ทฤษฎีการพิจารณาก่อนเชื่อ Elaboration Likelihood Theory และทฤษฎีแรงจูงใจ

Elaboration Likelihood Theory ถูกกำหนดขึ้นโดย Richard Petty และ John Cacioppo เพื่ออธิบายการถูกชักจูงด้วยสาร, Elaboration Likelihood บ่งบอกถึงระดับการพิจารณาสารหนึ่ง ๆ ว่าถี่ถ้วนรอบคอบ น่าเชื่อถือหรือยัง โดยมี 2 ทางคือ

โพสนี้ถูกเขียนขึ้นมาโดย ผศ.ดร. พราว อรุณรังสีเวช ในสมัยเป็นนักศึกษาปริญญาเอก ม.กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการทบทวน และให้เพื่อน ๆ ในรุ่นเดียวกันได้อ่าน ทั้งนี้ห้ามมิให้ผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์นี้คัดลอกข้อมูลไปลงเว็บตนเอง หรือ นำไปทำผลงานลักษณะอื่น

1. Central Route บ่งบอกถึงการคิดอย่างรอบคอบ เมื่อคิดแล้ว เชื่อแล้ว จะจดจำได้เป็นระยะเวลานาน ถ้าเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เลย เราจะคิดอย่าง Central Route ไม่ได้
2. Peripheral Route บ่งบอกถึงการเชื่อโดยยังไม่ทันคิด เช่น การเชื่อหลักฐานภาพถ่ายในเว็บไซต์ การเชื่อเช่นนี้ จะเชื่อในระยะเวลาอันสั้น สามารถลืมได้เอง หรือ สามารถถูกเปลี่ยนแนวคิดได้ง่าย หากวันหนึ่งได้คิดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในรูปแบบ Central Route

สว อิเฎล ทฤษฎี การสื่อสาร

นอกจากการแบ่งวิธีการเชื่อเป็น 2 ทางแล้วนั้น คำว่า Motivation (แรงจูงใจ) ซึ่งปกติหมายความว่า สิ่งกระตุ้นหรือแรงจูงใจ ได้ถูกจำกัดความด้วย 3 ส่วนคือ

1. ความเกี่ยวข้องของผู้รับสารกับตัวสาร เช่น ถ้า สว อิเฎล เป็นชาวไทยที่อยู่ในอเมริกา และอยู่มาวันหนึ่งโทรทัศน์ออกข่าวว่า วสันต์ อัสนี จะเดินทางมายังประเทศอเมริกา, สว อิเฎลจะรู้สึกตื่นตัว และสนใจสารนั้นมากกว่าคนไทยที่อยู่ในประเทศอื่น ๆ
2. คนอื่น ๆ พูดถึงสารนั้นบ่อย เช่น สว อิเฎล ฟังรายการพงษ์พันธ์ ซึ่งพูดถึงสรรพคุณยาสมุนไพรเขากวางอ่อนบ่อย และเมื่อออกไปเดินตลาดแถวบ้าน ก็ยังมีชาวบ้านมากมายพูดถึงสมุนไพรนี้ ทำให้สว อิเฎลเกิดความสนใจ จนกระทั่งอาจจะเชื่อในสารนั้น
3. นิสัยของผู้รับสาร เช่น สว อิเฎล เป็นนักวิจารณ์ เป็นนักเขียนบล็อก (blog journalist) เมื่อได้ยินข้อถกเถียง ก็มักนำมาเขียนให้ผู้อ่านได้อ่านเสมอ เป็นต้น

เมื่อทราบแล้วว่า Motivation เกิดจาก 3 สิ่งข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ถ้า Motivation (แรงจูงใจ) สูง จะเป็นไปได้สูงที่คนเราจะคิดอย่าง Central Route และถ้า Motivation ต่ำ คนก็มักจะคิดอย่าง Peripheral Route

นอกจากนี้ การคิดอย่าง Central Route ยังเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อความคิดเห็นก่อนหน้าที่จะได้รับสาร มีความตรงกับผลของการประมวลสารนั้น เช่น สว อิเฎล เคยมีความรู้ดีเรื่องดาราศาสตร์ และรู้ว่าหลุมดำอยู่กลางกาแล็กซี่ ต่อมาเมื่อหนังสือ National Geographic มานำเสนอเรื่อง หลุมดำ และแสดงภาพหลุมดำอยู่กลางกาแล็กซี่ ทำให้เกิดการกระตุ้นความจำดั้งเดิม และทำให้ สว อิเฎล เชื่ออย่างฝังใจมากขึ้น

