ภาคเรียนต้นปี 2559 หรือที่เรียกว่าเทอม 2 ของปีการศึกษา 2558 อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช ทดลองให้นักศึกษาสาขา Animation and Multimedia ที่ราชภัฏสวนสุนันทา ลองใช้เครื่อง Motion Capture ตอนปลายภาค และอีกกลุ่มที่จะทดลองใช้คือ นักศึกษาวิทยุโทรทัศน์ ในรายวิชา การสร้างภาพเสมือน ตัวที่ 2 ชั้นปีที่ 3 หลังจากนั้น นักศึกษาทั้งสองกลุ่มจะต้องนำไฟล์ที่ได้เป็น .bvh ไปใส่ในโปรแกรม 3Ds Max
(1)
– เปิดโปรแกรม iPi Recorder หรือถ้าหาไม่เจอก็ค้นหาโดยพิมพ์ชื่อโปรแกรมที่ Window Start Menu
.
(2)
– ในหน้าแรกของโปรแกรม ดูว่ากล้อง Kinect ถูกเชื่อมต่อครบ 2 ตัวหรือไม่
– ถ้ายังไม่ต่อ ก็พยายามให้ต่อให้เสร็จ แล้วค่อยไปขั้นตอนถัดไป
– เราจะเห็นปุ่มสีส้มอยู่ด้านล่างสุดตรงกลางของหน้าจอ ให้กดปุ่มสีส้ม
– ปุ่มส้มที่ 1 คือ SETUP
.
(3)
– เมื่อกดปุ่ม Setup แล้ว จะเห็นภาพที่กล้องทั้งสองตัวเห็น
– ให้เพื่อนไปยืนดู เพื่อกะระยะกล้อง พยายามให้กล้องเห็นตัวเพื่อนเป็นสีน้ำเงินทั้ง 2 กล้อง และมี background ด้านหน้าเป็นสีน้ำเงินนิดนึง จะดีมาก
– เมื่อกะระยะเสร็จ ไล่เพื่อนทุกคนออกจากหน้าจอ เพื่อจะให้เครื่องตรวจจับว่า Background หน้าตาเป็นอย่างไร
– ปุ่มส้มที่ 2 คือ BACKGROUND
– เครื่องจะใช้เวลาไม่กี่วินาที เพื่อ Evaluate Background
.
(4)
– ปุ่มส้มที่ 3 คือ RECORD
– ให้เพื่อนไปยืนทำท่าเป็นรูปตัว T
– อย่าลืม! กล้องทั้งสองตัวต้องเห็น หัวจรดเท้า และเห็นเพื่อนเป็นสีน้ำเงิน
– ปุ่มส้มที่ 4 คือ START
– เพื่อจะยืนรูปตัว T ค้างอยู่ประมาณ 2 วินาที และจะทำท่าอะไร ก็ทำไป
– เมื่อเสร็จ ให้ ปุ่มส้มที่ 5 คือ STOP
.
(5)
– ด้านขวามือของหน้าจอ จะมีไฟล์ที่พึ่งบันทึกเสร็จแปะอยู่ด้านบนสุด
– เอาเมาส์ไปวางบนไฟล์
– จะเห็นปุ่ม Play กับปุ่มที่มี 3 จุดเรียงกันแนวตั้ง
– คลิกปุ่มที่มี 3 จุด
– จะมีเมนูเพิ่มออกมา
– คลิกปุ่ม S
.
(6)
– จะมีหน้าต่างโผล่ขึ้นมาถาม ว่าสิ่งที่บันทึก เป็นการบันทึกการเคลื่อนไหว หรือเป็นการ Calibration
– เราไม่ต้องสนใจ ให้คลิก Next ไปเรื่อยๆ
– คลิก Next ไปจนถึงตอนที่โปรแกรมถามว่า เป็น Male หรือ Female
– ตอบไปตามจริงว่าเพื่อนเพศอะไร และสูงเท่าไร และคลิก Finish
(7)
– ตอนนี้ เราจะอยู่ที่หน้าต่าง iPi Mocap Studio
– วิดีโอจะเล่นไปเรื่อยๆ ให้เรากด Pause ให้ค้างไว้ที่จุดเริ่มต้นของวิดีโอ
(ดูตามภาพด้านล่าง)
1 ใช้ปุ่ม Move และ Rotate เพื่อนำตัวที่มีกระดูกสีน้ำเงิน ไปวางให้พอดีกับตัวเพื่อน
2 กด Refit Pose เมื่อรู้สึกว่าพอดีแล้ว
3 กด Track Forward เพื่อให้ตัวกระดูกขยับตามท่าทางคนไปเรื่อยๆ ถ้าเกิดหลุดเมื่อไร เราสามารถไปจัดท่าให้พอดี และ Track Backward ได้
4 ส่วนนี้ จะทำหรือไม่ทำก็ได้ เป็นการเอา Key ที่ทำให้กระตุกออก
5 คลิก tab ที่ชื่อ Export
– ใน Tab ที่ชื่อ Export ให้คลิกปุ่ม “Export Animation”
– เลือกชนิดไฟล์เป็น 3Ds Max .bvh
.
(8)
– เมื่อ save ไฟล์ .bvh ได้แล้ว ตอนนี้เราจะมาดูขั้นตอนถัดไป ถึงการนำไฟล์นี้ไปใช้ในโปรแกรม 3Ds Max
.
(0)
– ดู Video ทวนตั้งแต่ข้อ (1) ถึงข้อ (7)
Pingback: สอนวิธีการใช้โปรแกรม Maya สร้างวัตถุ (ฟรี) | Sw-Eden.NET
Pingback: Match Moving คืออะไร? ใช้อะไรทำได้บ้าง? | Sw-Eden.NET