ทฤษฎีปัญหาและทฤษฎีการบูรณาการ Problematic-Integration Theory

Problematic เป็นคำวิเศษขยายนามของ ปัญหา หรือ ปริศนา
Integration แปลว่าการปรับตัวเข้ากัน, การผสมกัน, การรวมกัน

ถ้าการปรับตัวหรือการทำความเข้าใจของ สว อิเฎล มีความสอดคล้องกับเรื่อง ๆ หนึ่ง เขาจะสามารถตัดสินใจได้อย่างง่ายดายว่าเขาต้องทำอะไรต่อไป แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าความเข้าใจของเขาไม่ตรงกับเรื่องที่เขาพบ เขาจะสามารถปรับตัวได้ยาก และการตัดสินใจนั้นจะเป็นปัญหาขึ้น

สว อิเฎล ทฤษฎี การสื่อสาร

Stephen W. Littlejohn และ Karen A. Foss อธิบายถึงสิ่งที่ Babrow อธิบายไว้ว่า การแบ่งประเภทของการปรับตัวของมนุษย์มีอยู่ 2 แบบ คือ

(๑) Probabilistic Orientation คือ ความสัมพันธ์ที่ดูเหมือนแน่นอนหรือไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับว่าความเป็นไปได้นั้นมากหรือน้อย เช่น ถ้าจับคางคก คุณจะมีตุ่มใส ๆ ขึ้นตามผิวหนัง คุณอาจมั่นใจว่าตุ่มที่คุณเห็นมีสาเหตุมาจากคางคกแน่ ๆ หรือคุณอาจจะไม่มั่นใจ เพราะก่อนหน้านั้นคุณไปเดินป่ามา และอาจถูกยุงป่ากัด เป็นต้น
(๒) Evaluation of Certain Association แปลตรง ๆ ว่าการให้ค่าของความเกี่ยวเนื่องที่แน่นอน เช่น จับคางคกแล้วเป็นอันตราย ถ้าจับคางคกแล้วทุกคนจะรู้สึกแย่มาก, โรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยสมุนไพรหนุมานนั่งแท่น เป็นต้น

ถ้าสว อิเฎลทราบเช่นนี้แล้ว ทุกครั้งที่ สว อิเฎล ไปจับคางคก สว อิเฎลจะเกิดความกังวลว่าต้องมีตุ่มขึ้นแน่ ๆ การนี้ทำให้ สว อิเฎล ให้ค่าความสำคัญในเชิงลบ คือเกิดความกังวลว่าตุ่มใส ๆ จะขึ้นมาในไม่ช้าหลังจากจับคางคก

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่ใจนี้ เกิดมาจากข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ น้อย, หรือ ข้อมูลไม่แน่นอน มีคนกล่าวเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันที่มห้ผลที่แตกต่างมากมาย, เกิดความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เชื่อและสิ่งที่ต้องการ หรือ เป้าหมายในการสร้างชิ้นงาน ดูจะเป็นไปไม่ได้ เป็นต้น

สว อิเฎล ทฤษฎี การสื่อสาร

คำถาม: ข้อมูลที่ได้มาจากสื่อใหม่ ทั้งเว็บไซต์ และแอพลิเคชั่นต่าง ๆ สร้าง “ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่ใจ” ได้หรือไม่ อย่างไร ให้ยกตัวอย่าง

บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร และโมเดล
ทฤษฎีการพิจารณาก่อนเชื่อ Elaboration Likelihood Theory และทฤษฎีแรงจูงใจ
โมเดลแสดงแบบแผนระบบการคิด Heuristic-Systematic Model
ทฤษฎีการให้เหตุผล Attribution Theory
ทฤษฎีปัญหาและทฤษฎีการบูรณาการ Problematic-Integration Theory
ความไม่แน่ใจ หลังจากเกิดวิกฤต Crisis
นิยายธรรมนิเทศศาสตร์ เรื่อง “ไอ้ปื๊ด” โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
การเข้าใจแนวคิดผิด ในการสื่อสารในภาวะวิกฤต (Misconceptions of Crisis Communication)

