ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)

บทความเรื่อง ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)

เป็นทฤษฎีในหมวดของความสัมพันธ์แบบระบบเครือข่ายของการสื่อสาร (Cybernetic Tradition) ซึ่งทฤษฎีนี้จะศึกษาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง การให้ความหมายกับสารที่เราได้รับ (meaning) และผลของความหมายนั้น ที่จะแสดงออกโดยการกระทำ (action) โดยปกติแล้ว ทฤษฎีนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของ กลุ่มทฤษฎีสังคมและวัฒนธรรม (sociocultural tradition) แต่มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงของเครือข่ายความสัมพันธ์เหมือนใน ทฤษฎีในกลุ่ม ไซเบอร์เนติกส์ (Cybernetic Tradition)

ทฤษฎี

การให้ความหมาย และการกระทำ (Meaning and Action) เป็นส่วนหนึ่งใน ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning) การให้ความหมายและการกระทำ (Meaning and Action) นี้ จะส่งผลซึ่งกันและกัน โดยเป็นไปไม่ได้ที่การส่งผลซึ่งกันและกันจะเกิดจากตัวแปรคู่เดียว เพราะการกระทำหนึ่ง ๆ จะดำเนินไปได้เมื่อมีการกระทำอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วยเสมอ และการให้ความหมายหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยประสบการณ์และความเป็นตัวตนที่แตกต่างกันของผู้รับสารแต่ละคน

นอกจากผลกระทบจากการกระทำอื่น ๆ ที่รวมอยู่กับการกระทำหลัก และผลกระทบจากประสบการณ์ของผู้รับสารแล้ว ยังมีตัวแปรอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมระหว่างผลกระทบทั้งสองอย่าง เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำและผู้รับสารซึ่งจะให้ความหมายต่อการกระทำนั้น ๆ

การให้ความหมายของการกระทำ จะส่งผลต่อระบบการคิดต่อหลาย ๆ ส่วน หลาย ๆ ระดับ เช่น ถ้าสว อิเฎลให้เกรดนักศึกษาคนหนึ่ง เป็น F (ตก) นักศึกษาจะเสียใจกับตัวของเขาเอง, เกลียดผู้ที่กระทำกับเขา ซึ่งก็คืออาจารย์, ด่าทอมหาวิทยาลัย ซึ่งก็คือองค์กรภาพรวม, อิจฉาเพื่อน ๆ ซึ่งคือผู้ที่อยู่ในสถานะใกล้เคียงกัน เป็นต้น

ทฤษฎี

การให้ความหมายแก่การกระทำ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ

(๑) การให้ความหมายอย่างพุทธิจริต (Constitutive Rules) พุทธิจริตคือหนึ่งในหลักธรรม จริต ๖ ซึ่งผู้ที่มีลักษณะจริต เป็น พุทธิจริตนี้ จะมองโลกตามความเป็นจริง เข้าใจความเป็นไปของโลก ดังนั้นการให้ความหมายแก่สิ่งที่เขาถูกกระทำ จะเป็นไปด้วยอุเบกขา คือ มองตนเองเช่นเดียวกับมองคนอื่น ดังนั้น ถ้า สว อิเฎล มีจริตแบบพุทธิจริต เมื่อหัวหน้าของ สว อิเฎล เรียกสว อิเฎล ไปตักเตือน สว อิเฎล จะไม่เกิดความโกรธ และจะไม่บ่น โดยเข้าใจว่า หัวหน้าต้องการให้ สว อิเฎล พัฒนาตนเอง และการพัฒนาตนเองของ สว อิเฎลนั้น จะให้ผลดีแก่องค์กรร่วมถึงประเทศชาติ

(๒) การให้ความหมายอย่างปุถุชน (Regulation or Rules of Action) คนทั่วไปสามารถให้ความหมายต่อการกระทำของคนอื่นได้หลายรูปแบบ และมีวิธีแก้ปัญหาที่เกิดจากความหมายนั้น ๆ ดังนี้

