จากหนังสือ Effective Crisis Communication นาย Robert R. Ulmer ได้ให้ความหมาย Uncertainty คือสิ่งที่ไม่ clear และคนต้องคาดเดาเอา ส่วนความหมายตามพจนานุกรมของ Uncertainty นี้คือ ความไม่แน่นอน ความไม่แน่ใจ ความคลุมเคลือ ตัวอย่างของ Uncertainty ที่สว อิเฎลคิดว่าทุกคนเคยประสบมาคือ เมื่อ นักเรียนกำลังจะไปดูผลสอบ ซึ่งนักเรียนจะเกิดความไม่แน่ใจว่าจะได้เกรดดีหรือไม่ อาจเกิดความกังวล และความรู้สึกไม่แน่นอนในชีวิต ในขณะที่เกิดความอยากรู้โดยเร็วที่สุด เป็นต้น
ในหนังสือเล่มนี้ นายโรเบิร์ตได้อธิบายถึง Uncertainty ใน Crisis กล่าวคือ Uncertainty นี้จะไม่ใช่เหตุการณ์ธรรมดาในชีวิตประจำวันเหมือนกับที่นักเรียนอยากรู้ผลสอบ แต่ Uncertainty ใน Crisis จะเป็นอะไรที่ซับซ้อนกว่า และไม่ใช่สิ่งที่เกิดในชีวิตประจำวัน นายโรเบิร์ตได้อธิบายบทเรียน 10 อย่างเกี่ยวกับ Uncertainty คือ
1. Crisis จะเกิดไว้ไวมาก และไม่มีใครคาดคิดไว้
แม้ว่าตามหลักการ ก่อนที่จะเกิด Crisis สามารถมี Sign หรือสัญลักษณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นมาเตือนก่อน เช่นความขัดแย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้เกิดความขัดแย้งระดับใหญ่ ตามหนังสือ ตัวอย่างที่แสดงคือเหตุการณ์ไฟใหม้ ที่เมื่อผู้บริหารองค์กรได้ฟังแล้ว ก็ไม่ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีใครบาดเจ็บหรือเปล่า ทั้งนี้ สว อิเฎลมีเรื่องเล่าที่ฟังมากจาก พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล คือ เรื่องของ ไอ้ปื๊ด
2. องค์กรไม่ควรแก้ปัญหา Crisis ด้วยวิธีทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
เนื่องจาก Crisis ไม่ใช่เรื่องทั่วไปที่เกิดในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องไม่ใช้วิธีการเดียวกันแน่ ๆ เช่น ข่าวในประเทศไทยที่ สว อิเฎล จำได้คือ รถไฟขบวนปฐมฤกษ์ตกราง ควรมีการแก้ไขโดยชี้แจงสาเหตุและดำเนินการซ้อมแซมให้เร็วที่สุด มิใช่การไล่คนขับรถไฟหรือเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งออกเพื่อแสดงให้เห็นว่าองค์กรมีความรับผิดชอบ
3. ข่าวเตือนภัยคือสิ่งที่ควรรู้
เมื่อรู้กระแสข่าว หรือคำทำนายสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ควรเตรียมรับมือ มิใช่ทำเป็นไม่เชื่อ องค์กรควรหาข้อมูลและแจ้งข้อมูลให้แก้ผู้ถือหุ้นให้เข้าใจตรงกัน เช่น ข่าวที่กลุ่มเสื้อแดงบางกลุ่มแนะนำให้มีการแบ่งแยกดินแดน แม้ว่าจะยังไม่เกิดจริง แต่กองทัพไทยควรเตรียมแก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ
4. ควรเตรียมพร้อมรับมือกับ Crisis
แม้ว่าเวลาเกิด Crisis ข้อมูลที่องค์กรทราบนั้นน้อยนัก น้อยกว่าที่นักข่าวอยากรู้ แต่องค์กรควรทำให้ผู้ถือหุ้นและพนักงานสามารถให้ข่าวในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะคำถามที่นักข่าวมักจะถามบ่อย เช่น เกิดขึ้นได้อย่างไร, ใครจะรับผิดชอบ, แก้ไขอย่างไร เป็นต้น โดยปกติคนที่อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ Crisis มากที่สุดคือพนักงาน และผู้ถือหุ้น
