ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม

บทความเรื่อง ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม

. . .การบังคับให้คนอื่นเชื่อ เป็นเรื่องบาป ไม่ควรทำ
การดูถูกคนอื่นว่าโง่ เพื่อให้เขาเชื่อเรา ไม่ควรทำ
การใส่ความว่าความคิดคนอื่นผิด ไม่ควรทำ
การเชิญชวนให้คนอื่นมองโลกอย่างเรามอง ทำได้
แต่ทำด้วยความสุภาพ . . .

สว อิเฎล ได้อ่านวิธีการคิดนี้ ทำให้คิดถึงหลักคำสอนพระพุทธศาสนา แม้เราจะตักเตือนเขา ถ้าทำให้เขาไม่สบายใจก็ไม่ควรทำ สว อิเฎล จึงได้ร้อยเรียงเรื่อง ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) เป็นคำพูดข้างต้น

ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม

จากคำพูดข้างต้นนั้น Sonja K. Foss และ Cindy L. Foss ได้แนะนำวิธีชักชวนเชื้อเชิญ อย่างสันติ และน่าจะได้ผล คือ

(๑) สร้างบรรยากาศในการชักชวน เช่น ตะเบงชะเวตี้ชวน สว อิเฎลออกรบ จึงพา สว อิเฎลเดินดูทหารซ้อมรบอย่างตั้งอกตั้งใจ ทำให้ สว อิเฎลเกิดความฮึกเหิม
(๒) สร้างความสบายใจ หรือ อุ่นใจ ให้กับผู้ที่ถูกชวน เช่น ตะเบงชะเวตี้บอกว่า ถ้า สว อิเฎล มารบให้ ลูกเมียของ สว อิเฎล จะได้รับการดูแลอย่างดี, หรือ ถ้า สว อิเฎล เซนต์สัญญาเป็นทหารแล้ว ข้อมูลของ สว อิเฎล จะไม่ถูกนำไปเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต หรือภาพถ่ายของ สว อิเฎล จะไม่ถูกส่งไปยังเมืองยะไข่
(๓) ฟังเขาก่อน ที่จะให้เขาฟังเรา เช่น ตะเบงชะเวตี้ สอบถามความเห็นจาก สว อิเฎล หลังจากที่ สว อิเฎล ได้เดินชมการซ้อมรบของทหาร เมื่อสว อิเฎลให้ความเห็นเสร็จแล้ว ตะเบงชะเวตี้จึงเริ่มชวน โดยการชวน ใช้คำพูดของ สว อิเฎล เป็นพื้นฐาน สมมติว่า สว อิเฎล บอกว่า “น่าจะให้ทหารใช้ธนูมากกว่าที่จะซ้อมรบประชิดตัว” และตะเบงชะเวตี้ก็กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ก็ขอเชิญอิเฎลมาเป็นพลธนู และฝึกสอนทหารของข้า”
(๔) แบ่งปันความคิดเห็นกัน สมมติว่า สว อิเฎล ปฏิเสธการเข้าร่วมเป็นทหารในกองกำลังของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ตะเบงชะเวตี้จะถามว่าเพราะอะไร ถ้าเขาทราบสาเหตุ เขาก็จะเริ่มโน้มน้าวจากสาเหตุนั้น

ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม

คำถาม: แต่งเรื่องสมมติ การชักชวน 4 ขั้นตอน โดยสมมติให้ คุณพยายามชักชวนเพื่อนให้ไปดูหนังเรื่องที่เพื่อนไม่ชอบ

: : บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร ภาษา และโมเดล : :
การกระทำผิดต่อ Quantity Maxim หรือมุสาวาทในขณะสนทนา
ทฤษฎีอวจนภาษา (Theories of Nonverbal Coding)
ทฤษฎีการปรับตัวตามสภาพสังคม (Communication Accommodation Theory)
สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)
ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม
ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)
ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)
ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

24 Comments

Filed under Communication

24 responses to “ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม

  1. 1 ชวนเพื่อนไปบอกว่ามีสาวไปดูด้วย
    2 เดี้ยวเลี้ยงไปดูด้วยกัน มีคนบอกว่าหนังเรื่องนี้สนุกมาก
    3 ไปดูเป็นเพื่อนหน่อยไม่อยากดูหนังเรื่องนี้คนเดียว
    4 หนังเรื่องนี้ในเว็บไซต์ให้เต็ม10เลย ไปด้วยกันนะเพื่อนกูไหว้ละ
    นาย วัชพล ฉายอรุณ Am
    57823311006

