ถาม เอ๋ ทำไมวันมาฆบูชาจึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ทั้ง ๆ ที่เราเรียนมา วันนี้ตรงกับ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ???
ตอบ เดือนที่เรานับวันสำคัญแบบไทย ๆ มาจาก Lunar calendar ทีพม่าเรียกว่า Burmese Era ที่พม่า เราจะนับเดือนตามจันทรคติ และนับปีตามสุริยคติ
ปีที่เรา ๆ ท่าน ๆ ใช้กันในปัจจุบัน นับเริ่มต้นใกล้ ๆ กับวันที่พระอาทิตย์ใกล้กับโลกมากที่สุด (ช่วง 3-4 มกราคม) และใกล้กับวัน solstice คือวันที่ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด (ช่วง 21-22 ธันวาคม) ใกล้คริสมาสต์ ซึ่งจริง ๆ แล้ววันเกิดของพระเยซูไม่ใช่วันดังกล่าว แต่วันนั้นเป็นวันฉลองสำหรับดวงอาทิตย์ใหม่ คือ เวลากลางวันที่สั่นลง ๆ ได้เริ่มยาวขึ้น ๆ อีกครั้ง
© สงวนลิขสิทธิ์ : สว อิเฎล พ.ศ.2557
วันปีใหม่พม่า เป็นวันเดียวกับวันปีใหม่ไทย เทศกาลต่าง ๆ ใช้นับตามจันทรคติของไทย หนังสืิอบางเล่มว่า ปีไทยและปีพม่าคลาดเคลื่อนกัน 1 ปี แต่มาตอนนี้ คนรุ่นใหม่จะไม่มีปัญหาเรื่องดังกล่าวในการศึกษาประวัติศาสตร์
ถ้าใครมีโอกาสได้ไปเมืองมอญ จังหวัดใดก็ได้ จะพบว่าเขาจัด “เทศกาลรามัญ” ในช่วงเดียวกับที่เราเรียกว่า “สงกรานต์”
พระนางสุรัสวดี ชายาของพระพรหม บทหลังหงส์มอญ (hinthar || hamsa)
ถ้าใครยังจำได้ เมื่อหลายปีก่อนชาวโลกพบว่าบนดวงจันทร์มีน้ำ ดินที่เราเห็นเป็นดินเปียกชุ่ม และก่อนที่ สว อิเฎล จะเล่าเรื่องการนับวันเกิดท่านตะเบงชะเวตี้ให้ฟัง อยากให้ทำความเข้าใจเรื่องข้างขึ้น-ข้างแรมเป็นภาษาอังกฤษ
ถ้าเราอ่านประวัติศาสตร์ และพบคำว่า..
1st Waxing แปลว่า ขึ้น 1 ค่ำ
15th Waxing แปลว่า ขึ้น 15 ค่ำ (เต็มดวง)
1st Waning แปลว่า แรม 1 ค่ำ
14th Waning แปลว่า แรม 14 ค่ำ (เดือนมืด)
เดือนของพม่า บางเดือนจะมี 14th บางเดือนจะมี 15th Waning
© สงวนลิขสิทธิ์ : สว อิเฎล พ.ศ.2557
พระเจ้าตะเบงชะเวตี้สวรรณคตเมื่อ แรม 1 ค่ำเดือน Kason (เดือนของพม่า มี 30 วัน) เป็นวันครบรอบวันเกิด
ถ้าเรา google เอา จะพบว่า
แรม 1 ค่ำเดือน Kason ปี พ.ศ. 2059 คือวันที่ 16 เมษายน (เกิด)
แรม 1 ค่ำเดือน Kason ปี พ.ศ. 2093 คือวันที่ 30 เมษายน (ตาย)
แต่เมื่อ สว อิเฎล เข้า iPad App : GoSkyWatchIP
พบว่าวันที่ 16/4/2059 และ 30/4/2093 ไม่ใช่แรม 1 ค่ำ
แต่ทั้ง 2 วัน เป็นวันขึ้น 14 ค่ำ
อ. ศุภฤกษ์เคยบอกว่าปฏิทินจัทรคติของไทยเหลื่อมกับของสากลอยู่ 1 วัน แต่วันเกิดและวันตายของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมถึง 2 วัน
ภาพ Screenshot จาก iPad App : GoSkyWatchIP
วันพระราชสมภพ และวันสวรรณคตของตะเบงชะเวตี้
ดวงจันทร์เป็นวันขึ้น 14 ค่ำ ไม่ตรงกับวันตามจันทรคติที่เป็น แรม 1 ค่ำ
© สงวนลิขสิทธิ์ : สว อิเฎล พ.ศ.2557
*หากต้องการความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการนับวันทางจันทรคติ ให้อ่านบทความของ พระพรหมคุณาภรณ์(ป. อ. ปยุตฺโต)
www.watnyanaves.net/newweb/uploads/File/news/NewsY9V1jun55.pdf
Pingback: บทสัมภาษณ์อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช โดย คุณอ้อม | Sw-Eden.NET
Pingback: วัดเขตบางใหญ่บางกรวยอยู่ในสังคมมออนไลน์ด้วยหรือ | Sw-Eden.NET