5. องค์กรไม่ควรสร้างความสับสนให้แก่สังคมเมื่อเกิด Crisis กับตัวเอง
เช่น เมื่อรัฐบาลกำลังจะออกกฎหมายควบคุมสินค้าบางประเภท และบริษัท A ได้รับผลกระทบ บริษัท A จึงตำหนิว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าดังกล่าว เป็นต้น
6. เตรียมตัวให้เหตุผลกับเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นใน Crisis โดยเชื่อมโยงกับคำพูดของตนเองก่อนหน้านี้
7. ควรแก้ Crisis ตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่าปล่อยให้บานปลาย
เช่น เมื่อรัฐบาลทราบว่ามีผู้คนจำนวนมากแย้งนโยบายจำนำข้าว รัฐบาลควรจะตรวจสอบและแก้ไขปัญหา หรือหยุดโครงการไว้ชั่วคราวก่อน มิใช่ปล่อยให้บานปลายและค่อยหาทางแก้ไขที่หลัง ซึ่งการนี้ สว อิเฎล เห็นว่ารัฐบาลถูกตำหนิจากสื่อหลายช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลลัพธ์สุดท้ายที่จำต้องขายข้าวในราคาถูก, ข้าวมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน รวมถึงปัญหาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นชาวนา
8. ถ้าองค์กรเชื่อว่าตนไม่ได้ผิด องค์กรควรให้เหตุผลให้ได้ว่าใครผิด อย่างไร
สมมติว่า สว อิเฎล ใช้บริการสระว่ายน้ำ A และสว อิเฎล ผิวดำขึ้นถนัดตา สว อิเฎล จึงฟ้องสระว่ายน้ำว่าใส่คลอรีนมากไปทำให้ผิวไหม้, ทำให้สระว่ายน้ำ A ต้องพิสูจน์โดยให้นักวิทยาศาสตร์ออกมายืนยันว่า คลอรีนไม่ได้ทำให้ผิวไหม้ และตนได้ใส่คลอรีนในปริมาณที่เหมาะสม แต่ผิวที่สีดำขึ้นนั้น เกิดมาจากร้านค้าที่ตั้งอยู่หน้าสระว่ายน้ำ ได้ทำหมูลมควัน ทำให้เมื่อ สว อิเฎล เดินผ่านในขณะที่ตัวเปียก และเขม่ามาจับทำให้ผิวกลายเป็นสีดำ
9. ควรมีการจำลองสถานการณ์เพื่อรับมือกับ Crisis
เช่น การซ้อมรับมือกับผู้ก่อการร้าย, การทดลองลักลอบนำข้อมูลออกจากองค์กร
10. Crisis ทำให้การมองโลกของคน และการมองขององค์กรเปลี่ยนไป
หลังจากเกิดรัฐประหาร เหตุการณ์น้ำท่วม รวมกับการประชาสัมพันธ์ที่ดีของช่อง 5 ทำให้ประชาชนชาวไทยมองว่า ทหารสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้ และผู้ที่เป็นฝ่ายขับไล่รัฐบาลมีความหวังว่าทหารจะช่วยเหลือพวกเขาได้อีก
คำถาม: เลือกภาพยนตร์ 1 เรื่องที่โด่งดัง ในปี 2015-2016 นักศึกษาเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์กับ 10 ข้อ ข้างต้น (ภาพยนตร์ 1 เรื่องอาจเพียง 6-7 ข้อเท่านั้น ไม่ครบ 10)
บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร และโมเดล
♦ ทฤษฎีการพิจารณาก่อนเชื่อ Elaboration Likelihood Theory และทฤษฎีแรงจูงใจ
♦ โมเดลแสดงแบบแผนระบบการคิด Heuristic-Systematic Model
♦ ทฤษฎีการให้เหตุผล Attribution Theory
♦ ทฤษฎีปัญหาและทฤษฎีการบูรณาการ Problematic-Integration Theory
