ทฤษฎีการให้เหตุผล Attribution Theory

Attribution Theory แปลตรงตัวตามศัพท์ว่า ทฤษฎีการให้เหตุผล ผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้ คือ นาย Fritz Heider

อ้างอิงบทความนี้ Arunrangsiwed, P. (2014). ทฤษฎีการให้เหตุผล Attribution Theory (in Thai). Retrieved from https://sw-eden.net/2014/03/10/attribution-theory/

การตัดสินใจ และการคาดเดาของคนทั่วไป มักได้รับอิทธิพลมาจาก เหตุการณ์ภายนอก, ประสบการณ์, นิสัย, จุดมุ่งหมายของแต่ละคน, ความชอบ, ที่ทำงาน หรือโรงเรียน หรือกลุ่มที่สังกัด, ความจำเป็น และ การสัญญา การตัดสินใจส่วนใหญ่ของคนมักจะตัดสินใจและคาดเดาโดยใช้อุปนิสัยของตน และเหตุการณ์ประกอบกัน

สว อิเฎล ทฤษฎี การสื่อสาร

ตัวอย่างเช่น สว อิเฎล พบว่านักศึกษาห้องเรียน ๓ มักจะทำงานช้ากว่านักศึกษาห้องเรียน ๔ เสมอ และผลลัพธ์ออกมาคือ งานของห้องเรียน ๔ มีคุณภาพดีกว่าห้องเรียน ๓ ; อยู่มาวันหนึ่ง ห้องเรียน ๔ ทำงานได้ช้ากว่าห้องเรียน ๓ และผลงานออกมาสู้ห้องเรียน ๓ ไม่ได้ การนี้ทำให้ สว อิเฎล เชื่อว่าในคาบเรียนนั้น ห้องเรียน ๔ ไม่ตั้งใจทำงาน ทั้ง ๆ ที่ห้องเรียน ๔ ให้เหตุผลว่า งานนี้ไม่เหมาะกับพวกเขาเลยจริง ๆ และเป็นงานที่พวกเขาไม่ถนัดสุด ๆ แต่ สว อิเฎล ก็ไม่ฟัง

จากตัวอย่าง สว อิเฎล ตัดสินนักศึกษาห้อง ๔ จากอารมณ์ และความคิดของตนเอง ที่ได้มาจากประสบการณ์ที่เคยรับรู้มาจากคาบเรียนก่อน ๆ โดยไม่ทราบความจริงว่า นักเรียนห้อง ๓ อาจคุ้นเคยกับงานชิ้นดังกล่าวมากกว่าห้อง ๔ เพราะเคยเรียนมาก่อนในวิชาอื่น เป็นต้น

Stephen W. Littlejohn และ Karen A. Foss อธิบาย Attribution Theory ในหนังสือ Theories of Human Communication ไว้ว่า คนเรามักจะตำหนิคนอื่นเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับพวกเขา แต่มักจะตำหนิสิ่งแวดล้อม/สถานการณ์ เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกันตนเอง

สว อิเฎล ทฤษฎี การสื่อสาร

คำถาม: ตอนจบของภาพยนตร์บางเรื่อง เช่น The Mist, Saw, Drag Me to Hell ทำให้ผู้ชมหงุดหงิด เพราะอะไร ให้อธิบายเทียบกับ Attribution Theory

บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร และโมเดล
ทฤษฎีการพิจารณาก่อนเชื่อ Elaboration Likelihood Theory และทฤษฎีแรงจูงใจ
โมเดลแสดงแบบแผนระบบการคิด Heuristic-Systematic Model
ทฤษฎีการให้เหตุผล Attribution Theory
ทฤษฎีปัญหาและทฤษฎีการบูรณาการ Problematic-Integration Theory
ความไม่แน่ใจ หลังจากเกิดวิกฤต Crisis
นิยายธรรมนิเทศศาสตร์ เรื่อง “ไอ้ปื๊ด” โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
การเข้าใจแนวคิดผิด ในการสื่อสารในภาวะวิกฤต (Misconceptions of Crisis Communication)

13 Comments

Filed under Communication

13 responses to “ทฤษฎีการให้เหตุผล Attribution Theory

  1. 53123311054

    ขอยกตัวอย่างที่หนังเรื่อง Ghost rider มีกระแสมากมายกับหนังเรื่องนี้ ที่ทำให้ทักคนดูชื่่นชม และ หงุดหงิดกับตอนจบ หรือ เนื้อเรื่องของเรื่องดังกล่าว

