ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)

บทความเรื่อง ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)

เมื่อเกิดการสนทนาในคนกลุ่มหหนึ่ง ๆ ที่อยู่ร่วมกันในเวลาช่วงหนึ่ง ๆ จะทำให้เกิดการแบ่งปันความหมายร่วมกัน เช่น สว อิเฎลพูดกับเพื่อนในห้องเรียนว่า เจ้าลิ้นดำ เพื่อจะเข้าใจทันทีว่า สว อิเฎล หมายถึง ตะเบงชะเวตี้ เพราะ สว อิเฎล พูดถึงเขาคนนี้บ่อย โดยถ้าคนอื่นที่ไม่ใช่เพื่อนของสว อิเฎล มาฟัง อาจจะเข้าใจว่า เจ้าลิ้นดำ คือ หนังสือการ์ตูนไทยเรื่องเจ้าชายลิ้นดำ หรือ อาจจะเป็นสุนัขที่สามารถกัดงูตาย เป็นต้น

theory ทฤษฎี โมเดล

ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory) สามารถนำไปใช้ร่วมกับ กระบวนทัศน์พรรณนา ของฟิสเชอร์ (Fisher’s Narrative Paradigm) ซึ่งคือการเล่าเรื่องอย่างต่อเนื่อง มีเหตุมีผล ทำให้คนคล้อยตาม

การใช้ ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory) ร่วมกับ กระบวนทัศน์พรรณนา ของฟิสเชอร์ (Fisher’s Narrative Paradigm) จะได้ผลดีมาก เพราะคนในกลุ่มเดียวกัน มีการให้ความหมายกับคำพูด การกระทำ หรือ สิ่งของร่วมกัน เมื่อเล่าเรื่องที่มีวัฒนธรรมเหล่านี้ร่วมกันจะสามารถเข้าใจได้ดี เช่น สว อิเฎล เล่าเรื่องตะเบงชะเวตี้ขี่ช้างนำทัพยุทธหัตถีกับพระเจ้ากรุงสยาม ให้คนไทยฟัง คนไทยจะเข้าใจว่า สว อิเฎล หมายถึงอะไร แต่ถ้า สว อิเฎล เล่าเรื่องนี้ ให้ชาวเอสกิโมฟัง เขาจะไม่เชื่อว่าคนสามารถขี่ช้างได้ เพราะในวัฒนธรรมของเขา เขาอาจจะเห็นว่าช้างเป็นสัตว์ประหลาด มิใช่พาหนะ เป็นต้น

การให้ความหมายอาจเกิดขึ้นระหว่างคนสองคน เช่น คำว่า “แขวนที่เดิม” ของ สว อิเฎล กับเพื่อนบ้าน แปลว่า สว อิเฎล จะเอาหนังสือพิมพ์ใส่ถุง แล้วไปแขวนไว้ที่รั่วของเพื่อนบ้าน, หรืออาจเกิดในคนกลุ่มใหญ่ เช่น คำว่า “สวนอ้อย” แปลว่า ซอยสวนอ้อยหน้ามหาวิทยาลัยซึ่งมีร้านอาหารอร่อยๆ มากมาย แต่คนอื่นๆ อาจเข้าใจว่าเป็นไร่อ้อยที่มีต้นอ้อย, หรือแฟนเพลงทั่วโลกของ Avenged Sevenfold ที่จะรู้จักคำว่า “Stallion Duck” หรือเป็ดป่า ว่าเป็นญาติกับ the Rev เป็นต้น

theory ทฤษฎี โมเดล

คำถาม: ยกตัวอย่างสัญลักษณ์ร่วม ที่ชาวสวนสุนันทารู้จักร่วมกัน และบอกความหมาย โดยที่คนจากที่อื่น จะเข้าใจไม่เหมือนกับเรา เช่น “สวนอ้อย” แปลว่าซอยสวนอ้อยหน้ามหาวิทยาลัย แต่คนทั่วไปจะเข้าใจว่าเป็น ไร่อ้อย มีต้นอ้อยจำนวนมาก

