วัดญาณเวศกวัน ศีล 5 และศีล 8

The Buddhist 5 and 8 precepts
สรุปโดย ©รตจิตร
Concluded by Ratajit | October 11, 2015

วันและสถานที่ : ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2555 ณ วัดญาณเวศกวัน

ภาพศีลข้อที่ 1 ไม่ฆ่าสัตว์
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

**งานเขียนนี้ของรตจิตร ถือเป็นวิทยาทานเพื่อให้ทุกคนได้อ่าน โดยห้ามมิให้คัดลอกนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้ในเว็บไซต์อื่น โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีโฆษณา ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งนี้อนุญาตให้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษา โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและชื่อผู้เขียน
รตจิตร สรุปมาจากการฟังบรรยายธรรมจากพระอาจารย์หลาย ๆ ท่าน ได้แก่
– พระครูธรรมธร ครรชิต คุณวโร ณ วัดญาณเวศกวัน ถนน พุทธมณฑลสาย 5 บางกระทึก อำเภอ สามพราน จ.นครปฐม 73210
– CD ธรรมบรรยาย ของ ท่านเจ้าคุณ ป.อ. ประยุทธ์ ปยุตฺโต พระพรหมคุณาภรณ์ ณ วัดญาณเวศกวัน นครปฐม
– พอจ.กฤช นิมฺมโล จาก สำนัก ปฏิบัติธรรมสวนป่า ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ บ้านจิตสบาย
– พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระกิตติโสภณวิเทศ (เศรษฐกิจ สมาหิโต) เจ้าอาวาสวัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กทม.
– พอจ.ท่านอื่น ๆ ที่ธรรมบรรยายของท่านได้สะสมอยู่ในความคิดของ รตจิตร จนถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ เพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่เพื่อน ๆ ต่อไป

ภาพศีลข้อที่ 2 ไม่ลักทรัพย์
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

รตจิตรขอกราบนัสการพระเดชพระคุณ ขอกราบขอบพระคุณ ขออนุโมทนาบุญจากธรรมทานนี้แด่พระอาจารย์ที่รตจิตรได้ฟังธรรมบรรยายทุก ๆ ท่านด้วย มา ณ โอกาสนี้

การถือศีล นั้นทุกคนสามารถถือศีลได้เหมือนกันหมด ถือเป็นการปฏิบัติธรรม อย่างหนึ่ง พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านเคยให้ความหมายของการปฏิบัติธรรม รตจิตร จำไม่ได้ว่าสมัยที่ท่านแสดงธรรมให้รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี 2544 หรือ 2548 ประมาณนี้ ท่านให้ความหมายว่า การปฏิบัติธรรม เป็นการเอาธรรมะมาใช้ในชีวิตประจำวัน เอาธรรมะมาใช้ในชีวิตจริง เพื่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ไม่จำเป็นต้องไปปฏิบัติธรรมที่วัด ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาค้างคืนเป็นวัน ๆ สามารถปฏิบัติธรรมได้ทุกเมื่อ
พระพรหมคุณาภรณ์ ยังกล่าวถึงคำว่า ปฏิบัติธรรมแต่เดิมนั้น ก็คือ ปฏิปทา มีรากศัพท์เดียวกัน ซึ่งแปลว่า ที่ที่จะเดิน เช่น มัชฌิมาปฏิปทา ก็หมายถึงการเดินทางสายกลางนั่นเอง

ภาพศีลข้อที่ 3 ไม่ประพฤติผิดในกาม
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ความหมายของศีล

ก่อนที่รตจิตรจะเขียนถึง ศีล รตจิตรอยากอารัมภบทเกี่ยวกับ บุญสิกขา และไตรสิกขา ปกติ เพื่อน ๆ มักจะได้ยินคำว่า ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งโดยทั่วไป จะเป็นการปฏิบัติธรรมของ เหล่าคฤหัสถ์ เรียกรวม ๆ ว่า บุญสิกขา แต่พอไปเรียนธรรมะ ก็มักได้ยินคำว่า ไตรสิกขา ซึ่งก็คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา เป็นการปฏิบัติด้านภายใน แต่วันนี้ รตจิตรอยากให้ความสำคัญเรื่อง ศีล เพราะคนทั่วไปคุ้นเคยกันอยู่ และอานิสงส์ของการให้ทาน ก็น้อยกว่าการรักษาศีล
ศีลในเชิงสังคม คือข้อปฏิบัติ ที่กำหนดขึ้นเพื่อเอาใจเขา มาใส่ใจเรา เป็นความเป็นไปตามธรรมชาติ หรือบุคคล หรือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย แก่บุคคลหรือสัตว์อื่น ต่อสังคม หรือแม้แต่สิ่งแวดล้อม และที่สูงขึ้น ดีขึ้นก็คือ นอกจากจะเป็นการยึดถือปฏิบัติที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือสรรพสัตว์อื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และที่สำคัญ ต้องเกื้อกูล หรือก่อประโยชน์ให้สัตว์ทั้งหลายด้วย