    Like

  2. 1.เห้ยเพื่อนหนังเรื่องนี้นางแอกเซ็กซี่มากไปดูกับกูดิ
    2.ไปดูหนังป่าวเรื่องนี้เขาบอกว่า เต็ม10/10 น่าดูมากๆ
    3.เพื่อนไปดูหนังป่าววันนี้วันพุธหนังลดด้วย
    4.ไปดูหนังเรื่องนี้กับกูป่าวกูเลี้ยงวันนี้กูทูกหวย 555

    เนติ แก้วสวรรค์ am
    57823311007

    Like

  3. 1.หากเพื่อนไม่ชอบดูหนังในโรงหนังเราก็จะบอกให้เพื่อนเปลี่ยนบรรกาศโดยการให้เพื่อนดูหนังแบบปิดไฟเพราะบรรกาศคล้ายโรงหนังและเปิดเสียงให้ดังจนข้างบ้านรำคาญจนต้องไล่ให้พวกเราไปดูหนังกันในโรงแทน
    2.หากเพื่อนไม่ยอมไปอีกเพื่อความสบายใจเราก็จะเสนอตัวให้เพื่อน(ล้อเล่น)เราก็ใจดีเดี๋ยวเรื่องนี้เลี้ยงเอง มีเพื่อนคนไหนไม่ชอบของฟรีบ้างละเสร็จเราแน่นอน
    3.เมื่อดูหนังเสร็จก็ชวนเพื่อนคุยเรื่องหนังที่ดูฉากนั้นดีเนอะฉากนั้นมันส์วะวันหลังมาดูในโรงอีกดีมั้ยสนุกกว่าเยอะแล้วรอบถัดไปก็ให้เพื่อนเลี้ยงคืน 5555
    4.แต่ถ้าเพื่อนไม่อยากดูอีกก็จะถามเหตุผลว่าเป็นเพราะอะไรสายตาไม่ดีหรอจอใหญ่แล้วปวดตารึป่าวก็จะได้พาเพื่อนไปรักษาให้ถูกวีธีครับ

    เทิดเกียรติ รุ่งสกุล 57123311001

    Like

  4. วรรธนะ 57123311007

    (๑) สร้างบรรยากาศในการชักชวน เช่น พูดเกริ่นถึงความสนุกของตัวหนัง ความน่าสนใจต่างๆ เช่นหนังบู้ ก็จะบอกถึงความมันส์
    (๒) สร้างความสบายใจ หรือ อุ่นใจ ให้กับผู้ที่ถูกชวน เช่น บอกไปว่าถ้าไปดูรับรองว่าไม่เสียดายเงินแน่นอนสนุกมาก
    (๓) ฟังเขาก่อน ที่จะให้เขาฟังเรา เช่น แล้วถามความเห็นว่าชอบไหม ไม่ชอบตรงไหนหรอยังไงดี
    (๔) แบ่งปันความคิดเห็นกัน แจงให้เห็นว่าไอตรงที่เค้าไม่ชอบเนี่ย จริงๆก็มีข้อดีนะ อย่างเช่นนั่นนี่นู้นว่าไปเรื่อยๆ

    Like

  5. เค้กไง 043

    1. สร้างแรงจูงใจให้เพื่อน เช่น เรื่องนี้สนุกนะถ้าไม่ดูแล้วจะเสียใจคนเค้าไปดูกันเยอะแยะเดี๋ยวคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องนะ
    2. แลกเปลี่ยนความคิด เช่น เพื่อนไม่ชอบหนังแนวนี้ เราก็อธิบายว่ามันมีดียังไง
    3. อย่างเด็ด เช่น นักแสดงเรื่องนี้เด็ดนะเพื่อน แสดงหนังก็ดี พาเราอินไปกับตัวละครนั้นเลยนะ
    4. ออกให้นะ เช่น ไปดูหนังเรื่องนี้เป็นเพื่อนหน่อยดิ เดี๋ยวเลี้ยงเอง