: : บทความที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร ภาษา และโมเดล : :
การกระทำผิดต่อ Quantity Maxim หรือมุสาวาทในขณะสนทนา
ทฤษฎีอวจนภาษา (Theories of Nonverbal Coding)
ทฤษฎีการปรับตัวตามสภาพสังคม (Communication Accommodation Theory)
สัญญะของภาษา (Semiotics of Language)
ภาษาชักชวน (Invitational Rhetoric) กลยุทธ์การทำให้คนคล้อยตาม
ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)
ทฤษฎีการบูรณาการการจัดการ ของความหมาย (The Coordinated Management of Meaning)
ให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ (Compliance Gaining) โมเดลการเลือกกลยุทธ (Strategy-Choice Models)

29 Comments

Filed under Communication

29 responses to “ทฤษฎีการร่วมสัญลักษณ์ (Symbolic Convergence Theory)

  1. เช่น บ่อเต่า ถ้าคนไม่รู้จักก็จะคิดว่าเป็นบ่อเต่าเฉยยย แต่ที่จริงเป็นที่นั่งของเด็กสวนสุนันทาและเด็กที่ชอบมานั่งก็เด็กวิทยาการจัดการ
    หลืบ ถ้าคนไม่รู้ก็จะคิดว่ามันคือสถานะทีทำอะไรสักอย่างที่ไม่ดี แต่ที่จริงเป็นจุดรวมของ เด็กนิเทศ และทำกิจกรรมรับน้องตรงนั้น
    นายวัชพล ฉายอรุณ Am
    57823311006

    Like

  2. หลืบางคนอาจไม่เข้าใจ แต่ถ้าคนที่เรียนนิเทศที่สวนนันจะเข้าใจหลืบคือด้านหลังของคณะนิเทศเอาไว้รวมตัวกันของพวกรุ่นพี่รุ่่นน้องเวลารับน้องก็ต้องไปตรงนั้นเวลาซ้อมเต้นต่างๆก็ต้องไปตรงนั้น

    เนติ แก้วสวรรค์ am
    57823311007

    Like

  3. ไพลิน 053

    เช่น พูดถึง “แม่” ถ้าคนนอกมาได้ยินคงคิดว่าพูดถึงแม่เรา แม่ตัวเอง แม่ที่ให้กำเนิดทั่วไป แต่ถ้าเด็กสวนนันจะเข้าใจว่า “แม่” คือพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นผู้ที่เด็กสวนนันเคารพนับถือ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของเด็กสวนสุนันทา ซึ่งทุกคนต้องรู้จัก เด็กสวนนันจะเรียกพระนางเจ้าสุนันทาฯ ติดปากว่า “แม่” เช่น ไปไหว้แม่กัน นั่นหมายความว่าจะไปไหว้พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

    ไพลิน จิตตคราม 57123311053

    Like

  4. วรรธนะ 57123311007

    สัญลักษณ์ร่วม ที่ชาวสวนสุนันทารู้จักร่วมกัน คือคำว่าแม่ แม่ของคนทั่วไปนั้นจะหมายถึง แม่ผู้ให้กำเนิด หรือ แม่ที่เลี้ยงมา แต่ในความหมายของชาวสวนสุนันทาคือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เพราะ ตัวของนักศึกษาแทนตัวเองว่า ลูกของพระนางนั่นเอง จึงทำทุกคนเรียกพระนางเจ้าสุนันทาว่าแม่ และ ทุกคนเต็มใจที่จะเรียกแบบนี้ แม้พระนางไม่ใช่ผู้ที่ให้กำเนิด ก็ตาม

    Like

  5. เค้กไง 043

    “หลืบ” ถ้าพูดถึงหลืบคนทั่วไปก็คงคิดว่าเป็นพื้นที่เล็กๆ แต่ที่สวนสุนันทา มีชื่อเรียกอีกชื่อที่เด็กคณะนิเทศศาสตร์เค้าเช็คอินผ่านเฟสบุ๊คกันว่า “หลืบแลนด์แดนนิเทศ” เป็นที่ที่เด็กนิเทศศาสตร์จะมานั่งเล่น นั่งคุยกัน เรียกว่าหลืบแต่มันไม่เล็กเลยมันเป็นที่ที่กว้างพอสมควรข้างหลังก็ยังมีที่ให้นั่ง ให้นอนเล่นกัน เป็นที่ที่เด็ดนิเทศศาสตร์ชอบเข้าไปนั่งเล่นกันอยู่บ่อยๆ

