ตัวอย่างโครงร่างงานบทความวิจัย

บทความนี้ สว อิเฎล เขียนขึ้นมาเพื่อพี่น้องชาว M78 และ L77 รวมถึงเพื่อนๆ อมนุษย์ผู้เป็นอัจฉริยะ ทั้งหลาย

หัวข้อวิจัย: การศึกษาความเป็นตัวตนของตัวละครเรื่อง “Ultraman Zero: The Revenge Of Belial”

== บทนำ ==

– ภาพยนตร์เรื่อง Ultraman Zero: The Revenge Of Belial เป็นภาพยนตร์ที่มีผู้ชมมากมาย มาจากทั่วโลก ทั้งดูจากโรงภาพยนตร์โดยตรง ดูทางออน์ไลน์ ตลอดจนทาง DVD แสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีอิทธิพลไม่น้อยกับกลุ่มผู้ชม
– จากที่ทราบกันดีว่าภาพยนตร์อุลตร้าแมน มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กเล็ก และเด็กเล็กเรียนรู้จากสื่อต่างๆ รอบตัวเขา เพื่อเตรียมตัวเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (อ้างอิง) ภาพยนตร์อุลตร้าแมนจึงควรมีการสอนเด็กเล็กอย่างถูกต้อง
– งานวิจัยชิ้นนี้ ศึกษาความเป็นตัวตนของตัวละครต่างๆ ในภาพยนตร์ Ultraman Zero: The Revenge Of Belial เพราะ การสร้างตัวตน เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็ก ซึ่งส่งผลถึงพฤติกรรมด้านการแสดงออก การเลือกซื้อสินค้า การเล่น ตลอดจนพัฒนาการในด้านต่างๆ (อ้างอิง)

== ทบทวนวรรณกรรม ==

– ความเป็นตัวตน หมายถึง ………… (ประโยคเดียวพอ)
– มีงานวิจัยมากมายศึกษาความเป็นตัวตน ความเป็นตัวตนสามารถบ่งบอกพฤติกรรมการเลือกสีสินค้า (อ้างอิง) ซึ่งคนที่มีความเป็นตัวตนสูง จะเลือกซื้อสินค้าในลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์มากกว่าคนที่มีความเป็นตัวตนต่ำ (อ้างอิง) นอกจากนี้ ความเป็นตัวตนที่มีลักษณะต่อต้านสังคม ยังทำให้เด็กวัยรุ่นมีพฤติกรรมก้าวร้าว (อ้างอิง) แต่ความเป็นตัวตนก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อคนเราย้ายถิ่นฐาน (อ้างอิง) หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่ออายุมากขึ้น (อ้างอิง) ดร.ซากิ ค้นพบแนวทางการสร้างแรงจูงใจให้คนสามารถเปลี่ยนความเป็นตัวตนในทางที่ดี โดยอาศัยความอบอุ่นในครอบครัวเข้ามาช่วย (อ้างอิง)
– ภาพยนตร์เป็นสื่อคนมากมายรับชม และมีผลกับความเป็นตัวตนของผู้ชม (อ้างอิง) โดยเฉพาะในวัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยเรียนรู้ (อ้างอิง)
– ภาพยนตร์ที่มีสีสันต์ทำให้ผู้ชมมีบุคคลิกร่าเริง แจ่มใส (อ้างอิง) แต่ในทางกลับกัน ภาพยนตร์ที่มีความโหดร้าย จะทำให้ผู้ชมมีพฤติกรรมก้าวร้าว (อ้างอิง) และ มีความคิดนิยมความก้าวร้าว (อ้างอิง)
– สรุปได้ว่า ความเป็นตัวตนมีผลกระทบกับพฤติกรรมหลายๆ ด้าน และ ภาพยนตร์มีผลกระทบมากกับความเป็นตัวตน. ดังนั้น การศึกษาการแสดงความเป็นตัวตนของตัวละครในภาพยนตร์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

