วิธีทำให้เกิดนัยสำคัญทางสถิติ (Significant) ง่ายมาก

ข้าพเจ้า ใช้นามปากกาว่า สว อิเฎล ปัจจุบันเรียนปริญญาเอก และเป็นอาจารย์ จึงอยากแบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ๆ และนักศึกษา ก่อนอื่น ขอให้ท่านผู้อ่าน อย่า Copy หรือคัดลอกบทความนี้ไปใช้ในเว็บไซต์ของท่านเอง หากท่านต้องการจะอ้างถึง ให้นำ URL หรือ Link ไปแทน ข้าพเจ้าจะไม่ลบโพสนี้ ดังนั้น ท่านสามารถ shared ใน Facebook ของท่านได้

Link ยาว: https://swedenofficial.wordpress.com/2015/02/14/sig/
Link สั้น: http://wp.me/peBZp-16D

สถิติ นับสำคัญทางสถิติ ไดโนเสาร์ ภาพวาด

นัยสำคัญทางสถิติ, ค่า Sig, Significant หรือ p-value (probability) เรียกได้หลายอย่าง และส่วนใหญ่นักศึกษา นักวิจัย อาจารย์จะอยากให้เกิดนัยสำคัญทางสถิติในผลการวิจัยเชิงปริมาณของตน นักศึกษาหลายคนอยากให้เกิด Sig เพราะ อยากให้งานวิจัยของตนเองดูมีค่า ดูมีประโยชน์ ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว หากไม่พบว่า Sig ก็ไม่ใช่ปัญหา และอาจเป็นประโยชน์แก่นักวิจัยรุ่นต่อ ๆ ไปว่า ควรเลิกสนใจตัวแปรนี้ หรือ ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอื่น ๆ แทน

แต่ถึงอย่างไร ถ้าท่านผู้อ่านเว็บของ Sw-Eden.net ต้องการผล Sig มาก ข้าพเจ้าก็จะแนะนำให้

โดยปกติแล้วตอนเราอ่านผลใน SPSS เราจะดูค่า Sig (p-value) ถ้าค่า Sig ต่ำกว่า 0.05 ท่านจะพบว่า SPSS จะใส่ * มาให้ 1 ดวง การเกิด Significant คือ ผลที่ สว อิเฎล เก็บมาทั้งหมดในงานวิจัย ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ เพราะมันเกิดได้บ่อยถึง 95% ของโอกาสทั้งหมด มันมีความแตกต่างจากคนทั่วไปจริง ๆ (กรณี ANOVA หรือ t-test) หรือ มันมีความสัมพันธ์เกิดขึ้นจริง ๆ (กรณี Correlation หรือ Regression)

วิธีทำให้เกิดนับสำคัญทางสถิติ
(สร้างผล Significant ได้ไม่ยาก)

1. เพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่าง
วิธีนี้ สว อิเฎล ขอบอกเลยว่า เนียนที่สุด และเรามีเหตุผลอ้างได้หลายอย่าง เช่น (๑) สว อิเฎลใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่างเยอะ เพราะว่า เราไม่สามารถหาตัวแทนประชากรได้ เราเลยเก็บข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ม (๒) สว อิเฎล ใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่างเยอะ เพราะ อยากลดความ bias จาก Sample Error แบบว่า สุมกระจาย และสุ่มเยอะ ๆ อ้างไปเถอะครับ

รู้หรือไม่ว่าทำไมการเพิ่มกลุ่มตัวอย่างจะทำให้มีโอกาส Sig ได้ง่ายขึ้น ให้ดูตามรูปนะ รูปนี้ สว อิเฎลเขียน แต่ง ๆ ด้วยสีน้ำ

– จากรูปด้านบน จะเห็นสูตรค่า t อันเป็นเบื้องหลังค่า Sig ใน SPSS
– ค่า t ได้มาจากสูตรที่มีตัวหารเป็น SDm หรือที่เรียกว่า Standard Deviation of Distribution of the Mean เรียกอีกอย่างว่า SE หรือ Standard Error
– ถ้าตัวหารมาก จะทำให้ค่าลดลง
– ดังนั้น ถ้า SDm น้อย ๆ จะทำให้ค่า t สูงขึ้น
– ค่า t ที่สูงขึ้น จะทำให้เกิดนัยสำคัญทางสถิติ หรือ Sig ง่ายขึ้น

– ถ้า สว อิเฎล เพิ่มกลุ่มตัวอย่าง จะทำให้ SDm ลดลง
– เนื่องจากสูตรการคำนวณ SDm ได้มาจาก PopSD หารด้วย Square Root ของจำนวนประชากร (ตามรูป)
– ถ้าจำนวนกลุ่มตัวอย่างมาก แต่ PopSD เท่าเดิม เราจะพบว่า ผลออกมา SDm จะลดลง
– Note ให้ทราบ เฉย ๆ –> (PopSD คือ ค่าเบียงเบนมาตรฐานของประชากร Population Standard Deviation แต่ในงานวิจัย สว อิเฎลจะไม่มีทางทราบข้อมูลจากประชากร ดังนั้นให้ใช้ SD ของกลุ่มตัวอย่างแทน)

