ภาคเรียนต้นปี 2559 หรือที่เรียกว่าเทอม 2 ของปีการศึกษา 2558 อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช สอน วิชาการออกแบบ ของสาขา Animation and Multimedia และ วิชาการสร้างภาพเสมือน 2 หรือที่เรียกว่า “3D ตัวที่ 2” ของสาขาวิทยุโทรทัศน์ ชั้นปีที่ 1 กับชั้นปีที่ 3 ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้ซื้ออุปกรณ์ AnimaKit มาให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ ดังนั้นแล้ว การฝึกใช้ก็จะไม่ใช่แค่ใช้เครื่องมือเป็น แต่ต้องสามารถนำไฟล์จากเครื่อง Mocap ที่ได้จากการบันทึกการเคลื่อนไหวของนักศึกษาเอง มาใช้งานในโปรแกรม 3D เช่นกัน . ถ้าใครเรียนกับอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช จะได้เรียน 3Ds Max แต่เรียนกับห้องอาจารย์ตุ๋ย ได้เรียน Maya ซึ่งทั้งสองโปรแกรม สามารถใช้ไฟล์จากเครื่อง Motion Capture (Mocap) ได้เหมือนกัน
(1)
– ตามภาพด้านล่าง มีไฟล์อยู่ 2 ไฟล์ใน Folder
– ไฟล์บนคือไฟล์ .bvh ได้มาจากเครื่อง Motion Capture
– ไฟล์ล่างคือ ไฟล์ตัวละคร ที่เป็นโครงกระดูก เหมือนจริง
**คนที่ไม่มีไฟล์ให้ลองเล่น จะ Download ไฟล์ของอาจารย์พราว ไปเล่นดูก่อนก็ได้ค่ะ
๑. Download ไฟล์ .bvh
๒. Download ไฟล์กระดูกซี่โครงสีเทา
.
(2)
– เปิดไฟล์ 3Ds Max ที่เป็นกระดูก
– คนที่ไม่มีไฟล์ สามารถเอาตัวละครอะไรก็ตามมาใช้ก่อนได้
.
(3)
– ขั้นตอนนี้ จะเริ่มต้น การสร้างกระดูก
– ตามรูป คลิกที่ ดวงอาทิตย์ (Create)
– คลิกที่ ฟันเฟือง (Systems)
– คลิกที่ ปุ่ม Biped
– และย้ายเมาส์ไปที่หน้าจอ และลากสร้างกระดูกขึ้นมา
– ตามภาพด้านล่าง ตัวที่สร้างขึ้นมาใหม่จะมีสีเยอะๆ แต่ตัวละครที่มีในไฟล์อยู่แล้ว จะมีสีเทา
– เมื่อสร้างเสร็จแล้ว คลิกขวา ที่จอว่างๆ เพื่อออกจากคำสั่งสร้างกระดูก
.
(4)
– เลือกกระดูกตัวที่มีสี โดลกลากเมาส์คลุมทั้งตัว
– คลิกปุ่ม Motion ที่เป็นรูปล้อกลมๆ
– เลือก Parameters (ปกติโปรแกรมจะเลือกมาให้แล้ว)
– ไปที่เมนูด้านล่างๆ จะมีแถบที่เขียนว่า “Motion Capture”
– คลิกปุ่มแรกซ้ายมือ คือ Load Motion Capture File
.
(5)
– หลังจากที่คลิกปุ่ม Load Motion Capture File แล้ว จะมีหน้าต่างขึ้นมาเพื่อให้เลือกไฟล์
– ให้เราเลือกประเภทไฟล์เป็น .ฺBVH หรือ นามสกุลอะไรก็ตามที่เรามีอยู่ในมือ
– เลือกไฟล์
– กด Open
.
(6)
– จะมีหน้าต่างที่มีตัวหนังสือมากมายปรากฎขึ้น
– คลิก OK ที่มุมขวาล่าง
.
(7)
– ขั้นตอนนี้ กระดูกที่เป็นสีๆ จะขยับตามไฟล์ Mocap ทุกประการ
– แต่สิ่งที่เราต้องการคือ ให้ตัวกระดูกสีเทาขยับตาม
– เราจึง มาที่ Frame แรก
– พยายามจัดวางให้โครงสร้างของกระดูกจริงกับกระดูกปลอมทับซ้อนกัน
– ถ้าใครจัดไม่คล่อง ให้ดูบทความนี้
.
(8)
– ไฟล์กระดูกสีเทาที่เตรียมไว้ให้ จะไม่ใช่ Mesh รวมทั้งชิ้น แต่กระดูกจะออกมาเป็นท่อนๆ
– นักศึกษา สามารถใช้ปุ่ม Select and Link ที่มุมซ้ายบนของหน้าจอ
– คลิกที่ปุ่ม Select and Link
– กดเมาส์ลงที่กระดูกสีเทา หรือตัวละคร
– ยังไม่ปล่อยจากปุ่มเมาส์
– ลากเมาส์ไปที่กระดูกที่มีสีๆ
– ทำแบบนี้ทุกๆ ส่วนของกระดูก
.
(9)
– หลังจากขั้นตอนในข้อ (8) จะพบว่า โครงกระดูกเรา เคลื่อนไหวตามกระดูกสีๆ แล้ว
– แต่เราไม่ได้อยากเห็นกระดูกสีๆ ในงานที่จะนำไปใช้งานจริง
– เราจึงต้องหาทางเอามันออก
.
(10)
– ดูที่ Selection Filter หรือที่มีเมนูให้เลือกที่มุมซ้ายบนของหน้าจอ
– ทำตามรูปด้านล่างเลยจ้า
– เราเปลี่ยนจากคำว่า “All” ให้เป็น “Bone”
– แสดงว่าตอนนี้ ไม่ว่าเราจะคลิกที่ไหน ก็เลือกได้เฉพาะส่วนของกระดูกสีๆ เท่านั้น
– ลากเลือกกระดูกสีๆ ทั้งหมด
– คลิกขวา
– เลือก “Hide Selection”
.
(11)
– หลังจากทำตามข้อ (10) จะพบว่า กระดูกสีๆ หายไปแล้ว
– เราสามารถกดปุ่ม กาน้ำ เพื่อ Render งานได้
.
Pingback: สอนวิธีการใช้โปรแกรม Maya สร้างวัตถุ (ฟรี) | Sw-Eden.NET