สรุปโดย ©รตจิตร
Concluded by Ratajit | October 20, 2015
**งานเขียนนี้ของรตจิตร ถือเป็นวิทยาทานเพื่อให้ทุกคนได้อ่าน โดยห้ามมิให้คัดลอกนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้ในเว็บไซต์อื่น โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีโฆษณา ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งนี้อนุญาตให้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษา โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและชื่อผู้เขียน และหากรตจิตร เขียนสรุปผิดพลาดในความหมายโดยไม่ได้มีเจตนา ก็ขอโทษ ณ โอกาสนี้
ผู้บรรยายธรรม : พระครูสถิต ศีลวัฒน์
วันและสถานที่ : วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2555 ณ ชมรม แมสบุญรักษา มูลนิธิชาวพุทธพาต้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)
การสวดบท นะโม ฯ เพื่อบูชาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านพระครูพูดเกริ่นว่า “นะโมรักษาโรค” ถ้าตราบใดที่เรายัง นะโมอยู่ ก็เท่ากับเรายังไม่ตาย และที่เรา สวดนะโม ฯ กันก็เพราะเรามีศรัทธาในองค์สมเด็จพระพุทธเจ้านั่นเอง
ศรัทธา ถือเป็นป้ายบอกทาง และมีความตั้งใจ คนที่เอาดีไม่ได้ ก็เพราะขาดความตั้งใจ และที่ขาดความตั้งใจ ก็เพราะขาดศรัทธา ขาดความเชื่อ ถ้าเราเชื่อ เช่น เชื่อเรื่องบุญมีจริง เราจะทำโดยไม่ระแวงเลย ท่านพระครู ฯ เล่าเรื่องตามข่าวไว้หลายเอง แต่รตจิตร คิดว่าเพื่อน ๆ ก็ทราบอยู่แล้ว จึงขอผ่านไป ไม่นำมาเขียน ในที่นี้ ท่านพระครู ฯ ได้แบ่งความเชื่อเป็น 3 อย่างคือ
1. เชื่อเรื่องพฤติกรรม
2. เชื่อเรื่องบุคคล
3. เชื่อเรื่องวิชาการ
เชื่อเรื่องพฤติกรรม
พระพุทธเจ้าทรงสอนการเชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรม กรรม ก็คือ การกระทำนั่นเอง ทุกคนมีกรรมเป็นของ ๆ ตน หากใครเชื่อเรื่องกรรมจริง ๆ ก็จะลดภาระต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตามความเห็นของ ท่านพระครู ฯ หมอดูประเภทที่ชอบทัก หรือแนะนำให้ญาติโยมมาทำบุญ ท่านพระครู ฯ จะไม่ค่อยว่า เช่นบอกว่า ช่วงนี้ดวงไม่ดี ให้ทำธรรมสังฆทาน ให้ปล่อยนก ปล่อยปลา ทำบุญโรงศพ และบริจาคสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น
เชื่อเรื่องบุคคล
หลาย ๆ คน มี Idol ของตนเอง บางคนมักพูดว่า ไม่เชื่อใคร เชื่อตน แต่ความจริง ต้องมี Idol ของตนเอง เช่น ท่านพระครู ฯ มีเป็น Idol ของตนเอง บางคนแค่ระลึกถึงพระองค์ ก็สุขแล้ว เพราะจะหาใครเท่าพระองค์นั้น ไม่มี
เชื่อเรื่องวิชาการ
ถ้าเชื่อพระพุทธเจ้า ฯ ต้องเชื่อสิ่งที่พระพุทธจ้า ตรัสรู้ด้วย พุทธศาสตร์เป็นหนึ่ง
มีภาษาบาลีว่า ธมฺม สรณ คัจฉามิ คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าดีที่แล้ว
ก่อนที่จะจบการบรรยายธรรม ท่านพระครู ฯ สรุปว่า ความเชื่อทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อเรื่องพฤติกรรม, เชื่อเรื่องบุคคล, และเชื่อเรื่องวิชาการนั้น ก็คือการเชื่อเรื่อง พระพุทธเจ้า นั่นเอง