พื้นผิวของงานจิตรกรรมที่อยู่ในรูปแบบ 2 มิติ มีความหลากหลายน้อยกว่าพื้นผิวในงานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน กล่าวคือ งานศิลปะที่อยู่ในรูปแบบ 3 มิติ สามารถสร้างความลึกให้กับพื้นผิวได้มากกว่า ตั้งแต่งานจำพวกนูนต่ำ นูนสูง และพื้นผิวที่เจาะทะลุไปอีกด้านหนึ่ง ของระนาบ (Plane)
บทความนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช หรือใช้ชื่อในเว็บไซต์ว่า สว อิเฎล ไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นอ้างอิงเพื่อการศึกษาในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น ห้ามนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ (ยกเว้น sw-eden.net) การอ้างอิงเพื่อการศึกษาใช้รูปแบบดังต่อไปนี้
พราว อรุณรังสีเวช. (2016). หลักการออกแบบประติมากรรม (Elements and Principles of Sculpture Design), เอกสารประกอบการสอนวิชา ศิลปะเพื่องานนิเทศศาสตร์, url: (หลักการออกแบบประติมากรรม)
พื้นผิวในงานประติมากรรม จะมีผลกับ Value หรือน้ำหนักของสีของวัตถุ ในกรณีที่วัตถุมีผิวเรียบ เมื่อส่องไฟไปโดนบริเวรดังกล่าว จะทำให้พื้นผิวของวัตถุบริเวรนั้นสว่าง เพราะสามารถรับแสงได้ทั้งระนาบ แต่ในทางกลับกัน หากอาจารย์พราวปั้นวัตถุมีผิวขรุขระ แสงจะตกกระทบได้เฉพาะส่วนที่อยู่นอกสุด และยิ่งไปกว่านั้น ความขรุขระของผิววัตถุยังสามารถบดบังแสงไม่ให้ส่องโดนพื้นผิวบริเวรใกล้เคียง
หากพูดถึงพื้นผิว นักศึกษาอาจคิดถึงผิวของวัตถุ ที่ไม่น่าจะหนาเกินครึ่งฟุต แต่อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช ไม่ได้มองพื้นผิวว่าเป็นได้แค่นั้น หากวัตถุมีขนาดใหญ่มาก อย่างอาคารสูง พื้นผิวสามารถหมายถึงพื้นผิวรอบนอกอาคารทั้งหมด (Facade) ที่เมื่อมองมาจากที่ไกล ๆ สามารถเห็นเป็นลาดลาย การออกแบบ Facade ที่ดี จะไม่ใช่แค่การผักชีโรยหน้า เพื่อปิดบังความน่าเบื่อของหน้าต่างธรรมดาๆ แต่การออกแบบ Facade ควรมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอาคาร มีความเชื่อมโยงกับอาคาร ตลอดจนมีประโยชน์ทางด้านการใช้งานของอาคาร เช่น มีวางแผนการหมุนเวียนของอากาศในอาคาร มีการวางแผนว่าแดดสามารถส่องเข้าไปมากน้อยเท่าใด เป็นต้น
เนื่องจากงานประติมากรรม และงานที่อยู่ในรูปแบบ 3 มิติอื่น ๆ มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากกว่างานภาพเขียน 2 มิติ ทั่วไป ทำให้การออกแบบพื้นผิวของสิ่งเหล่านี้มีผลกับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น หาก สว อิเฎล อยู่ในอาคารที่มีผนังเป็นรูพรุน เมื่อแดดส่องมายังอาคาร จะทำให้เงาด้านในตัวอาคาร เป็นลายจุดๆ เช่นกัน พื้นผิวที่มีความใส เช่น กระจก หรือ โปร่งแสง อย่างกระจกฝ้า อิฐบล็อกแก้ว ก็สามารถทำให้รูปแบบแสงเงาในตัวอาคารมีความแตกต่างกันออกไป
พื้นผิวภายนอกตัวอาคารก็เช่นกัน (Facade) สถาปนิกมักต้องการความกลมกลืน ของอาคารของตน กับอาคารเพื่อบ้าน เช่น ระดับความสูงของอาคารของตน กับอาคารเพื่อนบ้าน การแก้ปัญหาเรื่องความกลมกลืนทางด้านพื้นผิว วิธีหนึ่งคือ การใช้กระจกเป็นพื้นผิวอาคาร เพราะ กระจกสามารถสะท้อน ทำให้พื้นผิวของอาคารข้างเคียง มาปรากฎอยู่บนพื้นผิวของอาคารที่ออกแบบ
ภาพด้านล่างเป็นภาพของอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช กับ New Museum ที่นครนิวยอร์ก จะสังเกตุได้ว่า ความสูงของก้อนที่ 3 ของ New Museum ใกล้เคียงกับตึกที่อยู่ข้างๆ และความสูงของก้อนที่ 2 กับก้อนที่ 1 สูงพอดีกับขอบหน้าต่างของอาคารข้างๆ เช่นกัน การออกแบบลักษณะนี้สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน รักษาภาษา (Language) ทางด้านการออกแบบได้เป็นอย่างดี
ส่วนล่างสุดภาพนี้ เป็นภาพของอาคาร IAC Building ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดัง Frank Gehry ผิวด้านนอกของอาคาร สะท้อนกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เป็นการสร้างความกลมกลืน แม้ว่ารูปร่างรูปทรงของอาคารจะมีความแตกต่างกับเพื่อนบ้านมาก
องค์ประกอบศิลป์ ของงานประติมากรรม
☀ (0) องค์ประกอบศิลป์ ของงานประติมากรรม
☀ (1) สี (Color) และ เงา (Shade and Shadow)
☀ (2) พื้นผิว (Texture)
☀ (3) ความสมดุลย์ (Balance)
☀ (4) สัดส่วน และ สัดส่วนที่ปรับเปลี่ยนได้ (Scale, Proportion and Altered Proportion)
☀ (5) มวล และ พื้นที่ (Mass and Space)
Pingback: Match Moving คืออะไร? ใช้อะไรทำได้บ้าง? | Sw-Eden.NET