Advertisement

33 Comments

Filed under Communication

33 responses to “ทฤษฎีปัญหาและทฤษฎีการบูรณาการ Problematic-Integration Theory

  1. 53123311054

    ข้อมูลที่ได้มาจากสื่อใหม่ ทั้งเว็บไซต์ และแอพลิเคชั่นต่าง ๆ สร้าง “ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่ใจ” ได้เพราะ ข้อมูลที่ได้มาจากสื่อใหม่ ทั้งเว็บไซต์ และแอพลิเคชั่นต่าง ๆ นั้น เป็นการให้ข้อมูลที่บางก็เป็นจริง บางก็เท็จ คละเคล้ากันไป อีกทั้งยังมีการใส่สีตีไข่และบิดเบือนข้อมูลลงไป หรือเป็นการกุเรื่องเพื่อสร้างกระแสให้กับสิ่งเหล่านั้น จึงทำให้เนื้อหาที่ออกมานั้นอาจจะมีการคลาดเคลื่อนหรือไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมด
    ยกตัวเช่น ข้อมูลที่ได้จากแอพลิเคชั่นดูดวง เป็นการทำนายดวงในอนาคตของเราทั้งเรื่องงาน เรื่องเงิน เรื่องความรัก เรื่องการงาน แต่สิ่งที่ได้จากการทำนายนั้น อาจจะเกิดขึ้นจริงหรืออาจจะไม่เกิดขึ้น เพราะมันยังเป็นเรื่องของอนาคตที่เราไม่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นการคาดคะเน ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนตัวของแต่ละบุคคล เลยทำให้เกิดการเชื่อครึ่งหนึ่ง ไม่เชื่ออีกครึ่งนึก คือเป็นการไม่ปักใจเชื่ออะไรได้ง่ายเพราะอนาคตก็คืออนาคต ในกรณีนี้เป็นกรณีที่เป็นการทำนายจริงๆ และอีกกรณีหนึ่งคือเป็นสุ่มคำตอบ ไม่ว่าเราจะถามอะไรไป ก็จะสุ่มคำตอบที่มีการเตรียมไว้อยู่แล้ว จึงทำให้ข้อมูลที่ได้รับนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือ จึงแสดงให้เห็นว่าแอพลิเคชั่นดูดวงนั้นอาจก่อให้เกิดความไม่แน่ใจขึ้นได้
    อีกตัวอย่างหนึ่ง คือข้อมูลที่ได้จากทางเว็บไซต์ข่าวบันเทิง จะเป็นการทำปัญหาที่มีอยู่แล้วยิ่งหนักเข้าไปอีก โดยการพูดมากไปจนเกินความเป็นจริงไปไกลมาก เพื่อเป็นการสร้างกระแสให้คนหันมาสนใจเยอะๆ หรือเพื่อเพิ่มยอดคนที่เข้ามาชมข่าวของตนในเว็บไซต์ให้เพิ่มมากขึ้น ทั้งที่พอเราเข้าไปดูข่าวในเนื้อหาที่เกิดขึ้นจริงแล้วๆ จะพบว่า เรื่องที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้แย่อย่าที่เขียนข่าวกันออกมาเลย ทำให้ความรู้สึกในด้านความน่าเชื่อต่อผู้อ่านลดน้อยลง จึงก่อให้เกิดความไม่แน่ใจที่เกิดขึ้นในการเสพข่าว หรืออีกกรณีหนึ่ง เป็นการสร้างข่าวที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพื่อเป็นการสร้างกระแสปั่นป่วนผู้อ่าน โดยการเอาเรื่องที่เคยเกิดขึ้นไปแล้วมารวมกับเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเพื่อเพิ่มความรุนแรงกับเหตุการณ์ต่างๆมากเข้าไปอีก และเมื่อเราเข้าไปดูในข่าวนั้นจริงๆ จะพบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเหตุการณ์ปัจจุบันเลย แต่เป็นเพียงแค่การปลุกปั่นกระแสข่าวให้มีคนเข้ามาสนใจมากๆ เพื่อเป็นการขายข่าวให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้น