– 1 – หากเคยเกิดความกังวลในรูปแบบที่เคยเกิดมาในอดีต สว อิเฎล จะนึกเอาว่าตอนนั้นเคยทำอะไรแล้วปัญหาจึงจะหมดไป พอนึกได้แล้ว สว อิเฎล ก็ทำซ้ำแบบเดิม เพื่อแก้ปัญหาปัจจุบันตามประสบการณ์
– 2 – แก้ไขปัญหาปัจจุบัน โดยมิให้เกิดในอนาคต
– 3 – ปล่อยไป ทำตัวเหมือนตนมิใช่เจ้าชะตาของตน ถ้าเขายุให้โกรธ ก็โกรธ
– 4 – สร้างเหตุใหม่ เพื่อให้เหตุเก่าดับ การสร้างเหตุใหม่นี้ มีความยืดหยุ่นและเป็นไปได้หลายรูปแบบ แต่จะเป็นการแก้หลังจากที่เคยให้ความหมายของการกระทำของหัวหน้าไปแล้ว (จะไม่แก้ที่การให้ความหมาย เพราะถ้าแก้ที่การให้ความหมาย จะไปเข้าหมวด ข้อ ๑. )

บทเรียนนี้ สอนให้ สว อิเฎล ทราบว่า เมื่อทีสิ่งที่มากระทบ และเราให้ความหมายกับมัน การให้ความหมายที่แตกต่าง จะนำมาซึ่งการคิดและการกระทำของเราที่แตกต่าง

ทฤษฎี

คำถาม: ยกตัวอย่างการให้ความหมายอย่างพุทธิจริต ที่เคยเกิดขึ้นในประสบการณ์ของนักศึกษาเอง และอธิบาย

: : บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร ภาษา และโมเดล : :
การกระทำผิดต่อ Quantity Maxim หรือมุสาวาทในขณะสนทนา
ทฤษฎีอวจนภาษา (Theories of Nonverbal Coding)
ทฤษฎีการปรับตัวตามสภาพสังคม (Communication Accommodation Theory)
สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)
ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม
ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)
ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)
ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

11 Comments

Filed under Communication

11 responses to “ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)

  1. เคยมีปัญหากับเพื่อนในกลุ่ม เมื่อนานมาแล้ว ได้มีปากเสียงกันจนทะเลาะและต้องแยกกันอยู่ แบ่งกันเป็น2พวก เวลามีงานในห้องก็จะไม่ได้สนทนาอะไรกันจน อาจารย์ที่ปรึษาเข้ามาคุยและก็ว่าให้ปรับความเข้าใจกัน และหลังจากนั้นมาในห้องก็กลับมาสู่ความเป็นปกติไม่มีเรื่องกัน ถ้ามีเรื่องก็จะช่วยกันและจะผ่านมันไปให้ได้
    นาย วัชพล ฉายอรุณ Am
    57823311006

    Like

  2. พุทธิจริต ของผมก็คือการพูดตรงบางทีผมพูดตรงเกินไปก็ทำให้ทะเลาะกับเพื่อนบ่อยๆ
    ผมเคยพูดด่าเพื่อนไปเรื่องไม่ค่อยช่วยทำงานกลุ่มจนทำให้มันไม่ยอมคุยกับผมหลายเดือนจนเวลาผ่านไปเรื่อยมันก็มาขอโทษเพราะว่ามันผิดจริงแต่ผมไม่ได้คิดอะไรก็เลยบอกว่าไม่เป็นไรเพื่อนเรื่องแค่นี้เอง

    เนติ แก้วสวรรค์ am
    57823311007

    Like

  3. วรรธนะ 57123311007

    การให้ความหมายอย่างพุทธิจริต ของผมก็คือการที่ทะเลาะกับเพื่อนสมัยมัธยมโดยที่ แบ่งงานกันออกไปทำแล้วก็เกิดเหตุการณ์ทะเลาะกัน โดยที่งานที่แบ่งกัน งานของผมหนักกว่าของคนอื่น ก็เลยทะเลาะกัน โดยตอนหลังก็มาคิดได้ว่า มันไม่ได้หนักกว่างานของคนอื่นหรอก แค่งานที่ได้มานั้นเราไม่ถนัดเท่านั้นเอง หลังจากนั้นก็ได้มีการปรับความเข้าใจกัน และ ทุกครั้งที่แบ่งงานก็จะแบ่งตามความถนัดของแต่ละคน และก็ถามความสมัครใจของแต่ละคนก่อน

