ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

ทำให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

การทำให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) เป็นกลยุทธหนึ่งที่แสดงวิธีการทำให้ผู้อื่นสนองตอบความต้องการของเรา โดยเราจะเป็นผู้ให้รางวัล หรือผู้ลงโทษ กลยุทธนี้เป็นส่วนหนึ่งของ โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models) ก็คือโมเดล ยังไม่ใช่ทฤษฎี เพราะโมเดลต้องได้รับการพิสูจน์โดยงานวิจัย (research) จำนวนหลายครั้งก่อนที่จะถูกเรียกว่าทฤษฎี เช่น สว อิเฎล ศึกษาบทความเกี่ยวกับการใช้งานวิจัยเชิงทดลองกับการใช้ Animation เป็นสื่อการเรียนการสอน ผลลัพธ์ของงานวิจัยสามารถเป็นโมเดลได้ เพื่อที่ สว อิเฎล หรือนักวิจัยคนอื่น ๆ จะได้ทำโมเดลนั้นมาศึกษาต่อ พิสูจน์ต่อ และเมื่อค่อนข้างมั่นใจว่าโมเดลนั้นใช้งานได้จริง หรือค่อนข้างเสถียร ก็จะสามารถกลายเป็นทฤษฎีได้

Compliance Gaining โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

กลับมาพูดถึง การทำให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) ถ้า สว อิเฎล สามารถทราบว่าวิธีใดที่จะทำให้คนอื่นทำตามที่ สว อิเฎล ต้องการได้ แสดงว่า สว อิเฎล มีอำนาจสั่งการ โดยไม่จำเป็นต้องเกิดมาเป็นพระราชา

โดยทั่วไปแล้ว กลยุทธนี้จะเป็นการให้ของที่คนอื่นอยากได้ หรือขู่ว่าจะลงโทษ เพื่อให้เขาทำงานให้เรา การให้ treatment มีหลายรูปแบบ และสามารถแบ่งออกเป็น 16 กลยุทธ ซึ่งจะเขียนต่อไป การที่เราจะทำสิ่งเหล่านี้กับผู้อื่น สิ่งหลัก ๆ ที่เราต้องมี คือ

(๑) รู้ความต้องการของกลุ่มคนที่เราต้องการให้เขาทำงานให้เรา เช่น อยากให้เด็กนักเรียนทำการบ้าน สว อิเฎล อาจสัญญาด้วยขนม, อยากให้ลูกน้องตั้งใจทำงาน อาจสัญญาด้วยการเพิ่มเงินเดือน เป็นต้น
(๒) อำนาจที่จะหาสิ่งของเหล่านั้นให้แก่คนที่จะทำงานให้เรา เช่น หัวหน้าสามารถขู่ว่าจะลงโทษลูกน้องได้, เราอาจต้องหาสิ่งของให้คนที่อยู่ในระดับเดียวกับเรา เช่น ให้ของที่ระลึกเมื่อทำแบบสอบถามเสร็จ เป็นต้น