    Like

  2. ได้ เพราะในปัจจุบันมีเว็บไซต์เกิดขึ้นใหม่มากมายและเข้าถึงได้ง่ายทางSocial
    ต่างๆ เช่น Facebook Hi5 และแฟนเพจการนำเสนอข่าวต่างๆไม่เหมือนกัน
    อาจจะเกิดความคาดเคลี่อนของข้อมลูที่แท้จริงและในแต่ละเว็บไซต์มีการนำเสนอข่าว
    ที่ไม่เหมือนกัน เพื่อสร้างความแตกต่างและเพื่อให้คนเข้ามาอ่านๆ
    นาย วัชพล ฉายอรุณ Am
    57823311006

    Like

  3. ได้อย่างเช่น facebook พวกที่ชอบแชร์โดยไม่ได้ไปดูข้อมูลหลายๆเว็บทำให้ข้อมูลอาจคาดเคลื่อนได้เพราะฉะนั้นเวลาเราจะแฃร์อะไรดูอะไรควรหาข้อมูลให้ดีๆก่อนไม่ควรแฃร์ไปทั้งๆที่มองแค่หัวข้อข่าว

    เนติ แก้วสวรรค์ an
    57823311007

    Like

  4. Sitthichai Boonthos

    ข้อมูลส่วนใหญ่บนสื่อใหม่ หรือจากเว็ปไซต์ต่างๆ และจากแอพพลิเคชั่นจะมีข้อมูลที่แตกต่างหรือคลาดเคลื่อนกันออกไป หรือสื่อหลายๆสื่อจะมีข้อมูลต่างกันออกไป จึงทำให้ผู้ที่เข้ามาอ่านข้อมูลเกิดความสับสนในการรับข้อมูล ผู้ที่เข้ามาดูข้อมูลในสื่อหรือเว็ปไซต์ต่างๆ ควรจะรับข้อมูลจากหลายๆสื่อเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เท็จจริงและถูกต้อง ดังนั้นผู้ที่จะรับชมข้อมูลผู้ที่เข้ามาดูข้อมูลต่างๆควรคิดวิเคราะห์แยกแยะและไต่ตรองให้ดีก่อนที่จะรับข้อมูลต่างๆเพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาความไม่แน่ใจ

    57123311049

    Like

  5. ได้เพราะข้อมูลส่วนใหญ่ไม่มีการกรองข่าวมาก่อนหน้านี้เพียงแค่หยิบจับข้อมูลมาปะปนกันแล้วกระจายข้อมูลที่ได้แบบผิดๆออกไปโดยมาไม่รู้ว่าข้อมูลจริงเป็นอย่างไรเพียงแค่ต้องการให้ผู้คนมาสนใจหรือมาแชร์ต่อๆไปเพื่อนเป็นประโยชน์ในทางแฟนเพจของตนเองหรือเว็บไซต์ของตนทั้งนี้อาจทำให้คนที่เข้ามาอ่านนั้นเกิดความเชื่อขึ้นมาจากข่าวที่มีคนแชร์ออกมากันส่วนในส่วนคนที่พอรู้ข้อมูลความเป็นจริงก็อาจทำให้สับสนได้เพราะจะทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เรารับมานั้นถูกหรือผิด

    ภานุพงษ์ เมฆกกตาล
    57123311017

    Like

  6. วรรธนะ 57123311007

    ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่ใจ เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ยกตัวอย่าง Facebook เปิดโอกาสให้คนเราสามารถแชร์โพสต์จากเว็บต่างๆได้ ซึ่งข้อมูลที่เห็นได้ทั่วไปก็คือ ใช้สมุนไพรนี้แล้วหน้าจะขาว ตัวจะขาว แต่อีกแชร์นึงบอกว่า ใช้สมุนไพรชนิดนี้ไม่ได้นะ มันเป็นอันตราย เพราะไม่มีการยืนยันอย่างแน่ชัดว่า ได้ทดลองแล้วหรือยัง หรือ ไม่มีการกำกับว่า ใครเป็นผู้เขียนบทความนั้นๆ ทำให้ความน่าเชื่อถือแต่ละอันก็ไม่น่าเชื่อถือเลยสักนิด แถมเกิดความสับสนแน่นอน