    Like

  4. ลลิตา รัตนสมบูรณ์ 57823315013

    การให้ความหมายอย่างพุทธิจริตของดิฉัน คือประสบการณ์จากในครอบครัวของดิฉัน เรื่องมีอยู่ว่า ในวันที่ฉันจะไปเที่ยวทะเลกับเพื่อนๆที่ได้นัดกันไว้มาเป็นเดือน สองเดือน แต่พอใกล้วันที่จะเดินทาง ประมาณ 3 วันได้ อยู่ดีๆพ่อกับแม่ของฉันก็มาบอกว่าไม่อนุญาตให้ไปทั้งๆที่ฉันได้จะได้เตรียมกระเป๋า เสื้อผ้า เครื่องใช้ต่างๆไว้เรียบร้อยแล้ว และแม่ก็ได้มาคุยกับฉันว่า “ที่แม่ไม่ลูกไปเพราะแม่กลัวอันตราย แม่เป็นห่วงมาก กลัวลูกจะไปเจอสิ่งไม่ดี และต่อว่าดิฉันเล็กน้อย” และพ่อของดิฉันก็โทรมาว่า “อย่าไปเลย อยู่บ้านเถอะ” และในวินาทีนั้นฉันก็ตอบพ่อกับแม่ไปว่า “ไม่ไปก็ได้ค่ะ” เพราะดิฉันรู้ดีว่าที่พ่อแม่พูด พ่อแม่เตือน พ่อแม่ด่าว่าเรา เพราะท่านเป็นห่วงเรา และรักเรามากจริงๆ ท่านไม่อยากให้เราเกิดเหตุการณ์ไม่ดีๆกับตัวเรา และยังเป็นผลดีกับตัวเราด้วยทำให้พ่อแม่สบายใจไม่ทุกข์ใจ นั่นคือความเป็นห่วงของบิดามารดาฉันเข้าใจและยอมรับในเหตุการณ์ได้ดีค่ะ
    (นางสาวลลิตา รัตนสมบูรณ์ 57823315013 AD.01 ปี2 ภาค VIP)

    Like

  5. Minlada Laebua

    เราไม่ควรตัดสินใครจากคำพูดของคนอื่น เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าคนๆนั้นเป็นเหมือนทีเขาพูดหรือไม่ ลักษณะภายนอกเขาอาจจะเป็นคนตรงๆแรงๆแต่ลึกๆเขาอาจจะไม่ได้คิดร้ายกับใคร ต่างจากคนที่ดูเรียบร้อยแต่ข้างในเต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา ฉะนั้นเราไม่ควรเชื่อในสิ่งที่ได้ยินมา ควรใช้เหตุผล ความคิด หลักการ ในการมองคนหรือเลือกคบคน

    we should not judge someone by the words of others. Because we can not know whether that person was like he was saying or not. Appearance may be straight, but the deep, he could not have conspired with anyone. Unlike the ones that look presentable, but inside are full of envy. So we should not believe everything they heard should use reason in principle the idea of ​​a person or a married person.

    Minlada Laebua 57823315006AD vip

    Like

  6. อัจจิมา สุทธนไตร 57823315021

    เรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยมัธยมปลายฉันและเพื่อนๆค่อนข้างเป็นเด็กที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องเรียนเท่าไหร่ ขี้เกรียจเรียน เบื่อๆเรียน ใน5วันของการเรียนนั้น ฉันจะเข้าเรียนแค่3ครั้ง ที่เหลือก็โดดไปเที่ยวบ้าง ไปบ้านเพื่อนบ้าง เป็นอย่างนี้หลายอาทิตย์ จนอาจารย์ที่ปรึกษาเรียกไปคุยเรื่องคะแนนในรายวิชานั้นเกรดตกมาก ฉันและเพื่อนๆที่โดดไปด้วยกันก็โดนอาจารย์ต่อว่า และฉันก็เข้าใจได้ว่าฉันทำตัวของฉันเองถ้าเราไม่โดดเรียนก็จะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น และฉันก็ไม่ได้โกรธอาจารย์ของฉันเลยที่ต่อว่าฉัน เพราะอาจารย์หวังดีและเป็นห่วงฉันกับเพื่อนๆจริงๆ อาจารย์เขาก็อยากให้เราเป็นคนที่รักเรียนและมีอนาคตที่ดี
    นายอัจจิมา สุทธนไตร 57823315021AD.01 ปี2 ภาค VIP

    Like

  7. Sitthichai Boonthos

    การให้ความหมายอย่างพุทธิจริต ผมและเพื่อนตอนเรียนมัธยมปลายไม่ตั้งใจเรียนอาจารย์สั่งงานหรือการบ้านก็ไม่ยอมทำรอมาทำตอนท้ายเทอมซึ่งต่างจากเพื่อนกลุ่มอื่นๆ เพื่อนกลุ่มอื่นช่วงท้ายเทอมจะสบายมากเพราะส่งการบ้านหมดแล้วไม่มีงานค้างส่วนกลุ่มผมจะต้องเหนื่อยเป็นพิเศษเพราะไม่ยอมทำตั้งแต่แรก ซึ่งเมื่อมองดูแล้วมันก็สมควรเพราะต้นเทอมไม่ยอมทำมัวแต่เที่ยวเล่นส่วนเพื่อนกลุ่มอื่นจะรีบทำให้เสร็จซึ่งก็โทษใครไม่ได้นอกจากตัวเราเองแต่เมื่อรีบทำงานจะเกิดการกระทบกระทั่งกัน ทะเลาะกันบ้างแต่ก็โกรธกันไม่ได้เพราะงานจะไม่เสร็จได้แต่ช่วยกันแก้ปัญหาที่สร้างขึ้นให้เสร็จเรียบร้อย