Compliance Gaining โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

16 กลยุทธ มีดังต่อไปนี้
(๑) สว อิเฎล สัญญาว่าจะให้รางวัลกับเขา (อ้างเชิงบวก)
(๒) สว อิเฎล อธิบายว่าถ้าเขาทำงานดังกล่าวแล้ว จะมีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับผู้ทำเอง เหมือนกับว่า สว อิเฎล เคยทำมาก่อนแล้ว และได้รับสิ่งที่ดี เช่น บอกกับลูกศิษย์ว่า อาจารย์ฟังเพลงภาษาอังกฤษ จนกระทั่งสามารถพูดภาษาอังกฤษได้, ดังนั้น ลูกศิษย์จึงไปฟังเพลงดังกล่าวตาม (อ้างเชิงบวก)
(๓) สว อิเฎล จะเป็นมิตรด้วย ถ้าเขาทำในสิ่งที่ สว อิเฎลต้องการ (อ้างเชิงบวก)
(๔) สว อิเฎล ให้รางวัลก่อนที่จะขอให้เขาทำงานให้ (อ้างเชิงบวก)
(๕) สว อิเฎล อธิบายว่าถ้าเขาทำในสิ่งดังกล่าวแล้ว เขาจะรู้สึกดี หรือสบายใจ เช่น อาจารย์บอกนักศึกษาว่า เลื่อนสอบให้เร็วขึ้น นั้นดี เพราะจะได้สบายใจเร็ว ๆ (อ้างเชิงบวก)
(๖) สว อิเฎล บอกเล่าว่า จะมีแต่คนมีคุณภาพ คนมีชื่อเสียงทำงานร่วมกับเขา (อ้างเชิงบวก)
(๗) สว อิเฎล ให้กำลังใจว่า คนอื่นจะชอบเขามาก ๆ ถ้าเขาทำสิ่งนั้น ๆ (อ้างเชิงบวก)
(๘) สว อิเฤล ทวงบุญคุณ ว่าเมื่อก่อน สว อิเฎล เคยช่วยเขา ดังนั้นตอนนี้เขาควรช่วย สว อิเฎล บ้าง (ไม่ใช่เชิงบวก และเชิงลบ)
(๙) สว อิเฎล บอกเขาว่า สิ่งที่จะให้เขาทำ เป็นวัฒนธรรมของที่ทำงาน, หรือ เป็นจริยธรรมที่ควรกระทำ (ไม่ใช่เชิงบวก และเชิงลบ)
(๑๐) สว อิเฎลบอกเขาว่า ถ้าเขาทำแล้ว ส่วนรวมจะได้รับประโยชน์ เช่น สุเทพเทือกชักชวนให้คนมาชุมนุม (ไม่ใช่เชิงบวก และเชิงลบ)
(๑๑) สว อิเฎล ขู่ลูกน้องว่าจะทำโทษ ถ้าไม่ทำสิ่งที่ สว อิเฎล สั่ง เช่น ขู่ลดเงินเดือน, ขู่หักคะแนน, ขู่เอาความสะดวกสะบายที่เขาเคยมีไป (อ้างเชิงลบ)
(๑๒) สว อิเฎล บอกเขาว่า ถ้าไม่ทำ จะมีผลร้ายต่อตัวเขาเอง โดย สว อิเฎลไม่ใช่ผู้ที่จะลงโทษเขา (อ้างเชิงลบ)
(๑๓) สว อิเฎล ทำโทษเขาไปเรื่อย ๆ จนกว่าเขาจะทำในสิ่งที่ สว อิเฎลต้องการ เช่น ยึดรถบริษัทจากพนักงาน จนกว่าพนักงานจะจ่ายค่าประกันด้วยตนเอง (อ้างเชิงลบ)
(๑๔) สว อิเฎล บอกเขาว่า เขาจะรู้สึกแย่มาก ถ้าไม่ทำในสิ่งนั้น ๆ (อ้างเชิงลบ)
(๑๕) สว อิเฎล บอกเล่าว่า เขาจะได้ทำงานกับคนไร้ความรับผิดชอบ คนเห็นแก่ตัว ถ้าเขาไม่ยอมทำงานที่สว อิเฎล ต้องการ (อ้างเชิงลบ)
(๑๖) สว อิเฎล ขู่ว่า ถ้าเขาไม่ทำงานดังกล่าว จะมีแต่คนเกลียดเขา (อ้างเชิงลบ)

Compliance Gaining โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

และจาก 16 กลยุทธนี้ สามารถสรุปออกมาเป็น 5 หัวข้อใหญ่ ๆ คือ

(๑) สว อิเฎลให้ของแก่เขาก่อน หรือสัญญาว่าจะให้ของแก่เขา
(๒) สว อิเฎลลงโทษเขาก่อน หรือขู่ว่าจะลงโทษเขา
(๓) สว อิเฎลบอกเขาว่า ถ้าเขาทำแล้ว จะได้ผลดีกับตัวเขาเอง (โดย สว อิเฎล ไม่ต้องให้ของแก่เขา)
(๔) สว อิเฎลอธิบายว่าสิ่งที่จะให้ทำ เป็นเรื่องที่ควรทำ ถ้าไม่ทำแปลว่าคุณไม่มีจริยธรรม
(๕) สว อิเฎล พูดถึงในอดีต ว่า สว อิเฎลเคยมีบุญคุณกับเขา และเขาควรตอบแทนโดยการทำสิ่งที่ สว อิเฎล ต้องการ

อย่างไรก็ตาม ตามหลักพระพุทธศาสนา การใช้กลยุทธ การทำให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) ไม่ใช้กัลยาณมิตร เพราะเป็นการอ้างถึงอดีต และอนาคต แต่สว อิเฎล มักจะพบเสมอในที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอ้างเชิงลบ

Compliance Gaining โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

คำถาม: คุณคิดว่า กลยุทธใดที่นำมาใช้ในภาพยนตร์แนว Action Sci-fi จะทำให้ภาพยนตร์มีความสนุกมากที่สุด เพราะเหตุใด นักศึกษาอาจยกตัวอย่างประกอบจากภาพยนตร์ที่ตนเคยดู

: : บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร ภาษา และโมเดล : :
การกระทำผิดต่อ Quantity Maxim หรือมุสาวาทในขณะสนทนา
ทฤษฎีอวจนภาษา (Theories of Nonverbal Coding)
ทฤษฎีการปรับตัวตามสภาพสังคม (Communication Accommodation Theory)
สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)
ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม
ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)
ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)
ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

13 Comments

Filed under Communication

13 responses to “ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

  1. 53123311054

    กลยุทธ์ที่ควรใช้ และ กลยุทธ์ที่ไม่ควรใช้ ยกตัวอย่างเช่น การจะสมัครแข่งขันใน Contest
    กลยุทธ์ที่ควรใช้
    – สัญญาว่าจะให้รางวัลกับเขา ถ้าหากเขาชนะการประกวด
    – ถ้าเขาเข้ามาสมัครแข่งขันแล้ว จะมีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับเขาเอง จะทำให้เขามีโอกาสในการที่จะเข้ามายังวงการบันเทิง เป็นการเปิดโอกาสให้กับตัวเองได้รับและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
    – เป็นการให้กำลังใจว่า คนอื่นจะชอบเขามาก ๆ ถ้าเขาทำสิ่งนั้น ๆ ถ้าเข้ามาร่วมการประกวดจะทำให้มีผู้คนรู้จักเขามากขึ้น อาจจะมีแฟนคลับมากมาย
    – บอกว่าจะมีแต่คนที่มีคุณภาพ และคนที่มีชื่อเสียงมากมายที่จะเข้ามาทำงานร่วมกับเขา และเขาจะได้รับความรู้และสิ่งต่างๆเพิ่มมากขึ้น
    กลยุทธ์ที่ไม่ควรใช้
    – การทวงบุญคุณ
    – บอกเขาว่า เขาจะรู้สึกแย่มาก ถ้าไม่ทำในสิ่งนั้น ๆ ถ้าไม่เข้ามาร่วมแข่งขันเขาอาจจะเสียใจภายหลังที่พลาดโอกาสดีๆไป
    -บอกว่า เขาจะได้ทำงานกับคนไร้ความรับผิดชอบ คนเห็นแก่ตัว ถ้าเขาไม่ยอมทำงาน
    -บอกเขาว่า ถ้าไม่ทำ จะมีผลร้ายต่อตัวเขาเอง

    Like

  2. กลุยุทณ์ด้านหนังยิ่งดัง ยิ่งโดนใจคนดู ก็ยิ่งดึงดูดให้แบรนด์มีส่วนร่วม กลยุทธ์ Tie-in ในหนังจึงเป็นตัวเลือกของแบรนด์ที่ต้องเข้าถึงคนดูได้ดี ถ้าเราอยากเจาะตลาดควรออกโฆณาบ่อยออกสื่อบ่อยๆจากทีวีก็ดีผ่านเว็บไต์ก็ดีครับ

    เนติ แก้วสวรรค์ am
    57823311007

    Like

  3. วรรธนะ 57123311007

    กลยุทธที่นำมาใช้ในภาพยนตร์แนว Action Sci-fi จะทำให้ภาพยนตร์มีความสนุกมากที่สุด คือการอ้างเชิงลบ อย่างตัวอย่างภาพยนตร์ของผมคือเรื่อง Wanted คึอการที่ตัวหลักของเรื่องได้มารู้ว่า พ่อของตัวเองเป็นคนขององกรค์ฆ่า และ ได้ถูกคนๆนึงในองกรค์หักหลังแล้วฆ่า ทำให้เกิดความแค้นอย่างมาก และ ยังรู้อีกว่า คนที่ฆ่าพ่อของตัวเองพยายามที่จะฆ่าตัวเอง ทำให้ต้องฝึกฝนตัวเองที่ไปสู้ จุดสำคัญอยู่ที่ “ถ้าไม่ฝึกให้เก่งกว่านี้แล้วไปฆ่าคนๆนั้น เค้าก็จะมาฆ่าตัวเองแทน”