    Like

  7. เกิดขึ้นได้ เพราะทุกวันนี้หลังจากที่ทุกคนสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างอิสรเสรี ทำให้มีข่าวต่างๆเกิดขึ้นทั้งที่เป็นจริงและไม่จริง ยกตัวอย่างเช่น ข่าวการเกิดสึนามิในประเทศอีกครั้งภายใน 5-7 วัน และมีการแอบอ้างบุคคลที่มีความรู้ต่างๆ ที่สามารถทำให้บุคคลที่ไม่รู้เรื่องอะไรตื่นตกใจหรือจะเป็นข้อความลูกโซ่ที่ว่า คอมพิวเตอร์ของคุณมีไวรัสแฝงอยู่ให้รีบกำจัดโดยด่วน โดยการเข้าไปดาวน์โหลดแอพลิเคชันนั้นนี้มาเพื่อประโยชน์ของเครื่องคุณ ซึ่งนั้นก็ไม่ได้เป็นความจริงแต่อย่างใด
    ฐิติพร ยิบมันตะสิริ 57123311026

    Like

  8. อิจจิมา สุทธนไตร 57823315021

    เกิดได้ เนื่องจากยุคสมัยนี้ปลี่ยนไปไวและทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นมากทำให้คนเราสนใจในอะไรใหม่ๆ และด้วยการใช้สื่อในช่องทางต่างๆทำให้การกระจายของสือไปได้ไวมากกว่าแต่ก่อน และด้วยแอปพรีเคชั่นที่มีมากมายการสื่อสารก็ยิ่งกว้างไปอีก ข้อความต่างๆแพร่กระจายไปได้ง่าย ตัวอย่างเช่นการเล่นโซเชียวต่างๆหรือการแชร์ข่าวหรือข้อความต่างๆในเฟสบุ๊ค ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือซะเท่าไหร่แต่คนก็ยังนิยมแชร์กันอยู่ อิจจิมา สุทธนไตร57823315021 ad.01ปี2 ภาค vip

    Like

  9. จักรกฤษ หลักทอง 57123311039

    ได้ เพราะทุกวันนี้เป็นยุคของการสื่อสารไร้พรมแดนอยู่แล้ว ทุกๆวันจะมีข่าวแปลก เห็นอะไรโน่นนี่นั่น ก็นึกไปต่างๆนานา ทั้งที่จริงแล้วข่าวแต่ล่ะข่าวนั้น เขียน copy เพื่อที่จะได้ให้คนมาสนใจข่าวของสำนักตัวเอง ซึ่งอาจเป็นการหลอกให้คลิกเข้ามาดู้พียงแค่นั้น เพราะฉะนั้นแล้ว หากข่างบางข่าวที่เราสนใขหรือติดตามกระแสจริงๆ ควรที่จะเลือกแหล่งที่ให้ข้อมูลที่ขัดเจน และตรงไปตรงมา ไม่ใช่หวังเพียงเพื่อจะเอา ยอดวิวของคนที่เข้าอ่านข่าว

    Like

  10. 57123311028 Am

    ได้ สาเหตุเป็นเพราะว่าทุกวันนี้เป็นยุคที่เข้าสู่ดิจิตอลอย่างแท้จริงและย่อมมีสื่อต่างๆขึ้นมาใหม่เว็ปไซต์ใหม่ๆผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดแน่นอนว่าบางเว็ปไซต์อาจจะเป็นของจริงยกตัวอย่างเช่น เรากดลิงค์เข้าไปเพื่อที่จะติดตามข่าวสารในเว็ปแต่ดันเด้งเปิดหน้าเว็ปที่มันไม่ใช่สำหรับดูหนังเช่นเว็ปโฆษณา หรือเว็ปที่เป็นข่าวสารปลอมเป็นต้น เลยทำให้เราสามารถรู้ได้เลยว่าในยุคที่ถึงแม้จะมีความก้าวหน้าแต่ในความก้าวหน้าในฐานข้อมูลที่ไม่มีการรองรับก็ไม่สามารถเชื่อะไรได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เสมอไป

