มวลและพื้นที่ว่าง ในหลักการออกแบบประติมากรรม

มวล และ พื้นที่ (Mass and Space)

มวล และ พื้นที่ว่าง เป็นองค์ประกอบศิลป์ที่สำคัญที่สุดของงานประติมากรรม และงานศิลปะที่อยู่ในรูปแบบ 3 มิติ อื่นๆ ทั้งงานออกแบบภายใน และงานสถาปัตยกรรม และและพื้นที่ว่างของงานศิลป์ลักษณะนี้ จะเป็นมวลและพื้นที่ว่างที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่อย่างที่อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช เคยกล่าวถึงเกี่ยวกับ มวลและพื้นที่ว่างในงานจิตรกรรม 2 มิติ หรืองานภาพถ่าย

ก่อนอื่นอาจารย์พราวขอเกรินเกี่ยวกับงาน 2 มิติก่อน เพื่อนักศึกษาจะได้นึกออกว่าการคำนึงถึงพื้นที่ในงานศิลป์ที่อยู่ในระนาบ 2 มิติ คืออะไร
(1) การใช้พื้นที่ว่างในงานศิลป์ที่ไม่มีจุดนำสายตา (Vanishing Point) หรือไม่มี Perspective จะทำให้ภาพดูมีมิติน้อย แต่ดู เบา สบาย และยังช่วยให้วัตถุที่อยู่ในภาพดูโดดเด่นจากพื้นหลัง
(2) ภาพที่มี Perspective ในส่วนเล็ก ๆ ของภาพ สามารถทำให้ผู้ชมงานศิลปะรับรู้ถึงพื้นที่กว้างมหาสาร ผู้ชมจะรับรู้ถึงพื้นที่ตั้งแต่ใกล้ตนเองไปจนถึงไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา

บทความนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช หรือใช้ชื่อในเว็บไซต์ว่า สว อิเฎล ไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นอ้างอิงเพื่อการศึกษาในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น ห้ามนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ (ยกเว้น sw-eden.net) การอ้างอิงเพื่อการศึกษาใช้รูปแบบดังต่อไปนี้

พราว อรุณรังสีเวช. (2016). หลักการออกแบบประติมากรรม (Elements and Principles of Sculpture Design), เอกสารประกอบการสอนวิชา ศิลปะเพื่องานนิเทศศาสตร์, url: (หลักการออกแบบประติมากรรม)

Solid and Void ใน Scale สัดส่วนมนุษย์จริงๆ

มวล และ พื้นที่ (Mass and Space) ในงานประติมากรรม 3 มิติ สามารถถูกเรียกได้หลายชื่อ แต่มีความหมายคล้ายคลึงกัน

กรณีที่ 1 หากนักศึกษาได้ยินคำว่า Mass and Space ให้คิดถึงว่า Mass คือตัววัตถุ และ Space คือพื้นที่ว่างของวัตถุ

กรณีที่ 2 หากอาจารย์พราว พูดว่า Positive Space และ Negative Space ให้นักศึกษารู้ว่า Positive Space คือตัววัตถุ เป็นพื้นที่และปริมาณที่มีวัตถุตั้งอยู่ แต่ Negative Space เป็นพื้นที่ว่างๆ ที่อยู่รอบๆ วัตถุ หากในงานออกแบบภายใน พื้นที่ว่างๆ นี้คือพื้นที่ที่คนสามารถเดินไปเดินมาได้

กรณีที่ 3 เป็นภาษาทางสถาปัตยกรรม ซึ่งอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช เคยเรียนในคณะสถาปัตยกรรมสมัยอยู่ปริญญาตรี จึงคุ้นมากๆ กับคำนี้ คือ Solid and Void

Solid
คือ ส่วนที่ทึบและตัน
Void คือ พื้นที่ว่าง

งานแรกๆ ที่อาจารย์พราวถูกสั่งให้ทำตอนเรียนที่นิวยอร์ก คือ สร้างโมเดลเพื่อศึกษาเรื่อง Positive Space และ Negative Space หรือ Solid and Void ซึ่ง สิ่งที่สำคัญมากคือ การต่อเนื่องของแต่ละ Space เพราะการออกแบบสถาปัตยกรรมจริง ทุก Space ต้องมีทางออก ผู้ใช้อาคารสามารถเดินไปเรื่อยๆ รอบอาคารได้ มิใช่แบบห้องลัพธ์ในปิรามิด ที่ไม่ให้คนเข้าไป

Central World, Thailand โถงกลางห้างสรรพสินค้า

การคำนึงถึง Solid and Void สามารถคำนึงถึงได้ 2 รูปแบบ
(1) Solid and Void ใน Scale ของภาพรวมของอาคาร
(2) Solid and Void ใน Scale สัดส่วนมนุษย์จริงๆ

Solid and Void ใน Scale ของภาพรวมของอาคาร คือ เมื่อผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านรับรู้ถึงมวล และพื้นที่ว่าง ที่มีขนาดใหญ่ เช่นในห้างสรรพสินค้า ส่วนที่ดูแล้วเป็นพื้นที่ว่างคือ โถงอาคารที่ทุกชั้นมีโถงนั้นต่อเนื่องกัน และมีบันไดเลื่อนรอบๆ และส่วนที่ดูแล้วทึบ คือส่วนที่เป็นตัวอาคารจริงๆ มีร้าน มีคนเดินไปเดินมา

Solid and Void ใน Scale สัดส่วนมนุษย์จริงๆ คือ การที่ผู้ออกแบบภายใน คำนึงถึงช่องทางเดิน พื้นที่การทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ซึ่งทางเดินและพื้นที่ที่มนุษย์อยู่ได้ คือ Solid และ ตัวเฟอร์นิเจอร์, กำแพง, เสา, และอะไรก็ตามที่เป็นกลุ่มก้อน คือ Void

Solid and Void ในทั้งสอง Scale สามารถสร้างการรับรู้ (Experience) ที่แตกต่างกัน เมื่อใช้วัสดุที่แตกต่างกันออกไป เช่น คอนกรีตที่ทึบแสง ทำให้ดูแล้วเป็น Solid แต่การใช้กระจกหรือวัสดุโปร่งแสง/โปร่งใส ทำให้ดูแล้วว่างเปล่า สิ่งที่คนรับรู้เหล่านี้อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็ได้ เพราะบริเวรของอาคารที่ดูแล้วเป็น Void อาจเป็นพื้นที่ที่ถูกใช้งาน มิใช่พื้นที่โล่งๆ ที่ไม่มีประโยชน์ใดๆ

Apple Store Glass Stair Solid and Void

องค์ประกอบศิลป์ ของงานประติมากรรม
☀ (0) องค์ประกอบศิลป์ ของงานปฏิมากรรม
☀ (1) สี (Color) และ เงา (Shade and Shadow)
☀ (2) พื้นผิว (Texture)
☀ (3) ความสมดุลย์ (Balance)
☀ (4) สัดส่วน และ สัดส่วนที่ปรับเปลี่ยนได้ (Scale, Proportion and Altered Proportion)
☀ (5) มวล และ พื้นที่ (Mass and Space)

1 Comment

Filed under Uncategorized

One response to “มวลและพื้นที่ว่าง ในหลักการออกแบบประติมากรรม

  1. Pingback: Match Moving คืออะไร? ใช้อะไรทำได้บ้าง? | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.