สว อิเฎล ทฤษฎี การสื่อสาร

คำถาม: ทุกวันนี้ มีนักศึกษาหลายคนที่จดจำความรู้ในห้องเรียน เพียงเพื่อการสอบเท่านั้น จะทำอย่างไรให้นักศึกษามีความรู้ติดตัวไปแม้ว่าจะเรียนจบแล้วก็ตาม? อธิบายโดยอ้างอิง Motivation 3 ข้อ ข้างต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร และโมเดล
ทฤษฎีการพิจารณาก่อนเชื่อ Elaboration Likelihood Theory และทฤษฎีแรงจูงใจ
โมเดลแสดงแบบแผนระบบการคิด Heuristic-Systematic Model
ทฤษฎีการให้เหตุผล Attribution Theory
ทฤษฎีปัญหาและทฤษฎีการบูรณาการ Problematic-Integration Theory
ความไม่แน่ใจ หลังจากเกิดวิกฤต Crisis
นิยายธรรมนิเทศศาสตร์ เรื่อง “ไอ้ปื๊ด” โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
การเข้าใจแนวคิดผิด ในการสื่อสารในภาวะวิกฤต (Misconceptions of Crisis Communication)

25 Comments

Filed under Communication

25 responses to “ทฤษฎีการพิจารณาก่อนเชื่อ Elaboration Likelihood Theory และทฤษฎีแรงจูงใจ

  1. 53123311054

    มีผลกระทบเพราะเป็นการรับสื่อแค่ด้านเดียวจึงทำให้ มีมุมมองด้านข่าวแค่ด้านเดียว ไม่มีข้อเปรียบเทียบ จึงทำให้หลักและ เหตุผล ข้อเท็จจริง อาจมีการบิดเบือนเกิดขึ้นได้ อาจถูกชักจูงใช้เป็นเครืองมือ ทำให้หลงเชื่อได้ง่าย จึงสอดคร้องกับ Peripheral Route พอดี ที่เชื่อง่าย ถูกชักจูงได้ง่าย และเป็นความจำแบบสั่น ที่สามารถลืมได้ง่าย หากพบกับข้อมูลแบบใหม่ ก็อาจเปลี่ยนความคิดใหม่ได้ และ Motivation
    อาจไปตรงกับการที่ผู้อื่น พูดถึงกันบ่อยๆ ในข้อที่ 2 เช่นบุคคลนี้ นั่งดูทีวีแต่ช่อง นปช. เสพข่าวแต่ช่องนี้อยู่ตลอดเวลา และเมื่อวันหนึ่ง ได้ไปทำธุระ แถวๆ ถ.อักษะแล้วได้รับฟังข้อมูลต่างๆ จากผู้ที่เข้าชุมนุมในกลุ่ม นปช. จึงทำให้ปักใจเชื่อยิ่งมากขึ้น มั่นใจในข้อมูลที่ตนเองคิดว่าถูกอยู่ตลอด ไม่คิดที่จะฟังข่าวจะ แหล่งข่าวอื่นหรือเสพจากช่องทางอื่น จึงทำให้ อาจกลายเป็นการเสพข่าวและ ได้รับข้อเท็จจริงแค่ด้านเดียว จึงอาจไม่ได้รับข้อมูลแท้จริงอย่างครบถ้วน

    Like

  2. ผมคิดว่าเวลาจะจดอะไรก็ควรเลือกจดดีๆ จดที่เราพอได้ไม่ใช่คิดจะจดก็จดอย่างเดียวผมคิดว่ามันทำให้เราลืม เพราะฉะนั้นเวลาเราจะจดควรจะคิดดีๆก่อนจดจดแล้วไม่เข้าหัวก็ไม่ควรจด แต่ถ้าเราคิดดีๆเรานำไปใช้ต่อยอดได้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย

    เนติ แก้วสวรค์ am
    57823311007

    Like

  3. 57123311048

    คนเราโดยทั่วไปมักจะสนใจหรือให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตนเองชอบเป็นหลัก หากอยากเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ชำนาญจนสามารถนำไปใช้จริงได้ มากกว่าการจดจำเพื่อสอบให้ผ่านแล้วทิ้งไป ฉะนั้นก่อนอื่นต้องค้นหาสิ่งที่ตนชื่นชอบจริงๆ ให้เจอก่อน จากนั้นจึงเริ่มศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้มากที่สุด คนเราถ้าได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชอบสามารถใช้เวลากับสิ่งๆนั้นได้นาน มากกว่าการอ่านหนังสือเตรียมสอบหรือเล่นเกมส์เสียอีก ซึ่งความชอบนั้นอาจมีได้มากกว่า ถามว่าอะไรล่ะที่เป็นที่ชื่นชอบที่สุด ไม่มีใครตอบได้นอกจะจะได้ลองศึกษา ลงไปคลุกคลีกับสิ่งนั้นๆ จนแน่ใจแล้วว่าสิ่งนี้ใช่หรือไม่ใช่ การฟังความคิดเห็นของผู้อื่นประกอบการตัดสินใจว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดีเป็นเรื่องดี การฟังหูไว้หู จึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่ท้ายสุดคนตัดสินก็คือ ตัวเราเอง