    Like

  6. 1.ถ้าเพื่อนไม่ชอบก็จะเริ่มชักชวนโดยการบอกว่าเรื่องนี้หนังดีจริงไม่ดูไม่ได้หนังนี้คล้ายๆชีวิตมึงเลยมึงต้องลองไปดู
    2.ถ้าเพื่อนไม่ยอมไปเพราะกลัวเสียเงินกับเรื่องที่ไม่ชอบก็จะบอกว่างั้นเอางี้เดี๋ยวรอสักพักหลังโรงฉายสักวันสองวันเดี๋ยวในเว็บก็มีไว้ดูในเว็บ
    3.ก็ลองถามเรื่องที่เราให้เขาไปดูมาเป็นไงหนังดีไหมบอกแล้วคล้ายๆชีวิตมึงเลย
    4.แต่ถ้าหากเพื่อนไม่ชอบก็จะลองถามว่าทำไมไม่ชอบแนวนี้หรองั้นเดี๋ยววันหลังลองเปลี่ยนเป็นดูแนวอื่นบ้าง

    ภานุพงษ์ เมฆกกตาล 57123311017

    Like

  7. อรรถชัย 57123311021

    1.สร้างบรรยากาศ เช่น หูยเมื่อวานมีคนโพสเต็มเฟสเลยหนังเรื่องนี้สนุกมากลองไปดูกัน
    2.สร้างความสบายใจ เช่น หลังจากดูหนังเรื่องนี้จบเเล้วไปหาอะไรอร่อยๆกินกัน
    3.ฟังเขาก่อน เช่น ชอบหนังเเนวใหนคิดยังไงมั่งกับการที่ชวนมาดูหนังเรื่องนี้
    4.เเล้กเปลี่ยนความคิด เช่น ไม่ชอบหนังเรื่องนี้เพราะอะไร เมื่อก่อนเราก็เคยไม่ชอบเเน้วนี้นะเเต่พอได้ดูเเล้วติดใจเลย

    Like

  8. Sitthichai Boonthos

    1.สร้างบรรยากาศ เช่น ได้ข่าวว่าหนังเรื่องนี้สนุกมากพูดกันปากต่อปากมีการนำมารีวิวในเว็ปไซต์ต่างๆด้วยลองไปดูกันดีไหม?
    2.สร้างความสบายใจ เช่น รับประกันว่าหนังเรื่องนี้สนุกดูแล้วไม่เสียเงินฟรีแน่นอน เพราะไปอ่านรีวิวหนังในเว็ปไซต์มาแล้ว
    3. ฟังเขาก่อน ที่จะให้เขาฟังเรา เช่น ถามความรู้สึกต่อหนังหรือแนวหนังก่อน
    4.เเลกเปลี่ยนความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวหนัง หรือพล็อตเรื่อง ว่าน่าสนใจหรือไม่? ก่อนที่จะไปดูหนัง

    57123311049

    Like

  9. padcharaporn030

    1.พูดจาหว่านล้อมทุกทางให้เพื่อนเริ่มเขวและเริ่มที่มีจิตใจอยากจะไปดู 2.ให้เพื่อนดูว่ามีคนเริมแชร์ในโลกโซเชี่ยวกันอย่างสนั่น เพื่อให้ดึงดูดความสนใจของเพื่อนว่ามำไมคนอื่นๆถึงไปดูกันเยอะแยะ 3.ให้เพื่อนดูteaserว่าหนังเรื่องนี้สนุกขนาดไหน มีฉากสนุกมันๆ4.วิธีสุดท้ายคือ ดึงไปเพื่อไปที่โรงหนังเลยแล้วกะไห้มันดูเพราะคิดว่าเพื่อนไม่น่าจะมีทางเลือกอื่นแล้ว

    Like

  10. มาเซีย

    – สร้างบรรยากาศในการชักชวน เช่น เปิดตัวอย่างของหนังเรื่องนั้นให้เพื่อนดู เพื่อที่จะได้เห็นความน่าสนใจของหนังที่เราจะชวนไปดู หรือพูดถึงเนื้อหาของหนังเรื่องนั้น
    – สร้างความสบายใจ เช่น ออกค่าตั๋วหนังให้เพื่อนเพราะหากหนังเรื่องนั้นไม่สนุกหรือไม่ถูกใจ เพื่อนคนนั้นก็ไม่ได้เสียอะไรอยู่แล้ว
    – ถามเขาก่อนที่เขาจะฟังเรา ถามถึงเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ชอบหนังเรื่องนี้เพราะอะไร จากนั้นก็บอกว่าหนังเรื่องนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คิดให้ลองไปดูด้วยตัวเอง
    – แบ่งปันความคิดเห็นกัน ถามว่าทำไมถึงไม่ชอบหนังเรื่องนี้จากนั้นก็เกลี้ยกล่อมโดยอาจจะเป็นการอธิบายข้อดีของหนัง แล้วบอกเหตุผลที่เราอยากจะไปดูหนังเรื่องนั้น

