สี (Color) และ เงา (Shade and Shadow) ในการออกแบบประติมากรรม

จากที่อาจารย์พราว แจกเอกสารประกอบการสอนไว้แล้วว่า สีมี 3 คุณลักษณะ คือ Hue, Saturation และ Value ในงานที่เป็นภาพวาด หรือ Digital Paint ที่เป็น 2 มิติ ศิลปินสามารถควบคุมน้ำหนักอ่อนแก่ (Value) ของสีได้ทั้งหมด แต่ในงานประติมากรรม น้ำหนักของสียังขึ้นอยู่กับแสงที่ส่องมายังวัตถุ เมื่อวางประติมากรรมในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความสว่าง/ความเข้มของแสง หรือเป็นสีของแสง

บทความนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช หรือใช้ชื่อในเว็บไซต์ว่า สว อิเฎล ไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นอ้างอิงเพื่อการศึกษาในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น ห้ามนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ (ยกเว้น sw-eden.net) การอ้างอิงเพื่อการศึกษาใช้รูปแบบดังต่อไปนี้

พราว อรุณรังสีเวช. (2016). หลักการออกแบบประติมากรรม (Elements and Principles of Sculpture Design), เอกสารประกอบการสอนวิชา ศิลปะเพื่องานนิเทศศาสตร์, url: (หลักการออกแบบประติมากรรม)

ในส่วนของสีของแสง แสงมิได้มีผลเฉพาะในส่วนของน้ำหนักอ่อนแก่ของสีเท่านั้น หากอาจารย์พราวนำประติมากรรมไปตั้งใว้ในที่ที่มีแสงสีเหลือง สีอื่นๆ ทุกสีก็จะแสดงสีวัตถุที่แท้จริงออกมาไม่ได้ เพราะแสงมีเพียงสีเดียว สิ่งที่สะท้อนจากวัตถุเข้าตามนุษย์ก็มีเพียงสีเดียวเท่านั้น ทำให้สีต่างๆ ดูผิดเพี้ยนไป

แสงสีเหลือง

หากพูดถึงการออกแบบงานขนาดใหญ่ เช่น สถาปัตยกรรม และงานออกแบบภายใน ผู้ออกแบบยังต้องคำนึงถึงแสงสีที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาของวัน และยิ่งประเทศที่มีฤดูหนาว หิมะตก สภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไปด้วย สมัยเรียนปริญญาตรี อาจารย์พราว เรียนสถาปัตยกรรม ตอนนั้น นำเสนองาน ต้องลองวางภาพอาคารกับฉากที่เป็นท้องฟ้าเวลากลางวัน และกลางคืน เพื่อจะได้ทราบว่าอาคารดูแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร อาคารควรที่จะดูดีแม้ว่าแสงสี หรือสีบรรยากาศเปลี่ยนไป ซึ่งสถาปนิกสามารถติดตั้งไฟส่องอาคารเพิ่มเติมได้เอง อาจารย์พราวเคยไปฟังบรรยายการถ่ายภาพของคุณวรดิเรก มรรคทรัพย์ ที่จัดบรรยายพิเศษเรื่องการถ่ายภาพที่วัดญาณเวศกวัน จำได้ว่าพูดถึงเรื่องไฟที่ติดที่หัวลำโพงในอดีต ซึ่งมีหลายสี แต่ปัจจุบันเหลือเพียงสีเดียวคือสีเหลือง

การติดไฟลักษณะนี้ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า สี (Color) และ เงา (Shade and Shadow) ในงานประติมากรรม กับงานภาพเขียน 2 มิติ นั้นแตกต่างกัน คือ ในงานประติมากรรม สี (Color) และ เงา (Shade and Shadow) สามารถเปลี่ยนแปลงได้หลากหลายกว่า ซึ่ง ศิลปินต้องเตรียมพร้อม และคาดคะเนล่วงหน้าในขณะที่สร้างสรรค์ชิ้นงาน ประติมากรรม

รูปนูนสูง พื้นผิวของวัตถุ

องค์ประกอบศิลป์ ของงานประติมากรรม
☀ (0) องค์ประกอบศิลป์ ของงานประติมากรรม
☀ (1) สี (Color) และ เงา (Shade and Shadow)
☀ (2) พื้นผิว (Texture)
☀ (3) ความสมดุลย์ (Balance)
☀ (4) สัดส่วน และ สัดส่วนที่ปรับเปลี่ยนได้ (Scale, Proportion and Altered Proportion)
☀ (5) มวล และ พื้นที่ (Mass and Space)

2 Comments

Filed under Uncategorized

2 responses to “สี (Color) และ เงา (Shade and Shadow) ในการออกแบบประติมากรรม

  1. Pingback: D.I.Y. เขียนเล็บด้วยสีอคริลิค ทำเองให้ดู | Sw-Eden.NET

  2. Pingback: Match Moving คืออะไร? ใช้อะไรทำได้บ้าง? | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.