นานมาแล้ว เราเคยกล่าวถึงสงครามครั้นเสียพระศรีสุริโยทัย จำได้หรือไม่ว่า พระมหาธรรมราชา กับพระราเมศวรถูกตะเบงชะเวตี้จับไว้ และแลกกับช้างเผือก ๒ เชือก สิ่งนี้คือสิ่งที่ชาวไทย เรียกว่า การแพ้สงครามของตะเบงชะเวตี้ แต่สำหรับเราแล้ว ชาวสยามไม่ควรจะเสียอะไรไปมากกว่าเสียพระศรีสุริโยทัย และนี่คือความเมตตาของสุภาพบุรุษของเรา เราอยากเห็นสตรีที่ต่อสู้เพื่อนำมาซึ่งสิทธิที่เท่าเทียมชายนั้น ได้สมความปรารถนา เราอยากเห็นสังคมที่ให้เกียรติสตรีดั่งในสงครามครั้งนั้น
ในขณะที่ปัจจุบัน เราเห็นผู้หญิงจำนวนมาก ต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม อีกมุมหนึ่งเราก็เห็นความไม่เท่าเทียมที่ยังหลงเหลืออยู่คณานับ วันนี้เราจึงขออนุญาตเพื่อน ๆ พูดถึงกรณี น้องก้อย (รุ่งระวี ขุระสะ) กับ โคชเช
เธอเป็นผู้ที่เดินตามเส้นทางแห่งความฝัน เธอคือสตรีที่ถูกผู้ชายที่มีอำนาจเหนือกว่า กดขี่ และทำร้ายเธอ เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ชายเกาหลี ซึ่งในสังคมผู้ชายมีความเป็นใหญ่ แต่ไม่ใช่เรื่องธรรมดาสำหรับสังคมไทย เรารู้สึกแปลกใจมากที่ชาวไทยรุมประนามเด็กผู้หญิงไทย ที่ไม่มีสิทธิ์ต่อกรกับอำนาจ เธอต้องกลายเป็นผู้แพ้ และผู้แพ้ต้องหนีความอัปยศ ผู้ชนะเท่านั้นคือผู้เขียนประวัติศาสตร์ และผู้กำหนดชะตากรรมของผู้แพ้ เธอคนนี้ต้องขอโทษผู้ที่ทำร้ายเธอ เธอขอโทษเขาต่อหน้าสื่อมวลชน เพียงเพื่อความหวังที่จะสานต่อความฝันของเธอ ทั้ง ๆ ที่เราไม่สามารถรู้ข้อเท็จจริงเลยว่าสิ่งที่โคชกล่าวหาเธอนั้น เป็นเรื่องจริงหรือไม่
ณ เวลานี้ ความฝันนั้นอาจไม่มีโอกาสเกิดขึ้นจริง แต่อย่างน้อย ในฐานะสตรีคนหนึ่ง เธอได้พูด และเธอไม่ได้ทำร้ายใคร ไม่ได้แก้ตัวโดยใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นเพื่อให้สิ่งที่ตนกระทำผิดกลายเป็นเรื่องถูก
วันนั้นที่เราได้อ่านหนังสือพิมพ์ ข่าวการลาออกของเธอ แม้ว่ามันดูเป็นการหนี แต่เธอมิได้หนีอย่างไร้จุดหมาย การศึกษาเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง สามารถมีสิทธิ์ที่จะได้รับการยอบรับเท่าเทียมกับผู้ชาย เธอทำสิ่งที่ถูกต้อง และเราหวังว่าเธอจะประสบความสำเร็จ
จาก สว อิเฎล และ Page ตะเบงชะเวตี้ ลิ้นดำ
ขออนุญาตใช้รูป Khin Nanda (คิน นันดะ นามสมมติ ราชินิของท่านตะเบงชะเวตี้ใน Project Black Tongue) ในเรือนจำอังวะ
Pingback: Homophily รู้สึกว่าตนเองเหมือนกับอีกฝ่าย คืออะไร? | Sw-Eden.NET