ประเภทและลักษณะเครื่องหมายการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา

บทความนี้เรียบเรียงโดยอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช จากการบรรยายของคุณมงคล แก้วมหา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หากต้องการเผยแพร่หรือบอกต่อ กรุณาใช้ Link คือ https://sw-eden.net/2016/03/22/trade-mark/ หรือ http://wp.me/peBZp-1c3 กรุณาอย่า copy ไปไว้ในเว็บอื่นหรือสื่ออื่น

กรมทรัพย์สินทางปัญญา รับขึ้นทะเบียนเครื่องหมาย 4 ลักษณะ คือ
1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark)
2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) เช่น ธนาคาร, โรงแรม, เว็บไซต์
3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) เช่น เครื่องหมายที่นำไปรับรองธุรกิจอื่นๆ หรือบุคคลอื่นๆ เช่น เชลล์ชวนชิม เครื่องหมายชนิดนี้จะใช้กับธุรกิจของคนอื่น ได้เท่านั้น ห้ามมิให้ใช้กับธุรกิจของคนจดเอง
4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) เช่น เครื่องหมายที่จดขึ้นเพื่อให้กับกลุ่มธุรกิจย่อยๆ ของบริษัทหนึ่ง หรือกลุ่มบริษัทหนึ่งๆ

ผู้ประกอบการธุรกิจไม่จำเป็นต้องจดเครื่องหมายการค้าก็ได้ แต่การจดจะทำให้ได้รับการคุ้มครอง ป้องกันการลอกเลียนแบบ ในบางประเทศยังได้รับการคุ้มครองการจอง Domain Name หรือ URL ของเว็บไซต์ เพื่อมิให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้าตัวจริงมาจอง Domain Name และมาขาย Domain Name กับเจ้าของตัวจริงทีหลังในราคาแพง จากประสบการณ์ของ สว อิเฎล เอง เคยเห็นชื่อ Domain ที่โดนๆ มากมายถูกจองไว้โดยเจ้าของ server หรือ พวก web hosting และมาขายคนธรรมดาๆ ที่ต้องการชื่อดังกล่าวในราคาแพง ปกติ สว อิเฎล จะซื้อ Domain Name ราคาอย่างมากไม่เกิน 20 เหรียญสหรัฐต่อปี แต่บางชื่อ อาจถูกขายในราคามากกว่า 1000 เหรียญต่อปี

การจดเครื่องหมายการค้าครั้งหนึ่งๆ จะคุ้มครองได้เป็นเวลา 10 ปี เป็นหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จะต่ออายุเครื่องหมายการค้านั้นๆ หากเครื่องหมายการค้าหมดอายุ และคู่แข่งจะมาชิงจดต่อ เขาไม่สามารถนำไปจดทะเบียนซ้ำได้ นอกจากนี้ เครื่องหมายการค้าต้องไม่นำมาจากภาพเป็นลิขสิทธิ์ของคนอื่น หรือซ้ำกับลวดลายที่เคยมีคนจดสิทธิ์บัตรไป แต่ตอนที่ สว อิเฎล เอาตราสัญลักษณ์ของเว็บไซต์ไปจด ก็แอบเห็นว่าภาพในสมุดรวมเครื่องหมายการค้า เป็นภาพที่มีลิทธิ์เป็นของคนอื่น หรือลอกเลียนแบบมา นั้นมาจากเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจสอบไม่ดี

หากเครื่องหมายการค้า 1 เครื่องหมาย ถูกนำไปใช้กับสินค้าหลายประเภท หรือ เป็นได้ทั้งเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้า ผู้จดก็ต้องจดแยก และจ่ายเงินตามแต่ละชนิดไป ทำให้ ยิ่งมีสินค้าหลากหลาย ก็ต้องจ่ายเงินมากขึ้นเท่านั้น ในกรณีของ สว อิเฎล ได้ยืนจดเครื่องหมายเดียวกันเป็น 2 ลักษณะ คือเครื่องหมายการค้าที่เป็นตราสัญลักษณ์ของหนังสือ และเครื่องหมายบริการซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของเว็บไซต์

ภาพตัวอย่างการยืนขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ภาพที่นำไปจดทะเบียน ไม่ควรเป็นภาพใหญ่ เพราะค่าจดจะแพงขั้น หากเครื่องหมายการค้า สามารถดูออกได้จากภาพขนาดเล็ก มีรายละเอียดไม่มาก ก็ควรพิมพ์ภาพเล็กไปจดทะเบียน นอกจากนี้ ยังออกแบบให้เป็นภาพขาวดำ เพื่อจะทำให้เวลานำไปใช้งานจริงๆ สามารถเปลี่ยนสีไปได้เรื่อยๆ ตามความเหมาะสมกับสินค้า และป้ายต่างๆ

การจดเครื่องหมายการค้า สามารถจดได้เป็น 4 ลักษณะ คือ
1. คำ เช่น เครื่องหมายการค้าที่อยู่ในลักษณะ Wordmark และ Lettermark
2. ภาพ เช่น เครื่องหมายการค้า ที่เป็น Symbol และ Emblem
3. กลุ่มสี ตั้งแต่ 2 สีขึ้นไป เช่น สีที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กร เช่น 7-ELEVEn และ ธนาคารไทยพานิชย์
4. รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เช่น รูปร่างขวดที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ขวดเครื่องสำอางค์ ขวดโค้ก

กรณีที่นำ Wordmark หรือ Lettermark ไปจดทะเบียน หากมีการเปลี่ยน Font ก็ต้องไปจดทะเบียนใหม่ การจดครั้งหนึ่งๆ ทั้งเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แต่ต้องจดแยกกัน

สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าคือ
1. “การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทำให้ภาพที่นำไปจดมีลิขสิทธิ์เกิดขึ้น” ที่ข้อความนี้ไม่จริงเพราะ ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อเจ้าของสร้างสรรค์ผลงาน
2. “การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทำให้ผู้จดไม่ต้องเสียภาษี”

ผลงานการออกแบบตราสัญลักษณ์องค์กร โดย นาย พชร หรือ ต้นหอม นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
การออกแบบตราสัญลักษณ์

Advertisement

Leave a comment

Filed under Uncategorized

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.