    ในมุมมองของผู้ที่ชอบ ก็ รู้สึกว่ามีเอฟเฟ็ค ที่สวยงาม อลังการ และมีความแปลกใหม่ของ ตัวละคร ที่เป็นผีในเวลากลางคืน ขี่ช๊อปเปอร์ ต่อสู้กับเหล่าปีศาจ เวลากลางวันเป็นนักซิ่งรถผาดโผนชื่อดัง ด้วยเนื้อเรื่องที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน จึงมีผู้ชมที่ชอบหนังเรื่องนี้ส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่ชอบอะไรที่ ไม่ซับซ้อน ลึกซึ้งมากนัก จึงทำให้หนังเรื่องนี้ ดูสบายๆ เน้นดูแอคชั่น เอฟเฟ็ค และการต่อสู้ของเหล่าร้ายต่างๆ ของฮีโร่พันธ์ดุตัวนี้

    ส่วนในมุมมองของผู้ที่รู้สึกผิดหวัง หงุดหงิดกับหนังเรื่องนี้ก็มีอยู่ไม่น้อยเลย อาจเพราะด้วยสาเหตุ หนังเรื่องนี้ มีการดำเนินเรื่องนี้ เรียบง่าย ตัวร้ายตายง่ายๆ ฉากสู้มีน้อย ช่วยให้รู้สึกเบื่อ ตัวหัวหน้าปีศาจก็ตายง่ายดายเลยทำให้รู้สึกผิดหวังกับหนังเรื่องดังกล่าว ทำให้หนังเรื่องนี้ มีการวิพากวิจารณ์อยู่มาก มิใช้น้อยกับเรื่องเรทติ่งความหน้าดูของหนังเรื่องนี้ที่ออกมาน้อย

    จากการกล่าวมาของทั้งสอง แบบที่คนรู้สึกกับหนังเรื่องทำให้รู้ว่า บุคคลส่วนใหญ่นั้น อาจจะเอาอุปนิสัยส่วนตัว ความรู้สึกส่วนตัว ความคิดเห็นส่วนตัว มาเป็นเครืองตัดสินกับสิ่งต่างๆ ที่ตัวเองได้พบเจอ ประสบกับเหตุการณ์นั้นๆ หรือได้ยินได้รับฟังมา ไปในทางที่ตัวเองคิดเอง ตัดสินเองว่า แบบนี้สิถูก แบบนี้สิใช่ เลยเป็นเหตุให้เกิดความคิดที่แตกต่างมากมาย

    Like

  2. ฮอฟแมนเป็นคนเขียนจดหมายถึงอแมนดาให้ฆ่าลินน์ ฮอฟแมนรู้ความลับของอแมนดาเรื่องที่อแมนดาเป็นหนึ่งในคนที่ทำให้จิลแท้งลูก ตอนนั้นอแมนดาเป็นแฟนกับซีซิลขี้ยาที่บุกคลีนิคจิลจนทำให้จิลแท้งลูก ตัดมาที่สองแม่ลูกตรงนี้หนังหักมุมจริงๆแล้วสองคนนี้คือครอบครัวของฮาโรลด์ แอ็บบอทที่ตายไปเพราะถูกวิลเลียมปฏิเสธค่ารักษา ทั้งคู่มีสิทธิ์ตัดสินใจว่าจะเลือกให้วิลเลียมมีชีวิตอยู่หรือตาย(ตั้งแต่แรกกลไลนั้นสำหรับวิลเลียมไม่ใช่สองแม่ลูก) เบรนท์เลือกสับสวิทซ์ให้วิลเลียมตายกลไกเริ่มทำงานวิลเลียมตาย ส่วนพาเมลานักข่าวที่ถูกจับมาก็คือน้องสาวของวิลเลียมไม่รอดเหมือนกัน จิลตามมาแล้วจับฮอฟแมนใส่กับดักฉีกขากรรไกร
    สรุปคือตอนจะจบมันยังค้างคาใจเป็นอย่างมากว่าจะมีใครไปทำหน้าที่แทนฮอฟแมนเพราะฮอฟแมนตายแล้ว

    Like

  3. วรรธนะ 57123311007

    The mist คือตัวละครหลักเชื่อตัวเองหมดหนทางไม่ต่อ ไม่มีทางออกแล้ว จะทำยังไงก็คงออกจากสถานการณ์นั้นๆไม่ได้ จึงได้ตัดสินใจ ยิงครอบครัวของตนเองที่ละคนๆ ซึ่งคนดูก็เข้าใจได้ แต่ว่าก็เกิดเหตุการณ์หักมุมขึ้น เมื่อมีทีมช่วยเหลือ ได้เข้ามาถึง และ ช่วยทุกคนได้สำเร็จ เพียงแต่ว่าตัวละครหลักได้ฆ่าครอบครัวไปแล้วจนเหลือแค่ตนเอง คนจึงไม่พอใจที่ ทำไมตัวละครหลักไม่พอให้นานกว่านี้ล่ะ ทำไมถึงทำแบบนี้โดยที่ไม่เข้าใจว่าถ้าอยู่ในสถานการณ์นั้่นจริงๆจะเป็นยังไง