    Like

  6. อรรถชัย 57123311021

    เสื้อชมพู หรือเสื้อเฟรชชี่ เสื้อชมพูนี้บ่งบอกได้ทันทีเลยว่าเป็นเด็ก น.ศ. สวนสุนันทา มีสัญลักษณ์ สอเสือสวมชฎาเเละลวดลายของเเต่ละปีเเตกต่างกันถ้า เเต่ถ้าคนนอกหรือคนอื่นได้ยินเพียงเเค่เสื้อชมพูคงคิดเเค่ว่าเสื้อชมพูที่ไครๆทัวไปก็มีใส่กัน

    Like

    • อรรถชัย 57123311021

      (เเก้ใขรอบเเรกทำในโทรศัพท์) เสื้อชมพู หรือเสื้อเฟรชชี่ เสื้อชมพูนี้บ่งบอกได้ทันทีเลยว่าเป็นเด็ก น.ศ. สวนสุนันทา มีสัญลักษณ์ สอเสือสวมชฎาเเละลวดลายของเเต่ละปีเเตกต่างกันถ้า เเต่ถ้าคนนอกหรือคนอื่นได้ยินเพียงเเค่เสื้อชมพูคงคิดเเค่ว่าเสื้อชมพูที่ไครๆทัวไปก็มีใส่กันโดยที่ไม่รู้ว่าเสื้อนั้นจะมีเฉพาะเด็กสวนสุนันทาเท่านั้นที่จะได้รับในช่วงที่เข้ามาเรียนใหม่ในปีเเรกหรือที่เรียกกันว่าเสื้อเฟรชชี่

      Like

  7. padcharaporn030

    สัญลักษณ์ร่วม ที่ชาวสวนสุนันทารู้จักร่วมกัน ก็ เช่น ตึกพารากอน ตึกพารากอนก็คือคำพูดที่มาจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ใช้พูดกันซึ่งตึกพารากอนนั้นคือตึกอธิการบดีนั่นเองตึกนี้มีทั้งห้องสมุดและทำธุระต่างๆนาๆอละบางทีอาจจะเป็นที่นัดพบกันและถ้าหากใครลองมาได้ยินว่าตึกพารากอนคือตึกอะไรก็จะมีเพียงนักศึกษาสวนสุนันทาเท่านั้นที่รู้และเข้าไจว่าคือสถานที่ไหนไนมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา

    Like

  8. Sitthichai Boonthos

    สัญลักษณ์ร่วม ที่ชาวสวนสุนันทารู้จักร่วมกัน ก็ เช่น ประตูแมค ซึ่งมาจาก ประตูฝั่งที่มี แมคโดนัลซึ่งอยุ่ใกล้ๆกับวัดราชา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจะรู็จักกันดีซึ่งเมื่อพูดถึงก็จะรู็ว่า ประตูแมคอยู่ส่วนไหนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประตูแมคจะเป็นที่ที่นักศึกษารอรถเมล์กลับบ้าน ส่วนรถเมล์ที่ผ่านก็มีหลายสาย เช่น สาย 3 สาย 9 สาย 110เป็นต้นและแมคโดนัลจะเป็นที่ที่นัดเจอกันของนักศึกษาเช่น นัดกันรับประทานอาหาร นัดคุยงาน หรือนั่งทำการบ้านกัน

    57123311049

    Like

  9. สะพานเลือด ในความคิดของคนทั่วไปอาจจะว่า เป็นสะพานสีแดงหรือสะพานที่เต็มไปด้วยเลือด ซึ่งที่จริงแล้ว เป็นสะพานหินธรรมดา ซึงอยูระหว่าง หน้าตึกวิทยาการจัด และ ตึกศิลปกรรม ทีไว้การทำกิจกรรมรับน้อง ที่เหล่าน้องใหม่รู้จักกันดี ในการรับน้องของคณะนิเทศศาสตร์ และเป็นที่ นักศึกษา ชอบมา ถ่ายรูป

