการดูวีดิทัศน์ และการฟังบรรยาย
♦ ตัวอย่างโครงการต่าง ๆ ในโครงการสวนจิตรลดา
♦ โรงกระดาษสา (Sa Paper)
♦ โครงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง
♦ โรงเพาะเห็ดหลินจือ Lucidum Ganoderma
♦ กังหันเพื่อพลังงานลม\
♦ อื่น ๆ จากการฟังบรรยายโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
สงวนลิขสิทธิ์โดย © รตจิตร
ไปชมมาเมื่อวันที่ 20 มีนาคมค่ะ กำลังจะลงบล็อก ขอคัดลอกพระราชดำรัสเรื่องเทียนไปลงที่บล็อกนะคะ ขอบคุณค่ะ
LikeLike
ควรระบุด้วยค่ะ ว่าพระราชดำรัสของในหลวง คัดลอกมาจาก sw-eden.net
LikeLike