สว อิเฎล มักพบว่านักเขียนแปลประวัติศาสตร์ไทยมักจะเขียนว่า เมงเบง (Min Bin) เป็นพระราชาที่ชาญฉลาดมากที่มีวิธีสงบศึกกับตะเบงชะเวตี้โดยมอบเครื่องราชบรรณาการ แต่สำหรับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว พระราชายะไข่มักจะปรีชาสามารถเสมอ โดยเปรียบว่า บุเรงนองรบเก่งแค่ทางบก แต่พระราชายะไข่รบเก่งทางน้ำ รู้กว้างขวาง ถึงอินเดีย มีกองทัพเรือที่ยิ่งใหญ่
11 มกราคม ค.ศ. 1554 หรือ พ.ศ. 2097 เป็นวันสวรรณคตของ เมงเบง
วันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1531 หรือ พ.ศ. 2074 เป็นวันขึ้นครองราชย์ของ เมงเบง (Min Bin’s Coronation Day)
เมงเบง คือ พระราชาแคว้นยะไข่ (Arakan) ซึ่งช่วยเมืองแปรรบกับตะเบงชะเวตี้ทางน้ำ และรบกับบุเรงนองทางบก และหลังจากเสร็จสงครามเมืองแปร (Prome) ตะเบงชะเวตี้ได้ยกทัพเรือไปรบยะไข่ แต่อยุธยามาตีชายแดนมอญเสียก่อน เมงเบงจึงถวายเครื่องราชบรรณาการแก่ตะเบงชะเวตี้ เป็นการเลิกลากันด้วยดี
เมงเบง ถือว่าเป็นพระราชาที่ได้รับการยกย่องว่าฉลาดมากที่เลือกวิธีหย่าศึกเช่นนั้น และเมืองยะไข่เอง ก็เป็นเมืองที่มีเกียรติ ได้รับยกย่องว่า แม้แต่บุเรงนองยังสู้ไม่ได้ เพราะยะไข่รอบรู้กว้างขวางทั่วทะเล
© สงวนลิขสิทธิ์ : สว อิเฎล พ.ศ.2557
เดือนกุมภาพันธ์นี้ยังไงก็เป็นเดือนเกิดของเมงเบง พระราชาอารกัน ที่ถ้าใครติดตามอ่าน Post ของสว อิเฎล ในเพจ Black Tongue นี้จะทราบว่าหยุดรบกับตะเบงชะเวตี้โดยมอบเครื่องราชบรรณาการให้ ณ วันนั้น ถ้าเมงเบงตัดสินใจรบต่อ ตะเบงชะเวตี้อาจจะต้องเหนื่อยกับการไปรบเอาเมืองคืนจากอยุธยา ซึ่ง ณ ขณะนั้นเดินทัพมายึดเมืองทวาย ที่ชายแดนได้แล้ว
อ่าน ๆ ดูคิดถึงสมัยพระยาละแวกตีท้ายครัวมาก ๆ
ความจริงคนไทยเกลียดพระยาละแวกมากเป็นทวีคูณอาจเป็นเพราะเวลาเราเรียกพระราชา เราเรียกตามชื่อเมือง เราจึงเรียกพระราชาหลายองค์ด้วยชื่อเดียวกัน และชื่อ “พระยาละแวก” นี้ ได้มาตีท้ายครัวของฝ่ายไทยเราถึง 2 ครั้ง ไทยเราเกลียดเขาถึงขนาดบอกว่าพระนเรศวรเอาเลือดมาล้างฝ่าพระบาท ทั้ง ๆ ที่ความจริงเป็นไปไม่ได้ที่กษัตริย์จะเหยียดหยามเลือดกษัตริย์ได้ถึงเพียงนั้น
*ธงอารกัน แดเดือนเกิดของเมงเบง พระราชาอารกัน ร่วมสมัยกับตะเบงชะเวตี้
© สงวนลิขสิทธิ์ : สว อิเฎล พ.ศ.2557
เมงเบง เกิดอยู่ในเชื้อพระวงศ์ เป็นลูกของสนมเจ้าชาย ซึ่งพระราชบิดาของเจ้าชาย มีลูกหลานมาก ก่อนที่เมงเบงจะขึ้นได้ขึ้นครองราชย์ มีการแก่งแยงราชสมบัติกัน เมงเบงวางแผ่นกว่า 10 ปี เพื่อกระทำการสำเร็จ
วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์แรกของชาวพิว (พยู) และวันที่ 25 มีนาคม เป็นวันครบรอบการก่อนตั้งราชวงศ์ที่ 2 ของชาวพิว
พิว หรือ พยู คือสถานที่เดียวกับเมืองแปร (Prome) แต่อยู่มาก่อน วันนี้สว อิเฎลจึงนำภาพเจ้าหญิงชาวแปรในจินตนาการมาให้ชม เป็นเจ้าหญิงคนที่แต่งงานกับเมงเบง พระราชายะไข่