    Like

  4. จักรกฤษ หลักทอง 57123311039

    เรื่อง saw ตามชื่อเรื่องก็แปลอยู่แล้วว่า เลื่อย ซึ่งหมายถึง การฆาตกรรมที่สยดสยองและน่าขนลุก แบบการตายผิดธรรมชาติ ซึ่งเนื้อเรื่องในทุกๆภาคก็คาดเดาได้เลยว่าจะต้องมีการตายที่ผิดและแปลกแหวกแนวเอามากๆ แต่ตอนท้ายสุดก็ไม่ได้ทำให้ผู้ชมหงุดหงิดแต่อย่างใด เพียงแต่ทำเพื่อให้ผู้ชมลุ้นระทึกและคอยติดตามภาคต่อๆไป ซึ่งก็แน่นอนเมื่อมีภาคต่อ หนังก็จะมักจะเชื่อมเรื่องในแต่ล่ะภาคเข้าด้วยกันด้วยเหตุผลเพราะ แค่ให้คนดิ้นรนเอาชีวิตรอด อยากดูความทรมาณก่อนที่ตัว saw คนคิดเกมจะตายด้วยโรคมะเร็ง แล้วมีคนมีสืบทอดเจตนารมบ้าๆ ต่อเท่านั้นเอง

    Like

  5. Sitthichai Boonthos

    เรื่อง Drag Me to Hell หนังเรื่องนี้เป็นหนังแนวสยองขวัญสั่นประสาท ซึ่งเรื่องเกิดจากนางเอกเป็นพนักงานปล่อยกู้แล้วได้มาพบกับหญิงชราท่าทางแปลกๆที่เข้ามาต่อสัญญาเงินกู้บ้านของหญิงชราแต่นางเอกปฏิเสธการต่อสัญญาจึงทำให้หญิงชราโกรธแค้นจึงทำให้หญิงชราสาปนางเอกให้ถูกลากลงนรกภายใน3วัน ซึ่งตั้งแต่ต้นจนจบคนดูจะรู้สึกสยองแล้วก็รู้สึกสนุกควบคู่กันไป

    57123311049

    Like

    • Sitthichai Boonthos

      ต่อ* ซึ่งหนังเรื่องนี้มีฉากที่สยองหลายฉากและทำให้ยากต่อการเดา จึงทำให้หนังสนุกมากขึ้น

      Like

  6. 57123311028 Am

    เรื่องของ SAW ทั้งๆที่ชื่อเรื่องและโปสเตอร์ทำออกมาแล้วดูก็รู้ได้อย่างเป็นเอกลักษณ์ได้เลยว่ามันจะต้องเป็นหนังสยองขวัญที่เห็นถึงเครื่องในและตับไตไส้พุงอย่างที่ภาคแรกได้ทำมาหลายๆคนย่อมคาดหวังว่าในภาคต่อๆไปมันต้องมีอะไรมากระตุกขวัญหนักกกว่าเดิมแต่สำหรับคอหนังแนวนี้แล้วคงไม่ได้รู้สึกหงุดหงิดอะไรมากมายกับภาคต่อแต่คงรู้สึกผิดหวังเสียมากกว่าที่่การกลับมาในภาคต่อไม่ได้มีอะไรที่ดูแหวกจากหนังแนวเลือดสาดทั่วๆไปเลย

    Like

  7. อภิวัฒน์ ศรีเสน 57823315023 ad ปี2 vip

    เรื่องของ saw ที่ใครๆหลายคนต้องรู้จักเพราะเป็นหนังฆาตกรรมที่ยาวถึง7ภาคเปิดมาก็ฆ่ากันเลยแต่การดำเนินเรื่องค่อนข้างเปื่อยเพราะมีแต่จับมาฆ่าแต่ตำรวจไม่เคยจับฆาตกรลึกลับไม่ได้สักทีและเหมือนฆาตรกรกำลังสนุกกับการฆ่าผมคิดว่าถ้ามีภาคที่8ก็ยังคงจับฆาตกรไม่ได้อยู่ดี

    Like

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.