♦ ความไม่แน่ใจ หลังจากเกิดวิกฤต Crisis
♦ นิยายธรรมนิเทศศาสตร์ เรื่อง “ไอ้ปื๊ด” โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
♦ การเข้าใจแนวคิดผิด ในการสื่อสารในภาวะวิกฤต (Misconceptions of Crisis Communication)
คำถาม C: จัดอยู่ในข้อ ข่าวเตือนภัยคือสิ่งที่ควรรู้
คือ เมื่อเราได้ทราบถึงเรื่องที่มีคนออกมาพูดกันอย่างมากถึงเรื่องของอนาคต หรือเป็นกระแสข่าว ถึงแม้ว่ายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนแต่เราก็ควรเตรียมการรับมือและ หาทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ใช่นิ่งเฉย เพราะหากเรานิ่งเฉยถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาจริงๆ เราจะแก้ไขปัญหาได้ยาก และคารแจ้งข้อมูลให้กับผู้ถือหุ้นและบุคคลกรที่อยู่ในองค์กรด้วย
ควรเตรียมพร้อมรับมือกับ Crisis
เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นแล้ว เราควรเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ว่าข้อมูลของปัญหาที่เกิดขึ้นเราจะไม่ทราบมากนัก แต่เราก็ควรเตรียมข้อมูลที่มีอยู่ให้ผู้ถือหุ้นและพนังงานในองค์กรได้ทราบโดยทั่วกันเพื่อที่จะได้จอบคำถามที่อาจจะถูกนักข่าวสัมภาษณ์เพื่อให้ตอบคำถามไปในทิศทางเดียวกัน
LikeLike
Myspace คือสังคมออนไลน์ที่เคยรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงปี คศ.2006 – 2010 ก่อนที่จะล่มสลายลงเพราะมีสังคมออนไลน์แหล่งใหม่มาแย่งตำแหน่งอันดับ 1 ไปจาก Myspace นั่นก็คือ Facebook หาก Myspace ตระหนักถึงสัญญาณเล็กๆน้อยๆ ก่อนที่จะนำไปสู่วิกฤต crisis ของ Myspace จนทำให้ต้องหายไปจากสังคมออนไลน์พักใหญ่ ส่งผลให้น้องใหม่ Facebook มาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดในเวลาอันรวดเร็วจนขึ้นเป็น No.1 of social media แทน ยกตัวอย่างสัญญาณเตือนก่อนเกิด crisis Myspace เช่น
1. Top Friends Conflict
Myspace อนุญาตให้แสดงเพื่อนที่ชื่นชอบบนหน้า profile page ของผู้ใช้งานได้สูงสุดเพียง 8 คน ซึ่งผู้ใช้งานจะสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อนที่ชื่นชอบ 8 คนนี้ได้โดยตรงเพียงแค่คบิกที่รูปหน้าเพื่อนก็จะลิงก์ไปยัง Myspace ของเพื่อนได้ทันที จนกระทั่งก่อให้เกิดปัญหาตามมาคือ เพื่อนที่ไม่ได้อยู่ในลิสต์ Top 8 จะรู้สึกอิจฉา ไม่พอใจ เกิดปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนว่าทำไมตนเองไม่มีความสำคัญพอที่จะได้อยู่ในลิสต์ Top 8 และ เกิดกรณีที่เพื่อนที่อยู่ใน Top 8 ถูกแฮก account เนื่องจากความไม่พอใจของเพื่อนคนอื่นที่ตกลิสต์ Top 8 ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้ทาง Myspace ก็อนุญาตให้เพิ่มรายชื่อเพื่อนที่ชื่อชอบ จากเดิม 8 คน เพิ่มเป็น 12,16, 24 และสูงสุดถึง 32 คน แต่วิธีนี้ไม่ใช่ทางออกของปัญหาเพราะความต้องการของผู้ใช้ไม่มีที่สิ้นสุดหรือขอบเขตจำกัดได้ และความรู้สึกของผู้ใช้ง่ายเป็นเรื่องละเอียดอ่อนหากเมื่อ Myspace ได้รับสัญญาณปัญหาของ Function Top 8 ควรจะรีบตระหนักและวิเคราะห์หาทางแก้ปัญหา เช่น อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มเพื่อนได้โดยไม่มีจำกัด และยกเลิก Function Top 8 ซึ่งเป็นตัวสร้างปัญหาทางความรู้สึกของผู้ใช้งาน และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความนิยมที่จะเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงของ Myspace
2. Friendship: Sincerity or Friend is only number
Myspace มีผู้ใช้งานที่มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกัน เช่น กลุ่มคนที่ต้องการ community เพื่อแชร์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางดนตรี และ อีกกลุ่ม คือ พวกที่ต้องการ add friend เป็นจำนวนมากเพื่อให้ลิสต์รายชื่อเพื่อนเยอะๆ ซึ่ง Myspace สามารถเพิ่มรายชื่อได้โดยง่าย ทำให้ผู้ใช้งานที่ต้องการความเป็นส่วนตัว หรือ สนใจเฉพาะเรื่องที่ชอบ รู้สึกถูกรบกวนความเป็นส่วนตัว แตกต่างจาก Line หรือ facebook ที่ต้องมี ID user หรือ E-mail เพื่อค้นหาและ add friend ดังนั้นหาก Myspace ได้รับสัญญาณเรื่องนี้ ควรสร้างระบบการเพิ่มเพื่อนที่จะต้องได้รับการอนุญาต หรือ ตอบรับจากผู้ใช้งานเสียก่อนที่จะเป็นเพื่อนกัน
3. Conflict in Comment
การโพสของข้อความระหว่างผู้ใช้งานจะเป็นแบบสาธารณะ ทุกคนสามารถมองเห็นได้ ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกอยากเลือกที่จะเก็บข้อความที่ตัวเองชอบ หรือ ลบข้อความที่ไม่ชอบจากเพื่อนที่มาโพสบนหน้าเพจของตัวเอง รวมทั้งยังไม่สามารถจำกัดการมองเห็นโพสของตัวเองได้ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างระหว่าง Myspace กับ Facebook ในด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่ต่างกัน และยังมีกรณีที่ภาพลักษณ์ของ Myspace ระยะหลังจะผู้ใช้งานเน้นการเข้ามาเพื่อหาคู่ หรือ แฟน ซึ่งมีผู้ใช้งานจำนวนมากที่มาใช้งาน แต่ก็ยังมีผู้ใช้งานอีกกลุ่มที่ไม่มีจุดประสงค์มาหาคู่ แต่ต้องการเพียงกลุ่มที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่ชอบตรงกัน
และจากตัวอย่างสัญญาณบางส่วนที่ได้ยกมานี้ มีส่วนที่ทำให้ Mysapce เกิด crisis และจุดเปลี่ยนในสังคมออนไลน์ หลังปี คศ.2010 เป็นต้นมาความนิยมของผู้ใช้งาน Myspace ก็ลดจำนวนลงอย่างมาก และเปลี่ยนมาใช้งาน Facebook แทน
ดังนั้น การก้าวเข้ามาใหม่ในโลกสังคมออนไลน์ของ Myspace โดยมีซุปเปอร์สตาร์อย่างจัสติน ทิมเบอเลค เป็นผู้ร่วมหุ้นรายใหญ่ในการพลิกโฉม Myspace ให้กลับมาแจังเกิดใหม่อีกครั้ง ซึ่งหากจะแข่งขันกับ Facebook ที่เป็นผู้นำตลาด social media อย่างแข็งแกร่งและเหนียวแน่น Myspace ควรสร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่แตกต่างจาก Facebook เช่น จุดเด่นในเรื่องของ community ด้านดนตรี ภาพยนต์ ศิลปิน บันเทิง ควรสร้างความแข็งแกร่งจากจุดเด่นของตัวเองที่เป็นชุมชนแลกเปลี่ยนความชอบทางด้านดนตรี และ ความบันเทิง ให้เป็นภาพลักษณ์ใหม่ และทำการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของตนเองให้เข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมากได้รับรู้และเกิดการอยากลองใช้งานอีกครั้ง