    Like

  11. ข้อมูลจากสื่อใหม่ จากเว็ปไซด์และแอพพลิเคชั่นสส่วนมากจะเขียนข่าวเพื่อขายข่าวซึ่งไม่มีการกรองข้อมูลก่อนโดยไม่รู้ว่าข้อมูลที่เราได้รับนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ยกตัวอย่างเช่นการซื้อขายนักเตะ ดังนั้นถ้าเราจะเสพข้อมูลหรือข่าวอะไรเราควรจะคิด หรือมี วิจารณญาณในการเสพว่าข้อมูลนั้นมีมูลความจริงอยู่รึป่าวไม่ใช่ว่าอ่านแล้วจะหลงเชื่อข่าวนั้นเลย
    ธนภูมิ 57123311038

    Like

  12. อรรถชัย 57123311021

    เกิดขึ้นได้ เพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้เกิดแอปและเวปไซต์ขึ้นมากมายทำให้บางครั้งเราไม่สามารถรับรู็ได้ว่าเวปหรือแอปนั้นๆเป็นของจริงหรือมีคนสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกลวง เช่น เพจเฟชบุ๊คขายเสื่อผ้าออนไลน์ เพราะ ในเฟซบุคมีเพจขายเสื้อผ้าออนไลน์เยอะมากเราไม่อาจรู้ได้ว่าเพจใหนที่เราสั่งของแล้วจะได้รับของจริงไม่ใช่โอนตังค์ไปแล้วปิดเพจหนีหายไปไม่ส่งของมาให้หรือได้สินค้าถูกต้องตามที่เราสั่งไว้จึงเกิดความกังวนในการที่จะตัดสินใจในการใช่สื่อใหม่ๆที่เกิดขึ้นมาตลอดเวลา

    Like

  13. ศรัณย์ วรพิพัฒน์ AD038 vip

    เกิดขึ้นได้ เนื่องจากปัจจุบันสื่ออินเตอร์เน็ตสังคมออนไลน์เป็นที่แพร่หลายอย่างมากและข่าวสารจากหลายช่องทางที่มีเกิดขึ้นทุกวันซึ่งต่างคนก็เห็นคนละมุมมองบางทีจึงมีการเขียนข่าวขึ้นจากเราๆเองและไม่มีการตรวจสอบให้ดีว่าข่าวนั้นถูกกลั่นกรองมาดีหรือยังแล้วก็ได้แพร่กระจายออกตามในสื่อสังคมออนไลน์ที่เราทุกๆคนนั้นใช้กันอยุ่จึงทำให้เกิดปัญหาที่เกิดจากความไม่แน่ใจขึ้นได้

    Like

  14. Apinya Angin 57123311003

    ข้อมูลที่ได้มาจากสื่อใหม่ ทั้งเว็บไซต์ และแอพลิเคชั่นต่างๆสร้าง “ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่ใจ” ได้เพราะ ในสังคมปัจจุบันไม่ว่าจะของประเทศไทยหรือแม้แต่ต่างประเทศนั้นส่วนใหญ่ล้วนแล้วจะเสพสื่อผ่านทางเว็บไซต์และแอพลิเคชั่นโดยเฉพาะสื่อโซเชียลอย่า Facebook ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามาถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นเราควรที่จะเลือกเสพสื่อเพราะเราไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่าข้อมูลข่าวสารที่ถูกเผยแพร่ออกมาก็ไม่สามาถบอกได้ว่าข้อมูลไหนที่เป็นความจริงและข้อมูลไหนเป็นเท็จ คนส่วนใหญ่มักจะเชื่อในข้อมูลที่ได้เห็นมาเป็นอันดับแรก ซึ่งในสื่อนั้นๆก็จะมีความแตกต่างของข้อมูลและเนื้อหา และอาจไม่มีเนือหาหรือข้อมูลที่เพียงพอสำหรับผู้บริโภค