    Like

  10. มาเซีย

    “ประตูแมค”สำหรับคนที่ไม่รู้จักหรือบุคคลอื่นอาจจะคิดว่าเป็นประตูทางเข้าของทางร้าน MCdonold,Macro,Maxvalu หรือสถานที่อื่นๆ แต่ที่จริงแล้วเป็นประตูทางเข้าของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ทางฝั่งถนนสามเสน ที่อยู่ติดกับตึกวิทยาลัยนานาชาติและใกล้กับโรงอาหารซึ่งตรงหน้าประตูนั้นจะมี ร้าน MCdonold จึงเป็นที่มาของ ประตูแมค อาจเพราะถ้ามองจากภายนอก ร้านMCdonold จะเป็นที่ๆสังเกตได้ง่ายที่สุดนั้นเอง ดังนั้นถ้าพูดถึงประตูแมคเด็กสวนสุนันทาก็จะเข้าใจว่าเป็นประตูส่วนไหนของมหาวิทยาลัย

    นันทรัตน์ แสงเจริญเกียรติ 57123311037

    Like

  11. Panuwat

    สัญลักษณ์ร่วมของชาวสวนสุนันทา คือ “แม่” คำว่าแม่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ผู้หญิงที่เป็นผู้ให้กำเนิด แต่เป็น พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ผู้ที่นักศึกษาสวนสุนันทาจะให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก รวมถึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของนักศึกษา นับตั้งแต่ที่เข้ามายันมหาวิทยาลัยเลยก็ว่าได้ หากท่านเดินไปสอบถาม นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ว่า “แม่ ในสวนสุนันทาคือใคร” พวกเขาจะตอบกันเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็น แม่สุนันทากุมารีรัตน์ หรือ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์นั่นเอง

    Like

  12. ณัฐนันท์ พินิจบรรจง 57123311050

    สัญลักษณ์ร่วมของชาวสวนสุนันทา เด่น ๆ เลยก็คือแม่ ถ้าสำหรับคนอื่น ๆ คำว่าแม่ ก็คือแม่ของตัวเอง แม่ที่ให้กำเนิดเลี้ยงดูพวกเรามา แต่คำว่าแม่ของเด็กสวนสุนันทานั้น มีความหมายมากกว่าคำว่าแม่ของคนทั่วไป คือหมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ท่านเป็นบุคคลที่นักศึกษาที่สวนสุนันทาเคารพนัพถือและศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เช่นเวลาจำทำกิจกรรมต่าง ๆ เราก็จะไปไหว้แม่กันก่อนทุกครั้งเพื่อเป็นบอกกล่าวให้ท่านรับรู้ ให้กิจกรรมของเราลุล่วงไปด้วยดี

    Like

  13. Apinya Angin 57123311003

    สัญลักษณ์ร่วม ที่ชาวสวนสุนันทารู้จักร่วมกันก็คือ “แม่” ซึ่งเมื่อเราพูดถึงแม่บุคคลภายนอกก็จะคิดกันว่าเป็นแม่ผู้ที่ให้กำเนิดหรือไม่ก็อาจารย์ที่เราให้ความเคารพเปรียบเหมือนแม่คนที่ 2 แต่ในคำว่า “แม่” ในความหมายของชาวสวนสุนันทานั่นก็คือสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งเป็นแม่ที่เราให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เราทุกคนจะมีแม่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเพราะเราเชื่อว่าแม่คือผู้ให้ ให้ความสุข ความสำเร็จกับลูกทุกคน ไม่ว่าจะทำอะไรทุคนก็จะคิดถึงแม่ ทุกคนจะพากันไปไหว้แม่เพื่อให้สิ่งที่เราตั้งใจสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งแม่ก็จะให้สิ่งๆนั้นกับเราเสมอมา

    Like

  14. หวาย 035

    สัญลักษณ์ร่วมของชาวสวนสุนันทาที่จะยกตัวอย่างเช่น “ลานแม่” ลานแม่คือลานกีฬา หรือ ลานอเนกประสงค์ ที่ชาวสวนสุนันทารู้จักกันดี เพราะเวลามีกิจกรรมต่างๆเช่นการจัดคอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา และ การเรียนการสอนของนักศึกษาการกีฬา คนนอกคงไม่เข้าใจทำไมถึงเรียกว่าลานแม่ เพราะลานแม่มี พระรูปของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือ แม่ที่ชาวสวนสุนันทานั้นเอาไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจกัน อยู่ที่ลาน

    Like

  15. Pingback: การใช้ภาพสัตว์สื่อความหมายโดยนัย | Sw-Eden.NET

  16. Pingback: ประวัติและประเภทของงาน Graphic Design | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.