อาจารย์ ประสาร แสงไพบูลย์
สงวนลิขสิทธิ์โดย © รตจิตร
ล้อเคลื่อน 7.45 น. มาถึงที่ นัดหมาย อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 11 น. รตจิตร ขอเรียก อาจารย์ ประสาร เองว่าเป็นปรมาจารย์ด้านปะการัง ถ้าจำไม่ผิด อาจารย์เริ่มปลูกตั้งแต่วันที่ 14/2/2538 และก็ทำมาอย่างต่อเนื่องด้วย ในรูป อาจารย์ พราว ถ่ายกับ อาจารย์ ประสาร ที่เวียนมาเจอะเจอกันใหม่หลังจากที่เคยมาจิตอาสาเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ประมาณปี 2001 หรือ 2002 วันนั้นผู้ช่วยของอ. ประสาร ชื่อครูพจน์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในวันที่พวกเราทัวร์ The Body Shop มาร่วมเป็นจิตอาสาปลูกปะการังชายฝั่ง เพราะอาจารย์ ประสาร ต้องต้อนรับแขกถึง 180 คนที่มาจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อย่างไรก็ตาม อาจารย์ ประสาร ก็ยังสละเวลามาบรรยาย อธิบาย พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ซักถาม ตลอดจนไปรอส่งพวกเราหลังจากที่ปลูกปะการังกันเสร็จแล้ว อาจารย์ ประสาร เล่าถึงประสบการณ์ในอดีตให้ฟัง ในที่นี้ รตจิตรขอสรุปสั้น ๆ ดังนี้
ปี 2538 งานวิจัยปลูกปะการังของทีมงานอาจารย์ ประสาร ได้รางวัลที่ 1 ในการประกวด Think Earth จากผู้ส่งโครงการเข้าประกวดมากกว่า 70 โครงการ ทั้ง ๆ ที่สมัยก่อนนั้น อาจารย์ ประสารทำงานวิจัยแบบแอบทำ เพราะถือว่าปะการังเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่ง
เรือลากแคระ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำลายปะการัง เพราะการขูด ทั้งกาลปังหา และ ปะการัง แต่เรือลากเดี่ยว ก็ขูดหน้าดินในทะเลไปหมด
ความรู้เกี่ยวกับปะการัง
ปะการังเป็นสัตว์มีหนวด 6 เส้น ตัวปะการังสร้างหินปูน เป็นบ้านของพวกมัน สาหร่ายที่เกาะตามปะการัง จะช่วยในการสังเคราะห์แสง บริเวณปะการังจึงเป็นที่ที่สัตว์ทะเลต่าง ๆ มาอาศัยอยู่ นอกจากนี้แนวปะการังสำคัญมาก เพราะช่วยในเรื่องระบบนิเวศทางทะเลที่สามารถป้องกันการกระแทกของคลื่นยักษ์ในทะเลได้เป็นอย่างดี
ปะการังสามารถอยู่ในทะเลได้ตรงระดับที่อุณหภูมิ 20-30๐C ท้องทะเลทั่วไปลึกประมาณ 15-20 เมตร สำหรับอ่าวไทยถือว่าลึกสุดคือ 76 เมตร ปัจจุบันตามทะเลในประเทศไทยเหลือแนวปะการังที่ยังดีอยู่ประมาณ 50-60% จึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์ปลูก และฟื้นฟูปะการัง แม้ว่าถ้าเราเจอมันแตกหักก็ไม่เป็นไร ไม่จำเป็นต้องเก็บมาเป็นเครื่องประดับ
ภาวะปะการัง ซึ่งปกติสีม่วง กลายเป็นสีชมพู ไม่ใช่ว่าสวยขึ้น แต่มันบ่งบอกว่าแย่ลง และถึงแย่ที่สุดคือกลายเป็นสีขาว หรือเรียกว่าภาวะฟอกขาว หรือแม้แต่ปะการังสีทอง ซึ่งก็เป็นอาการป่วยของปะการังอีกอาการหนึ่ง ที่สะท้อนแสงอาทิตย์จนเห็นเป็นสีทอง ทั้งหมดนี้อาจเกิดจากธรรมชาติที่ร้อนขึ้น หรือแม้แต่จากฝีมือมนุษย์
การฟื้นฟูปะการัง
สมเด็จพระเทพรัตนสุดา สยามกุมารี ได้ทรงร่วมโครงการฟื้นฟูปะการัง โดยมีป้าย Stainless หมายเลข 1 อยู่ในพระแท่นซึ่งเห็นกรง 8 เหลี่ยม แต่วันที่ 11/1/2553 น้ำร้อนกว่า 30๐C และ มิ.ย. ในปีเดียวกันอุณหภูมิน้ำขึ้นสูงถึง 37๐C ทำให้วันที่ 25/5/2553 ปะการังของพระองค์เริ่มฟอกขาว คือใกล้ตาย วันที่ 6/6/2553 จึงต้องอัญเชิญพระแท่น เพื่อปลูกถ่ายเนื้อเยื่อมีชีวิตลงปะการังของพระองค์
อาจารย์ ประสาร ไม่ค่อยชื่นชอบการปลูกปะการังเทียมเท่าใดนัก วันนี้เราจึงปลูกกันจริง โดยนำกิ่งพันธุ์จากแม่พันธุ์ปะการัง มาปลูกบนท่อ PVC ผ่ากลาง เพื่อเป็นช่องเสียบปะการัง และขันนอตให้แน่น แต่ไม่ถึงกับทำให้ปะการังแตก ปะการังที่นำขึ้นมาใส่ท่อ PVC ควรใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที เมื่อวางในน้ำทะเลแล้ว จะมีทุ่นวางด้านหน้าเพื่อป้องกันแนวปะการัง
บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม ในการฟื้นฟูปะการัง และได้เคยจัดกิจกรรมปลูกปะการัง 80,000 กิ่ง เป็นโครงการเพื่อล้นเกล้า ที่ เกาะทะลุ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
อ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมที่
♦ บทนำจิตอาสาปลูกปะการังชายฝั่ง
♦ ดำน้ำแบบ Snorkeling ปลูกปะการัง
♦ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกองทัพเรือ
สงวนลิขสิทธิ์โดย © รตจิตร
ขอชื่นชมจากใจจริงครับ ที่ทำกิจกรรมดีๆ แบบนี้……….
LikeLike
ขอบคุณนะจ๊ะที่มีคนเป็นกำลังใจให้
ทำมาตลอด และจะทำต่อไป
LikeLike