== วิธีการ ==

coders: coders มี 4 คน ซึ่งคือผู้ทำวิจัย. coder แต่ละคนได้รับการฝึกปฏิบัติร่วมกันก่อนที่จะแยกย้ายกันไปวิเคราะห์ข้อมูล
case: ความเป็นตัวคนของตัวละครแต่ละตัวในเรื่อง Ultraman Zero: The Revenge Of Belial โดยผู้วิจัยจะเลือกเฉพาะตัวละครที่โดดเด่นเท่านั้น คือ Ultraman Zero, Princess Emerana Luludo Esmeralda, Mirror Knight, Jean-bot, Glenfire, Ultraman Zoffy, และ Ultra Seven
การวิเคราะห์: ใช้วิธี Thematic Analysis เพื่อวิเคราะห์ความเป็นตัวตนของตัวละครแต่ละตัว และหาตัวอย่างประกอบว่าการมีตัวตนนั้นๆ เช่น การที่ Glenfire หัวเราะและอวดอ้างความสามารถของตนเอง แสดงว่า เป็นจำพวก คนหลงตนเอง

Ultraman Zero and Nova Monster ノーバ (てるてる坊主)

== ผล ==

1) Ultraman Zero: มีความขี้โม้ หลงตนเอง แสดงให้เห็นได้จากเหตุการณ์ ……… ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการที่เคยเอาชนะศัตรูได้แล้วครั้งหนึ่ง แต่ถึงแม้ว่าจะเคยเอาชนะศัตรูมาได้ คนเราก็ไม่ควรจะมั่นใจเกินไปว่าตนจะชนะอีกเป็นครั้งที่ 2 การที่ภาพยนตร์แสดงออกถึงสิ่งนี้ อาจทำให้เด็กเลียนรู้ว่า การทำงานสำเร็จเพียงครั้งเดียวก็สามารถนำไปโชว์โอ้อวดได้ทันที ซึ่งเป็นการสอนในทางที่ผิด และยิ่งไปกว่านั้น Ultraman Zero เป็นตัวละครที่เด่นที่สุดในเรื่อง และเด็กอาจจะชื่นชอบเขามากที่สุดในเรื่อง ทำให้เด็กอาจเลียนแบบพฤติกรรมของตัวละครตัวนี้มากที่สุด
2) Princess Emerana Luludo Esmeralda: เป็นผู้ที่มีความเสียสละ แม้กระทั่งเลือดของตนเองก็ยังยอมเสียสละเพื่อให้กลุ่มเพื่อนฝ่าพ้นวิกฤต การนำเสนอบทบาทของตัวละครฝ่ายดี ในลักษณะนี้ เป็นการสอนที่ดี ต่อเด็กเล็ก ทำให้เด็กรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม เห็นประโยชน์ของคนหมู่มากเป็นสำคัญ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ฉากที่เจ้าหญิงเสียสละตนเองมีอยู่เพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น หากเด็กเล็กไม่ตั้งใจดู ก็อาจจะจับใจความไม่ได้ ทางนักวิจัยจึงแนะนำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ในอนาคต เน้นย้ำในฉากที่มีคำสอนดีๆ ให้มากขึ้น อาจใช้วิธีการพูดซ้ำด้วยตัวละครตัวอื่น หรือทำให้เนื้อหาช่วงนั้นๆ ยาวขึ้น
3) Mirror Knight: ………………
4) Jean-bot: …………………..
5) Glenfire: …………………..
6) Ultraman Zoffy: ……………..
7) สว อิเฎล: ………………..

== สรุป และข้อแนะนะ ==

– ตัวละครส่วนใหญจะมีความเป็นตัวตนที่ไม่เหมาะสมต่อการเอาไปเยี่ยงอย่าง ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัญหาของภาพยนตร์สำหรับเด็ก
– ผู้วิจัยแนะนำผู้กำกับ ผู้สร้างภาพยนตร์ ให้สร้างสรรค์งานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เหมาะสมกับผู้ชม ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย
– รัฐบาลอาจมีส่วนช่วยในการออกนโยบาย เช่น ภาพยนตร์ที่มีคำสอนดี และไม่มีความรุนแรง อาจได้รับการลดหย่อนภาษี
– นอกจากนี้ นักวิจัยยังแนะนำพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ให้ดูภาพยนตร์ไปพร้อมๆ กับเด็กเล็ก เพื่อคอยแนะนำ และสอน

== อ้างอิง ==

……
……
……
……

Ultraman Mebius Transforming พราว อรุณรังสีเวช

Advertisement

1 Comment

Filed under Uncategorized

One response to “ตัวอย่างโครงร่างงานบทความวิจัย

  1. Pingback: การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal) ที่ไม่ถูกต้อง | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.