The Drama of Thai cinema
เขียนโดย ©รตจิตร
Written by Ratajit | June 22, 2016
**งานเขียนนี้ของรตจิตร ถือเป็นวิทยาทานเพื่อให้ทุกคนได้อ่าน ห้ามมิให้คัดลอกนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้ในเว็บไซต์อื่น โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีโฆษณา ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งนี้อนุญาตให้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษา โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและชื่อผู้เขียน เนื้อหาที่เขียนทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวของรตจิตร ไม่ได้มีเจตนา discredit หนังไทย แต่รตจิตรคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่อ่าน
คำนำ
หนังไทยหลาย ๆ เรื่อง มีเรื่องการฆ่าตัวตาย หรือ อัตวินิบาตกรรม อยู่ในเรื่อง เพื่อเป็นการหนีปัญหา เพื่อเป็นบทสรุป หรือเพราะคิดว่าเป็นทางออก เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ซึ่งแท้จริงไม่ใช่การแก้ปัญหา หนังไทยไม่ควรมาให้ตวามสำคัญเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ตัวอย่างเช่น
– เรื่องแฝดล่องหน ที่มีแฝด 3 คนแต่เหลือ 2 คนเป็นตัวเด่นคือ พิมพ์ดาวและพิมพ์เดือน โดยตอนใกล้จบ มีตอนหนึ่งที่พิมพ์ดาวขู่ว่าถ้าพิมพ์เดือนเปิดเผยเรื่องไม่ดีของตน ตนจะฆ่าตัวตาย หรือ
– เรื่องกำไลมาศ ที่เหมยกุยได้ทำพิธีลงยันต์ไว้กับสมุดบันทึก เพื่อเปิดโปงความเลวของล้อมเพชร แล้วก็ฆ่าตัวตายไป
– เรื่อง พระเอก ชื่อไม้นำพานดอกไม้ไปสู่ขอกาหลงทันทีเมื่อสร้างเรือนเสร็จ แต่แม่กลอยกลับคำโดยเพิ่มเงื่อนไขให้หาเงินมาเพิ่ม กาหลงเสียใจกับการกระทำของแม่กลอยจึงคิดฆ่าตัวตาย โชคดีที่ไม้เตือนสติกาหลงเพื่อให้ฟันฝ่าอุปสรรค กรณีการฆ่าตัวตายจึงไม่เกิด
เรื่องเล่าเช้านี้ ของรตจิตร
รตจิตร อยากเขียนให้เพื่อน ๆ ได้อ่านถึงประสบการณ์จริงที่เกิดกับตัวรตจิตรในวันนี้ 22 มิถุนายน 2559 เพื่อเป็นอุทาหรณ์ ไม่ให้เกิดกับเพื่อน ๆ คือ แม่ลูก ยิ่งใกล้ชิด ยิ่งมีเรื่องทะเลาะกันง่าย และแม่ลูกยิ่งสนิทกัน ก็ยิ่งมีเรื่องทะเลาะกันมากขึ้น แต่ก็มีแม่ลูกหลายคู่ที่ไม่แสดงออก ที่ไม่ยอมให้ใครรับรู้ เพื่อให้สังคมเห็นแต่ภาพด้านที่สวยงามของครอบครัว เช้าวันนี้ รตจิตรมีเรื่องทะเลาะกับลูก ก่อนลูกไปทำงาน ทำให้คิดโน่นคิดนี่ และจบลงด้วยอยากหาทางออกโดยจบชีวิตตัวเองซะ พอลูกกลับมา ก็มีเรื่องทะเลาะกันอีก จากเรื่องเล็ก ๆ จนกลายเป็น เรื่องใหญ่ ความคิดที่อยากฆ่าตัวตายก็ผุดขึ้นมาอีก และก็รู้สึกว่าตัวเองได้ใช้คำดราม่าต่าง ๆ เหมือนใน ดราม่าของหนังไทย ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบัน รตจิตร ก็ไม่ค่อยได้ดูหนังไทยแล้ว แต่ก็ยังมีความเป็นดราม่าหนังไทยฝังหัว คำต่าง ๆ ที่รตจิตรใช้กับลูก เช่น