    57123311049

    Like

  8. อรรถชัย 57123311021

    พุทธิจริต ของผมคือ ครังหนึ่งเคยทะเลาะกับพี่ชายอยู่ตลอดเวลาในทุกๆเรื่องใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเเต่ไม่เคยจะได้คุยกันเลยเขม่นใส่กันอยู่ตลอดไม่ชอบไปใหนร่วมกันเเต่ต้องไปบ้างในบางเวลาที่ต้องไปทั้งครอบครัวเเต่ก็จะไม่คุยกันเลย จนมาวันนึงต่างคนต่างโตขึ้นได้คุยกันมากขึ้นมีความคิดมากขึ้นผ่านชีวิตมากขึ้นจึงเข้าใจว่าการมีพี่น้องที่อยู่ล่วงกันมันดีเเค่ใหนควรที่จะรักกันไว้เวลาเดือดร้อนทุกวันนี้ก็คอยช่วยเหลือกัน

    Like

  9. พุทธิจิตร ‘ทางออกของปัญหา’การใช้ชีวิตเต็มไปด้วยบทพิสูจน์มากมาย บ่อยครั้งที่เราได้เจอกับปัญหาไม่ว่าจะหนักหนาแค่ไหน เราสามารถผ่านมาได้ถือว่าโชคดีมากๆ ทุกๆปัญหามีทางออกเพียงแค่เราต้องรู้จักให้เวลามัน ค่อยๆคิด ค่อยๆแก้ไข ค่อยๆหาคำตอบ แล้วเราจะสามารถผ่านมันไปได้ และมันจะทำให้เราเข็มแข็งขึ้น ฉันเคยเจอปัญหามามากแต่ทุกๆครั้งก็ผ่านไปได้เพราะฉันรู้ว่ามีคนที่เจอปัญหาแย่กว่าเราอีกเยอะฉันจึงผ่านมันไปได้ด้วยตัวฉันเอง

    Like

  10. หวาย 035

    ในประสบการณ์ของผม คือ ในช่วงที่เรียนมัธยมปลายชอบออกจากบ้านตอนกลางคืนในวันเสาร์และนอนค้างคืนกับเพื่อนที่ออกไปเพราะ เพื่อนชอบชวนดื่มไปผับไปบาร์กันคือตอนออกจากบ้านจะไม่บอกใคร แล้วค่อยบอกตอนกลับมาจนมาถึงวันหนึ่งป้าที่บ้านได้ต่อว่าเพราะไปไหนมาไหนไม่ค่อยจะบอกทำให้ที่บ้านเป็นห่วงผมก็เข้าใจแต่เวลาบอกไปแล้วเขาไม่ชอบให้ไปเลยปรับทัศนคติกันเล็กน้อยเอาใจเขามาใส่ใจเราจึงได้รู็ว่าเขาห่วง จากนั้นเวลาไปไหนมาไหนก็บอกเขาก่อนตลอดมา

    Like

  11. อภิวัฒน์ ศรีเสน 57823315023 ad ปี2 vip

    การให้ความหมายพุทธิจริต ตอนสมัยช่วงปวชผมรู็สึกว่าตัวเองเหลวไหลมากทั้งโดดเรียนมีเรื่องชกต่อยไม่เว้นแต่ละวันบ้างก็มีเรื่องกับโรงเรียนอื่นจนเกือบจะเรียนไม่จบเพราะเหลวไหลการบ้านแทบไม่เคยทำส่งเสียเงินค่าซ้อมทุกเทอมแล้วพอผมขึ้นปี3ผมก็เริ่มเปลี่ยนตัวเองใหม่เลิกเกเรเลิกโดดเรียนเลิกมีเรื่องก็ทำให้ผมเรียนจบมาได้และได้มาเรียนต่อมหาลัยทำให้ผมรู้สึกเหมือนเป็นคนใหม่อีกครั้ง

    Like