    Like

  4. 57123311048

    สำหรับผมนั้นไม่ชื่นชอบหนัง action แนวบู๊ระห่ำ เท่าไหร่นัก แต่ขอยกตัวอย่างเป็นหนังแนว horror สยองขวัญแทน The Conjuring เป็นหนังแนวสยองขวัญที่หยิบยก บุคคลซึ่งเคยมีอยู่จริง และหยิบยกลัทธิความเชื่อหรือศาสนาด้วย เนื้อเรื่องกล่าวถึงบ้านหลังที่มีประวัติความหลอนเป็นบ้านต้องสาป แล้วก็มีครอบครัวย้ายมาอยู่ ทำให้เกิดเรื่องประหลาดมากมาย จึงเดือดร้อนไปถึงคู่สามีภรรยานักปราบผี ซึ่งก็ท้าวความประวัติของทั้งคู่โดยเชื่อมโยงกับ ตุ๊กตาแอนนาเบล(ใครคงรู้จักเธอ555) ทำให้คนดูเชื่อ และมองดูยังไงก็คงเป็นนักปราบผีไม่ผิดแน่ๆ(มีการใส่รายระเอียดให้กับตัวละคร) การที่หนังแนว horror จะสมจริงผมคิดว่าต้องมีการประวัติก่อนที่จะเกิดเรื่องต่างๆ ไม่ถึงขนาดต้องอ้างอิงจากเรื่องจริง(ถ้ามาจากเรื่องจริงจะน่าดูมากยิ่งขึ้น) ฉากสถานที่ควรสมจริงและเหมาะสมกะเรื่องราว ที่เหลือคงเป็นที่ฝีมือของนักแสดงในการถ่ายทอดความรู้สึกมายังคนดู

    Like

  5. Sitthichai Boonthos

    จะมีแต่คนมีคุณภาพ คนมีชื่อเสียงทำงานร่วมกับเขา (อ้างเชิงบวก)จะทำให้หนังAction Sci-Fi สนุกมากยิ่งขึ้น เช่นThe Avengers ที่มีเหล่าซุปเปอร์ฮีโร่มาช่วยกันกำจัดเหล่าวายร้ายที่มารุกรานโลกเพื่อปกป้องมนุษย์ให้พ้นจากหายนะซึ่งตัวละครแต่ละตัวเป็นตัวละครที่มีคุณภาพและชื่อเสียงเมื่อมารวมกันจะทำให้หนังมีคุณภาพ สนุกและน่าดูอีกด้วย ถ้าหากไม่มีการรวมเหล่าฮีโร่หนังก็จะลดความสนุกลงไปเพราะส่วนใหญ่คนดูจะชอบดูหนังที่มีตัวละครที่มีชื่อเสียงรวมอยู่ด้วยกันมากกว่า

    57123311049

    Like

  6. คิดว่า กลยุทธ์ที่ใช้กับภาพยนตร์แนว Action Sci-fi แล้วสนุก น่าจะใช้เรื่องที่ว่าถ้าตัวเองทำเป็นจะเป็นผลดีกับตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น Avatar ตัวเอกพิการ ขาทั้งสองของขาไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งเขาอยากจะมีขาที่สามารถเดินได้อีกครั้ง โดยทางกองทัพได้เสนอว่า ถ้าเขาเป็นชาวนาวีซะ ก็จะทำให้เขามีขาที่สามารถเดินได้อีกครั้ง และสามารถไปสอดแนมว่าชาวนาวีกำลังคิดหรือทำอะไรอยู่มาบอกแก่กองทัพ ซึ่งนั้นก็เป็นผลดีต่อตัวเองเพราะว่าเขาสามารถทำในสิ่งที่เขาต้องการทำได้
    ฐิติพร ยิบมันตะสิริ 57123311026

    Like

  7. ผมคิดว่า กลยุทธ์ที่จะนำมาใช่กับภาพยนตร์แนว Action Sci-fi ให้สนุกนั้น ผมคิว่าน้าใช่ (ไม่ใช่เชิงบวก และ เชิงลบ) ถ้าเขาทำแล้วส่วนรวมจะไดรับประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Independence Day หรือภาษาไทย ไอดี 4 สงครามวันดับโลก เป็น เรื่องราว เกี่ยวกับ มนุษย์ต่างดาวบุกโลกเพื่อกวาดล้าง มนุษย์โลก เพื่อนำทรัพยากรโลกมาเป็นของตน ซึงเหตูการที่เกิดขึ้น คือ นายกกระทรวงกลาโหมบอกให้ประธานาธิบดีสั่งยิงนิวเครียร์ ใส่ยานของต่างดาวซึ่งลอยลำอยู่เหนื่อเมืองใหญ่ เพื่อรักษาคนส่วนมากที่ยังรอดชีวิต ให้รอดพ้นจากการกวาดล้าง

    57123311002

    Like

  8. อภิวัฒน์ ศรีเสน 57823315023 ad ปี2 vip

    กลยุทธที่นำมาใช้ในหนังaction sci-fi แล้วสนุก mission impossible ในหนังเป็นแนวสายลับที่ส่งมาสืบความลับของรัฐอีทานเป็นสายลับที่ถูกฝึกฝนมาอย่างดีและมีกลยุทธทางด้านการต่อสู้และการวางแผนและในทีมของเขามีผู้ช่วยที่เก่งด้านเจาะระบบโปรแกรมเพื่อช่วยโค่นองกรที่ประสงค์ร้าย

    Like

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.