    Like

  4. วรรธนะ 57123311007

    ผมคิดว่า ถ้าจะให้มีความรู้ติดตัวไปแม้ว่าจะเรียนจบแล้วก็ตามนั้น ผู้สอนเวลาสอนควรยกตัวอย่างให้มันใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากที่สุด มันจะทำให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงความรู้นั้นๆมากยิ่งขึ้น ทำให้จดจำได้แม่นยำเวลาเกิดเหตุการณ์ใกล้เคียงกับตัวอย่างที่อาจารย์ยกขึ้นมา และจำทำให้ใช้ความรู้ได้จริงๆ ในเวลาที่เกิดเหตุการณ์ หรือ สถาณการณ์ใกล้เคียงกับตัวอย่าง วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่่สุดมากกว่าการจด คือการยกตัวอย่างให้นักศึกษาจำ

    Like

  5. ถ้าอยากมีความรู้ติดตัวไปตลอดแม้ว่าจะไม่ได้เรียนแล้วก็ตาม ข้อแรกต้องมีสิ่งจูงใจเช่นรางวัลในอนาคตซึ่งอาจจะหมายถึงชื่อเสียงเงินทอง ข้อสองอาจจะมาจากความชอบส่วนตัว มันจะเป็นแรงกระตุ้นที่ดีในการทำสิ่งนั้นซ้ำๆหรือขวนขวายเรื่องนั้นจนกลายเป็นนิสัยและสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ ข้อสามตัวเองมีการเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจนพอ เพราะจะทำให้สามารถเรียนรู้และจดจำความรู้ที่ได้จากห้องเรียนไปใช้และมีความรู้ติดตัวไปแม้ว่าจะเรียนจบไปแล้ว

    Like

  6. ถ้าอยากให้นักศึกษามีความรู้ติดตัวไปจนจบนั้นส่วนตัวแล้วคิดว่าควรทำประจำทำบ่อยๆเพราะอะไรๆที่เราทำเป้นประจำนั้นจะเกิดความเคยชินกับร่างกายไปเองหรือลองมองจากสิ่งต่างๆรอบตัวเพราะเมื่อเราเกิดความอยากรู้เราจะเริ่มหาข้อมูลและข้อมูลที่เกิดจากความพยายามหามาเองนั้นจะทำให้เกิดความจำขึ้นมาได้เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องการจะรู้จริงๆและเมื่อเริ่มได้สิ่งที่ต้องการอยากรู้แล้วเราก็จะสามารถเริ่มแสดงความคิดเห็นจากกลุ่มเพื่อนหรืออาจารย์เพราะบางทีข้อมูลที่เราได้มาอาจไม่ตรงกันแต่ถ้าหากมีส่วนไหนที่คล้ายคลึงกันเราก็จะสามารถเข้าใจได้ว่าสิ่งที่เราได้มานั้นมันถูกต้องหรือสิ่งที่เราได้มานั้นมันแตกต่างทั้งนี้ในส่วนอาจารย์ที่สอนก็มีอิทธิพลต่อเรื่องนี้ด้วยถ้าหากอาจารย์บอกแค่ว่าที่ตรงนี้ออกสอบนะนักศึกษาไปอ่านตรงนี้ตรงนี้ต้องทำตามครูนะจะทำให้นักศึกษาเข้าใจว่าส่วนก่อนหน้านี้ที่อาจารย์สอนมานั้นไม่สำคัญเพราะอาจารย์บางท่านได้ไปโฟกัสในส่วนที่จะออกสอบอย่างเดียว

    Like

  7. Sitthichai Boonthos

    ถ้าอยากให้นักศึกษามีความรู้ติดตัวไปแม้ว่าจะเรียนจบแล้วส่วนตัวคิดว่า อาจารย์หรือผู้สอนควรถามถึงเป้าหมายที่แท้จริงของนักศึกษาแล้วยกตัวอย่างสิ่งที่จะได้หรือความสำเร็จถ้าหากมีความรู้ติดตัวไปด้วยเช่น บุคคลที่มีชื่อเสียงในอาชีพสายต่างๆเป็นต้น ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเกิดแรงจูงใจในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อให้ตัวเองไปทำเป้าหมายที่กำหนดไว้ แค่มีแรงจูงใจยังไม่พอ นักศึกษาจะต้องหมั่นฝึกฝนทบทวนในสิ่งที่เรียนมาให้บ่อยๆไม่ใช่ว่าแค่จำได้แต่ต้องเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมา

    57123311049

    Like

  8. ถ้าอยากให้นักศึกษามีความรู้ติดตัวไปแม้ว่าจะเรียนจบไปแล้ว ผมคิดว่าผู้สอนให้ความสำคัญกับเป้าหมายของนักศึกษาแล้วหาแรงจูงใจให้นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพือเป้าหมายของนักศึกษาที่กำหนดไว้ และตัวนักศึกษาเองก็จะต้องหมั่นฝึกฝนสิ่งที่ตัวเองที่เรียนมาอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความเข้าใจและเชี่ยวชาญในสิ่งที่จะทำดีกว่าการที่จะจำเพื่อใช้ในการสอบ
    ธนภูมิ 57123311038

    Like

  9. นิพัทธา 57123311015

    คิดว่า การที่มีความรู้ติดต่อตัวตั้งเเต่ตอนเรียน ผู้สอนควรสอนให้เข้าใจและนำไปใช้ได้ในอนาคตกับสิ่งที่ตัวเองเรียนมา ควรให้ความสำคัญกับความคิดของนักศึกษาเพื่อจะต้องการเจาะจงกับสิ่งที่ตัวเองเรียนมาและใช้ในอนาคต และผู้สอนไม่ควรสอนให้เข้าใจยากทำให้นักศึกษาไม่อยากจะค้นคว้าหรือให้ความสำคัญกับเป้าหมายของตัวเอง ตัวของนักศึกษาเองก็ควรหมั่นฝึกฝนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับการเรียนของนักศึกษา ควรจะสอบถามในสิ่งที่ตัวนักศึกษาเองไม่เข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวนักศึกษาเอง

    Like

  10. อรรถชัย 57123311021

    ถ้าเราสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบได้ก็จะทำให้เรามีความสนุกไปกับการเรียน และถ้าเราชอบจริงๆ สิ่งที่เราได้เรียนก็จะทำให้เราสามารถจดจำได้ดีและตั้งใจทำมันออกมาให้ดีที่สุด ตัวอย่างเช่าน ขาวชอบดูการ์ตูนอนิเมชั่นมากทำให้อยากเรียนด้านอนิเมชั่นจึงไปสอบเทียบและสามารถเข้าเรียนในสาขาอนิเมชั่นได้ เมื่ออาจารย์สอนการทำอนิเมชั่นขาวรู้สึกสนใจที่จะทำมากจึงตั้งใจและฝึกฝนจนชำนาญ อีกทั้งมีรุ่นพี่ที่จบไปมาบอกเค้าว่าถ้าขาวสามารถทำอนิเมชั่นออกมาได้อย่างชำนาญขาวจะสามารถหางานทำและได้เงินเดือนที่สูงกว่าปกติ เมื่อขาวรู้จึงตั้งความหวังไว้และเรียนวิชาต่างๆที่สาขาอนิเมชั่นสอนอย่างขยันและตั้งใจ อีกทั้งขาวยังเป็นคนที่เก่งด้านเทคโนโลยีจึงทำให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างอนิเมชั่นได้อย่างชำนาญ

    Like

  11. อริษา จ่าชัยภูมิ 019 Ad.vip

    ถ้าเราให้ความสำคัญกับการเรียนในห้องเรียนและตั้งใจเรียนและเก็บเกี่ยวความรู้จากครูผู้สอนเอาไว้มาใช้ในอนาคตข้างหน้ามันก็จะเป็นผลดีต่อตัวของเราเอง ซึ่งความรู้ที่เราได้เรียนมาจากในห้องเรียนนั้นจะทำให้เราได้นำความรู้ที่เรียนมานั้นกลับมาใช้ในตอนที่เราทำงาน เราก็จะได้ทำงานได้อย่างมีคุณภาพไม่มีข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาด เพราะเราได้ฝึกฝึนและได้ใช้ความรู้ที่เราเรียนมานั้นนำมาประกอบอาชีพในด้านที่เราชอบเราถนัดเราก็จะทำงานกับความรู้และประสบการณ์ที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์โดยไม่สูญเปล่า อริษา จ่าชัยภูมิ 57823315019 Ad.vip

    Like

  12. อภิวัฒน์ ศรีเสน 57823315023 ad ปี2 vip

    ตอนเรียนควรจะตั้งใจฟังและถามในสิ่งที่ไม่รู้และควรหมั่นทบทวนความรู้อยู่บ่อยๆอาจจะช่วยได้ไม่มากก็เยอะแต่ถ้าเราไม่ทบทวนเลยอาจจะทำให้ลืมหรือไม่ก็จำไม่ได้เราควรจะตั้งใจในเวลาที่อาจารย์สอนถ้าจำไม่ได้ก็ควรจะจดและอ่านทบทวนจะทำให้เรานึกถึงได้ในบางที

    Like

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.