LikeLike
เหตุการณ์ใน Jurassic World
เหตุการณที่1 เป็นฉากที่พระเอกไปฝึกแรปเตอร์เพื่อให้มันเชื่อง เหตุการณที่2คือตอนที่แรปเตอร์ไปช่วยทีเร็กที่โดนไดโนเสาร์ที่ไม่สามารถชนะด้วยตัวเดียวได้ เหตุการณที่ 3
เป็นฉากที่โมซาซอร์ กระโดดกินปลาฉลาม เหตุการณที่ 4เป็นฉากที่พระเอกพาแร็ปเตอร์ออกล่าได้โนเสาร์ตัวร้าย ฉากที่5เป็นฉากที่ไดโนเสาร์ตัวร้ายพรางตัวแบบล่องหน
ฉากที่ 6เป็นฉากที่ได้โนเสร์หลุดมากัดคน
เนติ แก้วสวรรค์ am
57823311007
LikeLike
Civilwar 1. Crisis จะเกิดไว้ไวมาก และไม่มีใครคาดคิดไว้ อยู่ๆก็เกิดการระเบิดขึ้นที่ประชุดสหประชาชาติ ไม่มีใครได้คิดไว้ และ ก็ออกประกาศจับบัคกี้ 2. องค์กรไม่ควรแก้ปัญหา Crisis ด้วยวิธีทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คำสั่งคือฆ่าได้เลย แต่จริงๆแล้วควรจับมาเพื่อสืบสวนสอบสวน ก่อนที่จะสรุปผล 5. องค์กรไม่ควรสร้างความสับสนให้แก่สังคมเมื่อเกิด Crisis กับตัวเอง เมื่อเกิดเหตุการก่อการร้ายและ adventure ได้สร้างความเสียหาย มีผู้คนเรียกร้องว่า adventure ทำให้เกิดความเสียหายแต่ไม่รู้เลยว่า ถ้า adventure ไม่ช่วยจัดการจะเกิดความเสียหายยิงกว่า
LikeLike
ตรวจแล้ว
LikeLike
captain america civil war 1.เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิด คือการระเบิดตึกที่มีการประชุมของผู้นำของนานาชาติเพื่อมาลงนามให้สนธิสัญญาโซโคเวีย ซึ้งทำให้ผู้นำหรือราชาของ วากันด้า เสียชีวิต ซึงทำให้ความแค้นระหว่าง องค์ชาย วากันด้า กับ วินเธอร์ โซลเยอร์ชึ่งเป็นผู้ต้องสังสัยในขณะนั้น
2.ควรเตรียมพร้อมรับมือกับ Crisis คือที่เหล่าอเวนเจอร์มาประชุมเรื่องของการที่นำสนธิสัญญามาบังคับใช้ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆขึ้นอีก 3.Crisisทำการมองโลกของและองค์กรเปลี่ยนไป เหตุการที่อเวนเจอไปปฏิบัติการณ์ และ ทำให้เกิดผู้เสียชีวิตมากมายในหลายประเทศ ส่งผลให้หลายประเทศเกิดการลงนามในสนธิสัญญาในที่สุด 4. ข่าวเตือนภัยหรือสิ่งที่ควรรู้ เกิดจาการที่โทนีได้เห็นนิมีตที่เหนเหล่าอเวนเจอตาย ทำให้เขาตระหนัก ถึงเหตุการณ์ต่างๆ และ ตอกย้ำด้วยเหตุการที่แม่ของผู้เสียชีวิตได้มาพูดกับเขาว่าเขาเป็นคนผิด ทำให้เขาลงนามเห็นด้วยกับสนธิสัญญา 5.องกรค์ไม่ควรแก้ปัญหาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือการที่องกรค์สหประชาชาติได้มองเหนว่าไม่ควรปล่อยให้อเวนเจอร์ปฏิบัติภาระกิจตามใจ อีกต่อไป
6.องกร์ไม่ควรสร้างความสับสน คือการที่เหล่าอเวนเจอความขัดแย้งและเกิดการแบ่งฝ่าย ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน
LikeLike
ตรวจแล้ว
LikeLike
KIngsman 1 ควรมีการจำลองสถานการณ์เพื่อรับมือกับ Crisis เช่น เหล่าสายลับจะต้องฝึกเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆและทำภารกิจให้สำเร็จ 2 องค์กรไม่ควรสร้างความสับสนให้แก่สังคมเมื่อเกิด Crisis กับตัวเอง อย่างเช่น เมื่อองค์กรเกิดปัญหาภายในทางองค์กรจะไม่ยอมให้เรื่องหลุดออกไปสู่สังคมภายนอกเพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม 3 ควรแก้ Crisis ตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่าปล่อยให้บานปลาย สายลับถูกศัตรูฆ่าตาย ทางองค์กรได้ฝึกหน่วยสายลับรุ่นใหม่ทันที เพื่อที่จะไปกำจัดศัตรูที่มาจู่โจมองค์กร 4 ควรเตรียมพร้อมรับมือกับ Crisis สามารถฝึกหน่วยสายลับพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะตามมาได้ทันที 5 เตรียมตัวให้เหตุผลกับเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นใน Crisis โดยเชื่อมโยงกับคำพูดของตนเองก่อนหน้านี้ เช่น แฮร์รี ฮาร์ท สายลับ Kingsman ผู้รู้สึกผิดกับอดีตและอยากจะชดใช้ให้พ่อพระเอก จึงช่วยฝึกพระเอกให้เป็นสายลับ 6 องค์กรไม่ควรแก้ปัญหา Crisis ด้วยวิธีทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน Kingsman ไม่แก้ไขปัญหาโดยที่ส่งคนเก่งๆไปสู้ แต่สร้างสายลับรุ่นใหม่ขึ้นมาเพื่อไปกำจัดพวกที่ชั่วร้ายที่ทำให้องค์กรเกิดปัญหามากมาย
57123311049
LikeLike
ตรวจแล้ว
LikeLike
หนังเรื่อง San Andreas 2015
1.คือ มีปรากฎการณ์บางอย่างเกิดขึ้นที่เป็นตัวบ่งบอกว่าจะเกิดภัยพิบัติร้ายแรงภายหลัง
2.ภัยธรรมชาติที่เกิดในหนังเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงไม่ใช่ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแบบทั่วไป วิธีในการรับมือจึงต้องเป็นวิธีการรับมือที่เคร่งครัดและรอบครอบและจะใช่การรับมือแบบปกติทั่วไปไม่ได้
3.นักวิยจัยได้ทำการแถลงข่าวออกไปแล้ว ประชาชนที่ได้รับฟัง/ชมข่าวนั้นควรมีความตื่นตัวรีบทำตามวิธีที่นักวิจัยบอก ไม่ควรนิ่งนอนใจหรือคิดว่าไมใช่เรื่องจริง
4.ในหนังตอนแรกๆที่เกิดปรากฎการณ์ถ้านักวิจัยสามารถทำนายล่วงหน้าได้และแจ้งเตือนประชาชนให้อพยพไว้ล่วงหน้าดีกว่ารอจนให้ภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้วถึงแจ้งเพราะจะทำให้มีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
5.ประชาชนที่ได้รับผลกระทบทุกคนต่างโทษภัยพิบัติที่เกิดขึ้น แต่ไม่มีใครโทษตัวเองว่าสิ่งที่ทำให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรงก็เป็นเพราะมนุษย์
6.รัฐบาลแจ้งให้ประชานชนมาซ้อมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ถึงจะไม่มีภัยธรรมชาติเกิดขึ้นเลยแต่การซ้อมรับมือไว้จะเป็นประโยชน์แก้ประชนชนเองเมื่อเกิดภัยธรรมชาติทั่วไปหรือภัยธรรมชาติร้ายแรงก็ได้
LikeLike
ตรวจแล้ว
LikeLike
หน้านี้ตรวจแย้ว
LikeLike