บางส่วนของข้อมูล อ้างอิงจากบทความ The Construction of Identity in the Personal Homepages of Adolescents เขียนโดย Daniel Chandler and Dilwyn Roberts-Young และบทความ Vernacular Web ซึ่งต้องขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้จากคาบเรียน History of Media ที่ University of Sydney อีกมากมายจากประสบการณ์ตรง ของ สว อิเฎล หนึ่งในคนเขียนเว็บไซต์ยุคบุกเบิก สมัย HTML, พร้อมเสียงเพลง MIDI และภาพ gif ประดับหน้าเว็บ
เว็บไซต์แรกที่ สว อิเฎลทำสมัยเรียนมัธยมต้น ช่วง Sea Game 2000 ทำเว็บเกี่ยวกับตะเบงชะเวตี้ ซึ่งเวลานั้นไม่ค่อยมีข้อมูลค้นเจอในอินเตอร์เน็ต สว อิเฎล จึงต้องเข้าห้องสมุดและนำตำรา กับพงศาวดารมาสรุปเพื่อใส่ข้อมูลลงไปในเว็บไซต์ สว อิเฎล ทำเว็บไซต์ลักษณ์นี้จนกระทั่งตอนอยู่มัธยมปลาย เวลานั้นจะแปลข้อมูลเกี่ยวกับวงดนตรีที่ตนเองชอบเป็นภาษาไทย และนำไปใส่ในหน้าเว็บ ประดับประดาตามแนวชาวร็อก จากนั้นก็ Upload ลง Geocities.com ซึ่งปัจจุบันไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว สว อิเฎล ได้แต่ Print Screen เก็บหน้าเว็บไว้เป็นที่ระลึก
หากพูดถึง Geocities.com สำหรับ สว อิเฎล มันเป็นที่แรกที่ สว อิเฎลเรียนรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์ และได้นำประโยชน์นั้นมาใช้จนถึงปัจจุบัน, เพื่อนคนหนึ่งสมัยมัธยมต้น ชื่อเมอน่า ไดแอน พาสัน แนะนำให้ สว อิเฎล รู้จักเว็บไซต์นี้ ทำให้ สว อิเฎล เข้าใจว่า Bandwidth คืออะไร, สมัยนั้น ถ้าใครอยากมีเว็บไซต์ อย่างน้อยเขาจำเป็นต้องเขียน HTML เป็น ผิดกับสมัยนี้ที่อะไร ๆ ก็ใช้ง่าย ขนาดคุณปู่คุณย่ายังสามารถใช้ LINE กันได้ง่าย ๆ
เว็บไซต์เป็นสื่อที่ไม่เหมือนสื่อเก่า คือ (๑) เป็นที่นิยมของวัยรุ่น การนี้ สว อิเฎล จำต้องทึ่งในตัวคุณครูที่สอน สว อิเฎล สร้างเว็บไซต์ เพราะอาจารย์ไม่ใช่วัยรุ่น แต่เขาทำให้เราเก่งได้ ณ เวลานั้น, (๒) เมื่อข้อมูลถูกเขียนเสร็จ ผู้เขียนก็สามารถเผยแพร่ได้ทันที, (๓) ผู้ชมมีจำนวนมาก และถ้าเป็นเว็บไซต์สมัยก่อน สว อิเฎล จะไม่สามารถควบคุมได้เลยว่าจะให้คนเห็นหรือไม่ให้ใครเห็น นอกเสียจากจะใส่ Password ให้คนเข้าชมต้องกรอก (แต่ก็ Hack ดูได้ง่าย) ความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์สมัยก่อนไม่เหมือนเว็บไซต์สมัยนี้ ที่ Social Networking Sites อย่าง Facebook สามารถกำหนดได้ว่าจพให้ใครเห็นโพสของเราได้บ้าง หรือขะ Block ใคร
ดังนั้นแล้ว สมัยก่อน สว อิเฎลต้องควบคุมความเป็น Public และ Private ของตัวเองดี ๆ คือ อะไรที่ต้องการให้คนอื่นรู้ จึงเอาไปใส่ในเว็บไซต์ ส่วนเรื่องที่มันเป็นส่วนตัวจริง ๆ ก็อย่าเอาไปใส่ เพราะบางคนไม่ยอมใส่แม้กระทั่งชื่อจริง ด้วยเหตุว่ากลัวจะมีคนมาทำร้ายตน ในงานวิจัยยังพบว่าคนที่อยู่ในเมืองเล็ก ๆ ไม่ค่อยยอมบอกว่าตัวเองมาจากไหน อาจเพราะอายอะไรบางอย่าง
สว อิเฎล จำได้ว่าตัวเองเคยสอบวิชาภาษาอังกฤษตกตอนไปอยู่ New York ใหม่ ๆ ตอนนั้นได้เขียนบทความเกี่ยวกับ ความแตกต่างของ House และ Home ซึ่งอาจารย์ Linda บอกว่าเป็นบทความที่ซาบซึ้งมาก แต่ grammar ผิดหมดทุกประการ คำว่า Home นี้ควรจะเป็นอะไนที่ส่วนตัว และถูกใช้กับคำว่า Home Page ซึ่งความจริงแล้วคำว่า Home Page คือหน้าเว็บที่มีความเป็น Public อย่างอหังการ
ช่วงแรก ๆ ที่เกิดสื่อเว็บไซต์ขึ้น และเป็นที่รู้จักและนิยมของวัยรุ่น เว็บไซต์มักถูกเทียบกับสื่อเก่า เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่มันถูกนำมาเป็นกระทู้ว่า มันจะตายหรือไม่ ถ้ามีสื่อใหม่เกิดขึ้น ในกรณีของเว็บไซต์นี้ การสื่อสารในเว็บไซต์ ถูกนำไปเทียบกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ซึ่งแน่นอนว่าการสื่อสารระหว่างบุคคลจะสื่อสารได้ชัดเจนกว่า เพราะมีท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง ประกอบ ซึ่งในเว็บไซต์ก็สามารถใส่รูป ใส่วิดีโอลงไปได้ แต่ยังขาดการสื่อสารทางอารมณ์ ซึ่งในบทความ “Gender, Identity, and Language Use in Teenage Blogs” กล่าวว่า emoticon ทั้งในรูปแบบรูปภาพและตัวหนังสือ ถูกนำมาใช้เพื่อบ่งบอกอารมณ์ และเติมเต็มในสิ่งที่เว็บไซต์ยังไม่มี
เว็บไซต์ของวัยรุ่นช่วงแรก ๆ มักจะมี Guessbook ซึ่งช่วงนั้น สว อิเฎล จำได้ว่า Thaimisc ได้ให้บริการอยู่ บ้างมี Webboard, บ้างมีที่อยู่ e-mail หรือมี mail form ให้ติดต่อ ตอนนั้น สว อิเฎล จำได้ว่า ถ้ามีใครติดต่อมี เราจะดีใจมาก และพยายามเขียนโต้ตอบกับทุกวัน มีคนนึงที่ สว อิเฎล ยังจำได้ดีคือ คนที่ใช้ชื่อว่า Toshiya Dir en grey แกบอกว่าชอบกินแตงโมเพราะผ่าออกมาเหมือนตรงกลางของธงญี่ปุ่น
Pingback: ปริญญาตรี เลือกหัวข้องานวิจัยอะไรดี? | Sw-Eden.NET