– วันนี้รตจิตร ร้องไห้มามากแล้ว ตั้งแต่นี้ลูกจะไม่เห็นรตจิตรร้องไห้อีก หรือ
– บอกลูกว่า พอแล้วกับการร้องไห้ หรือ
– รตจิตรเสียใจที่ทำตัวให้มีปัญหา ทำให้ลูกกลุ้มใจ ตั้งแต่พรุ่งนี้ไป ลูกจะไม่ต้องกลุ้มใจแล้ว หรือ
– รตจิตรหาทางออกได้แล้ว แต่ไม่ใช่วันนี้ เป็นพรุ่งนี้ เป็นต้น
ลูกสาวก็พอรู้ว่า รตจิตร หมายถึงอะไร ลูกพยายามดึงรตจิตรให้กลับมาอยู่กับปัจจุบัน ให้มีสติกับปัจจุบัน และลูกกับรตจิตรก็เถียงกันรุนแรงขึ้นอีก รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะรตจิตรคิดถึงแต่ภาพวันพรุ่งนี้ที่รตจิตรคิดจะฆ่าตัวตาย สภาพรตจิตรเหมือนคนขาดสติ เหมือนดราม่าในหนังไทยชัด ๆ เมื่อลูกตำหนิให้เรามีสติอยู่กับปัจจุบัน รตจิตรก็ยิ่งดราม่า โดยคิดว่างั้น รตจิตรก็ตายเสียวันนี้ดีกว่า ตายในปัจจุบันนี่แหละ รตจิตรพยายามฆ่าตัวตายโดยกลั้นหายใจ ในขณะเดียวกันก็พยายามคิดถึงเรื่องความตายเป็นเรื่องธรรมดา
ภาวะที่ รตจิตรกลั้นหายใจ
รตจิตรรู้สึกว่ากลั้นอยู่นาน นาน จนสมองขาดอ๊อกซิเจน จนรู้สึกปวดหัวมาก และมึนมาก รตจิตรรู้ว่าสามารถกลั้นหายใจต่อได้ แต่ถ้าไม่ตาย ก็จะมีภาวะสมองขาดอ๊อกซิเจน พิการได้ ในขณะนั้น เสียงลูกก็พูดตลอด ให้รตจิตรรู้สึก รู้สึก มีสติ เลิกดราม่าหรือเลียนแบบหนังไทยได้แล้ว รตจิตรจึงหยุดทำ เพราะรู้สึกร่างกายเริ่มไม่ไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสมือนหัวจะระเบิด จะแตกเอา
การตายแล้วเกิดใหม่
รตจิตรมีสภาพเหมือนคนตาย หรือใกล้ตาย แล้วเกิดใหม่ เพราะการเตือนสติของลูกตลอดที่ทะเลาะกันทำให้มีสติ ตาสว่าง จึงคิดว่า รตจิตรจะไม่ทำตัวอย่างหนังไทยที่มีแต่ Drama ไม่อยากให้ Drama ของหนังไทยมาครอบงำจิตใจ ความคิด สติปัญญา และสัมปัญชัญญะ ของใคร และไม่อยากให้หนังไทยมีแต่เรื่อง Drama ฆ่าตัวตายจนเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีของสังคม เพราะความจริงมีทางออกที่ดีกว่าการฆ่าตัวตาย
Pingback: ไหว้พระศักดิ์สิทธิ์ ขออะไรไป ได้ทุกอย่าง | Sw-Eden.NET
Pingback: ใครเกลียดครูสอนภาษาไทยบ้าง? พระอภัยมณีสำส่อน? | Sw-Eden.NET