    นันทรัตน์ แสงเจริญเกียรติ 57123311037

    Like

  11. นิพัทธา 57123311015

    1. การทำให้คำพูดของตัวมีความน่าเชื่อถือโดยการพูดจากความจริงในสิ่งที่ตัวเองเห็นหรือทำมาในสิ่งที่คนอื่นสนใจในเรื่องที่เราทำเพื่อสร้างความสบายใจทั้งสองฝ่าย 2. ควรมีเหตุผลมากพอที่จะอธิบายในสิ่งที่คนอื่นสงสัยในเรื่องที่สนใจเพื่อให้คนคล้อยตามเพราะเหตุผลที่มีความน่าเชื่อถือของเรา 3. แรงจูงใจในสิ่งที่เราพูด หรือ ทำไปว่ามันเป็นยังไงมันมีผลดีหรือผลเสียยังไง 4. เราควรฟังเหตุผลในสิ่งที่เราไม่รู้และคนอื่นรู้มาแบ่งปันความคิดเห็นกันและกันเพื่อให้มีข้อมูลได้มากขึ้น 5. การสร้างบรรยากาศควรให้ดูน่าสนุกและสนทนาไปด้วยดีเพื่อไม่ตึงเครียดจนเกินไปอาจทำให้คิดเยอะและเกิดการขัดเเย้ง

    Like

  12. หวาย 035

    1. เปิดทีเซอร์หนังให้เพื่อนที่จะไปดูหนังกับเราดูว่าให้รู้ว่าหนังคือแนวอะไร เกี่ยวกับอะไร
    2. บอกกับเพื่อนว่าถ้าเพื่อนไปด้วยจะออกค่ารถ ค่าน้ำป็อปคอร์นเชิญชวนให้เพื่อนไป
    3. ถามเพื่อนว่าชอบหนังแนวไหน ทำไมไม่ชอบแนวนี้เคยดูแนวนี้มาบ้างหรือเปล่าแล้ว
    4. ถ้าเพื่อนไม่ชอบก็ถามว่าทำไมไม่ชอบตรงไหน อธิบายจุดที่เพื่อนไม่ชอบให้เพื่อนฟังว่ามันแค่บางส่วนของหนัง

    Like

  13. 57123311004

    1. สร้างบรรยากาศให้เห็นว่าหนังเรื่องที่เขาไม่ชอบจริงๆแล้วเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆคนแสดงความคิดเห็นในด้านดีของหนัง ให้เขาดูรีวิวหรือเพจแนะนำหนังเพื่อที่จะชักชวนเขาไปผ่อนคลายโดยการไปดูหนังกับเรา
    2.สร้างความสบายใจโดยการบอกว่าไม่ต้องกลัวว่าหนังจะไม่สนุกหรืออาจเสียเงินปล่าว เราดูตัวอย่างมาแล้ว แค่น้ำจิ้ม โคตรสนุกเลย เรามีตั๋วพิเศษลดราคา พอดีรู้จักกับพี่ที่เขาทำงานที่นั่น เขาซื้อในนามสิทธิ์เขาได้ลด 25% เราไม่ต้องจ่ายราคาเต็ม
    3.ถามเหตุผลว่าทำไมเขาไม่ชอบหรือบางทีเขาไม่ชอบหนังแนวนี้ฟังเหตุผลเขาก่อนแล้วเราค่อยเสนอเหตุผลของเราที่เขาอาจจะฟังแล้วสนใจ
    4.แบ่งปันความเห็น โดยบางทีอาจจะแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องหนังของทั้งสองฝ่ายหรือแนวหนังที่อีกฝ่ายชื่นชอบ แล้วโอกาสหน้าจะได้มาดูด้วยกันเพื่อแบ่งปันความสนุกของแนวหนังที่ต่างคนต่างชื่นชอบ

    Like

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.