2. ลด SD ของกลุ่มตัวอย่าง
วิธีนี้ก็ทำเนียนได้ ประหยัดด้วยคับ สว อิเฎล ไม่ต้องจ่ายตัวเพิ่มหรือเสียเวลาเพิ่มในแจกแบบสอบถามเพิ่มให้กลุ่มตัวอย่าง แต่เราจะหาเกตุผลอธิบายได้ยากกว่า เพราะเหตุผลต้องอิงกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

– SD คือ Stardard Deviation คือการที่ข้อมูลกระจายตัวออกจากค่าเฉลี่ยกึ่งกลาง
– หากข้อมูลมีการกระจายตัวต่ำ ๆ ก็คือ SD จะต่ำลง
– การทำให้การกระจายตัวต่ำ ๆ เช่น สว อิเฎล แยกเพศของกลุ่มตัวอย่าง เป็น หญิง และ ชาย
– เช่น ผู้หญิงมักจะเตี้ยกว่าผู้ชาย ดังนั้นการกระจายตัวของความสูงของเพศหญิงอย่างเดียว จะ น้อยกว่า การกระจายตัวของทั้งสองเพศรวมกัน

– จากสูตรที่ สว อิเฎล ได้บอกไป หรือด้านซ้ายล่างของรูปเมื่อกี้ => SDm ได้มาจาก PopSD หารด้วย Square Root ของจำนวนประชากร
– ถ้า PopSD ต่อลง ก็จะทำให้ SDm ต่ำลงด้วย
– การที่ SDm ต่ำลง จะทำให้ ค่า t สูงขึ้น

3. เพิ่มค่า Alpha
วิธีนี้ สว อิเฎล ขอแนะนำว่า อย่าใช้ เขาเรียกว่าโกงสุด ๆ คล้าย ๆ กับที่คุณโอบาม่าขยายเพดานหนี้

– ค่า Alpha คือค่าที่ สว อิเฎล จะตั้งไว้ก่อนที่จะเก็บผลการสำรวจ
– ค่า Alpha นี้ โดยปกติ คือ 0.05 หรือ 5%
– หากค่า p-value หรือ Sig ได้ต่ำกว่าค่านี้ ก็จะถือว่า มีนัยสำคัญทางสถิติ
– ดังนั้น ถ้า สว อิเฎล โกงโดยเพิ่มค่า Alpha เป็น 10% หรือ 0.1 ก็จำทำให้ Sig ได้ง่ายขึ้น

**ขอบอกอะไรนิดนึง นักวิจัยรุ่นใหม่ หลายคนมุ่งมั่นดูค่า Correlation หรือ ค่า Effect Size อื่น ๆ มากกว่าที่จะดูค่า Sig เพราะ Sig นั้นซื้อกันได้ด้วยจำนวนกลุ่มตัวอย่าง แต่ถ้าอาจารย์ที่ท่านเรียนด้วย หรือสถาบันต่าง ๆ นั้น สนใจค่า Sig ท่านก็เดินตามรอยนี้ไป

และท้ายนี้ สว อิเฎล ขอให้ท่านมีความสุขกับวิชาสถิติ และงานวิจัยของท่าน

ตัวเหี้ย ตัวเงินตัวทอง สถิติ
สถิติ คนไทยร้อยทั้งร้อย รู้จักตัวเงินตัวทอง และมากกว่า 50% เรียกมันว่าอาเฮีย (ล้อเล่นจ้า) แต่ภาพสีน้ำ สว อิเฎล วาดเอง

5 Comments

Filed under Uncategorized

5 responses to “วิธีทำให้เกิดนัยสำคัญทางสถิติ (Significant) ง่ายมาก

  1. ขออนุญาติ แชร์ทาง twitter นะคะ // ขอบคุณค่ะ

    Like

  2. Klaow

    อ.สว คะ
    มีคำถามอยากสอบถามค่ะ
    คือว่าถ้าอยากปรับระดับ sig จาก 95% เป็น 80 % เพื่อจะทำ multi regression ควรปรับตรงไหนอ่ะค่ะ คือดูจากค่า p-value ได้เลยหรือว่าปรับตรง 95% คะ
    ขอบคุณค่า

    Like

    • รายงานที่ บทที่ 3 Method บอกว่าจะใช้ค่า Alpha ที่ 0.2 เพราะเหตุใด
      ปรับเองได้เลย แต่ควรระบุที่มาที่ไป

      Like

  3. Pingback: What I really found at Thai Riverside Market! | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.