รตจิตรชอบมากตอนที่ พอจ.ครรชิต ท่านย้ำเสมอว่า ศีลให้กันไม่ได้ จึงไม่จำเป็นต้องมาขอรับศีลจากพระสงฆ์ เพราะทุกคนทำเอง ถือศีลเองได้ พระสงฆ์ท่านจะให้บทศึกษาแก่ญาติโยม เพื่อนำมาปฏิบัติต่างหาก หากรักษาศีลแล้ว แต่จิตใจกลับไม่สงบสุขตั้งมั่น แสดงว่าต้องมีอะไรผิดพลาดแล้ว ดังคำสอนที่ว่า ศีลมีที่สุด หรือหมายถึง ศีลขาดนั่นเอง มี 5 อย่าง ได้แก่

1) ศีลมีที่สุดอยู่ที่ ทรัพย์
ผู้รักษาศีลไม่ได้อิ่มใจ ภูมิใจกับชีวิตที่ดีงาม กับการถือศีล
2) ศีลมีที่สุดอยู่ที่ ยศ อำนาจ โลภ เช่นอยากขึ้นสวรรค์
3) ศีลมีที่สุดอยู่ที่ ชื่อเสียง (บางท่านก็ว่าข้อนี้รวมเข้ากับข้อ 2 ได้)
บางคนกลัวเสียชื่อเสียง ก็ยอมโกหก เป็นต้น
4) ศีลมีที่สุดอยู่ที่ อวัยวะ (บางท่านก็ว่าข้อนี้รวมเข้ากับข้อ 5 ได้)
ท่านพอจ.ครรชิต ได้ยกตัวอย่างของพระจักรบาล ที่สูญเสียดวงตา ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถหาจาก searching engine เช่น google search ได้นะจ๊ะ
5) ศีลมีที่สุดอยู่ที่ชีวิต

ภาพศีลข้อที่ 4 ไม่พูดปด หรือพูดส่อเสียด ฯลฯ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

แล้วตอนนี้ก็มาถึง รายละเอียด ศีล 5 ที่เพื่อน ทราบกันดีอยู่แล้ว
1. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ไม่ฆ่าสัตว์
2. อทินฺนา ทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ไม่ลักทรัพย์
3. ศีล 5 ใช้ว่า กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี
ไม่ประพฤติผิดในกาม ชายหญิงอยู่ใกล้กันได้ ต่างจากศีล 8 ตรง ผู้ชายกับผู้หญิงอยู่ใกล้กันไม่ได้
ศีล 8 ใช้ว่า อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ไม่ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ชายหญิงอยู่ใกล้กันไม่ได้
4. มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ไม่พูดปด/พูดคำหยาบ/พูดเพ้อเจ้อ/หรือพูดส่อเสียด
5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ไม่ดื่มสุราเมรัย

ภาพศีลข้อที่ 5 ไม่ดื่ม หรือเสพของมึนเมา

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ศีล 8 จะเพิ่มอีก 3 ข้อดังนี้

6. วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ไม่รับประทานอาหารในยามวิกาล คือหลังเที่ยงวันถึงเช้าวันใหม่
7. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ไม่ฟ้อนรำขับร้อง ไม่ประดับร่างกายด้วยดอกไม้ เครื่องประดับ เครื่องหอมต่าง ๆ
8. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ไม่นั่งนอนเหนือเตียงที่เท้าสูงเกิน ไม่นอนนุ่นหรือสำลี

ถ้ารตจิตรพอมีเวลาบ้าง จะสรุปเรื่องศีล 4 ต่อนะคะ เพราะคนเขียนกันน้อย เป็นเรื่องที่รตจิตรเคย ฟังธรรมบรรยายจาก พระครูธรรมธร ครรชิต คุณวโร ณ วัดญาณเวศกวัน

วัดญาณเวศกวัน ช้าง

Advertisement

2 Comments

Filed under Everything_Okay

2 responses to “วัดญาณเวศกวัน ศีล 5 และศีล 8

  1. การกินช็อคโกแลตไม่ผิดศีลนะจ้ะ ><
    http://chocostory.amssru.com/2016/03/25/ความหลากหลายของ-ช็อคโกแ/

    Like

  2. Pingback: ความหลากหลายของ ช็อคโกแลต > – chocostory

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.