    Like

  15. Panuwat

    ได้เพราะ ทุกคนสามารถเสนอข้อมูลข่าวสารที่ตนเองพบเจอ หรือ โพสเรื่องราว ได้ง่ายๆใน โซเชียลต่างๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านั้นบางครั้งยังไม่ผ่านการกลั่นกรองข้อมูล ว่าถูกต้องตามจริงนั้นหรือไม่ หรือ อาจจะเป็นเพียงการเขียนเพื่อปั่นกระแสสังคมต่างๆเพื่อผลประโยชน์ให้แก่เว็บไซต์ของตนเอง เช่น ภายใน Facebook นั้น จะมีเพจที่เสนอข่าวต่างๆ โดยเพจเหล่านี้จะแชร์ข่าวสาร และพาดหัวข่าวให้น่าสนใจ มาให้ผู้คนที่กดติดตามสามารถเข้าไปดูได้ โดยที่แต่ละเพจไม่ได้กลั่นกรองเลยว่าข่าวนั้นๆเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และหลอกให้เข้าไปดูเพื่อเอายอดวิว ให้เพจตัวเองนั้นเอง ดังนั้น ควรตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าวนั้นๆให้ดี ก่อนจะเชื่อ หรือแชร์ออกไป

    ภานุวัฒน์ สุสุวรรณ์
    57123311025

    Like

  16. อริษา จ่าชัยภูมิ 019 Ad.vip

    เกิดขึ้นได้เนื่องจากสื่อออนไลน์มีมายมายในยุคปัจจุบัน จึงทำให้ผู้ที่ได้รับข่าวสารจากทางแอพพลิเคชั่นหรือจากทางสังคมออนไลน์ได้รับข้อมูลข่าวสารที่อาจบิดเบือนไปจากความจริง บางข้อมูลที่ได้อ่านอาจเป็นข้อมูลเท็จหรือข้อมูลจริงนั้นผู้ที่อ่านก็ไม่อาจรู้ได้ ยกตัวอย่างเช่น เช็คกรุ๊ปเลือดบอกนิสัย ที่มีในเฟสบุ๊ค คือเป็นการเช็คหรือทำนายว่าแต่ละกรุ๊ปเลือดนั้นมีนิสัยเป็นยังไง กรุ๊ปเลือดไหนเจ้าชู้ เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่ได้จากการทำนายนั้นอาจเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้เพราะเกิดจากการคาดคะเน และเป็นความเชื่อส่วนตัวของแต่ละบุคคล อริษา จ่าชัยภูมิ 57823315019 Ad.vip

    Like

  17. Minlada. Laebua

    ได้ เพราะสื่อในปัจจุบันนี้เข้าถึงผู้คนได้ง่ายมากเช่น Facebook ซึ้งเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ทุกคนสามารถส่งต่อข้อมูลข่าวสารกันได้ง่ายขึ้น บ่อยครั้งการแชร์เหตุการณ์หรือข่าวสารต่างๆก็ทำให้เกิดเป็นกระแสโด่งดังในสังคมไทย มีทั้งข่าวจริง ข่าวเท็จ ข่าวสร้างกระแส เพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตัว ฉะนั้นในฐานะผู้รับสื่อเราควรเลือกเปิดรับสื่อเราควรคิดและไตร่ตรองทุกอย่างให้ดีเสียก่อนบางครั้งการที่เราแชร์ข่าวที่ผิดๆอาจส่งผลกระทบต่อผู้อื่นและต่อตนเองได้

    Minlada. Laebua. 57823315006. Ad vip

    Like

  18. หน้านี้ตรวจละ

    Like

  19. อภิวัฒน์ ศรีเสน 57823315023 ad ปี2 vip

    สร้างปัญหาได้เพราะสมัยนี้สื่อต่างๆได้ครอบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งสื่อต่างจากเว็บไซต์ยกตัวอย่างเช่นfacebbokหรือtwisterที่คนรุ่นใหม่ใช้เป็นสื่อนำแต่อาจจะใช้เสพข่าวหรือเสพสื่อต่างๆแต่สื่อพวกนี้มักจะมีข่าวที่จริงบ้างเท็จบ้างอาจมีการคลาดเคลื่อนจากความจริง

    Like

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.