กรณี พ่อค้าตาย 700 ศพ

สรุปโดย รตจิตร
Concluded by Ratajit | June 28, 2016

**งานเขียนของรตจิตรนี้ ถือเป็นวิทยาทานเพื่อให้ทุกคนได้อ่าน ห้ามมิให้คัดลอกนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้ในเว็บไซต์อื่น โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีโฆษณา ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งนี้อนุญาตให้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษา โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและชื่อผู้เขียน และกรณีที่เขียนสรุปผิดพลาดในความหมายโดยไม่ได้มีเจตนา รตจิตร ต้องขอโทษมา ณ ที่นี้

ผู้บรรยายธรรม : ท่านพระมหาสิริชัย ธมฺมานุสารี วัดอนงคารามวรวิหาร เขตคลองสาน กรุงเทพ ฯ (Wat Anong Ka Ram Worraviharn, Klongsan, Bangksok)
สถานที่ : ณ ชมรม แมสบุญรักษา ชมรมชาวพุทธพาต้า และมูลนิธิชาวพุทธพาต้า
พระมหาสิริชัย

วันที่รตจิตรได้ฟังการแสดงธรรมจากพระที่หนุ่มที่สุด ที่ชมรมชาวพุทธพาต้า กราบนมัสการให้มาบรรยายธรรมในวันนี้ แม้วัยพรรษาท่านจะน้อย แต่ความรู้และความสามารถในการแสดงธรรมบรรยาย ไม่น้อยเลย จาก facbook ของท่าน พระมหาสิริชัย ธมฺมานุสารี ส่วนมากจะเห็นว่าสอนเด็ก และเยาวชน รตจิตร เคยได้ยินคนพูดบ่อย ๆ ว่า คนแก่ก็เหมือนเด็ก สงสัยแบบนี้นี่เอง ที่ทำให้ท่านสอนผู้ใหญ่และคนมีอายุในวันนี้ได้อย่างไม่เบื่อ แต่กลับทำให้ธรรมบรรยาย สนุก เรียกเสียงฮา และน่าติดตาม ตลอดระยะเวลาการฟังธรรมบรรยาย ไม่รู้ว่า รตจิตร ชมมากไปหรือเปล่า

พระมหาสิริชัย เป็นพระอีกรูปหนึ่งที่รตจิตรชอบฟังท่านบรรยายธรรม แม้จะเป็นการฟังครั้งแรก สิ่งที่รตจิตร ชื่นชอบที่สุดคือ การเตรียมตัวมาบรรยายธรรมของพระมหาสิริชัย ธมฺมานุสารี เรียกว่าสอบผ่านเลยแหละ เพราะข้อมูลที่นำมาบรรยาย เยอะมาก และดีด้วย (ถ้าญาติโยมตั้งใจฟัง) ก่อนการบรรยายธรรม พระมหาสิริชัย เริ่มต้นการบรรยายด้วยการเช็คสติของญาติโยมง่าย ๆ โดยตั้งคำถามแล้วให้ตอบแบบสนุก ๆ อย่างไรก็ตาม รตจิตร ขอสรุปแบบกระชับ ดังนี้

เรื่องที่ 1. พ่อค้าพาณิชย์ 700 คน ตายหมด
เนื่องจากเรืออัปปาง (เรื่องศีล 5)

พระมหาสิริชัย เริ่มบรรยายธรรมเกี่ยวกับศีล 5 ว่าเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐาน โดยเล่าชาฎกประกอบการบรรยายเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับพ่อค้าพาณิชย์ 700 คน ที่ลงเรือไปค้าขายต่างแดน แต่บังเอิญเรือกำลังจะอัปปาง หนึ่งในพ่อค้าพาณิชย์นี้เป็นสัตตบุรุษ เป็นพระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งไม่กลัวตายเพราะได้รับศีลจากสมณะแล้ว ใครได้รับศีลแล้ว หากยึดถือปฏบัติเป็นประจำ จะไม่ไปสู่ทุขคติ พ่อค้าพาณิชย์ทั้ง 700 คนจึงอยากได้บ้าง สัตตบุรุษในเรือพาณิชย์จึงแบ่งพ่อค้าทั้ง 700 คนออกเป็น 7 กลุ่มในขณะที่เรือกำลังจะจม ได้แก่
รตจิตรฟังธรรมบรรยาย

กลุ่มที่ 1 คือ 100 คนแรก ได้รับศีลจากสัตตบุรุษ ขณะที่ระดับน้ำปริ่มเท้า
กลุ่มที่ 2 คือ 100 คนต่อมา ได้รับศีลจากสัตตบุรุษ ขณะที่ระดับน้ำเท่าหัวเข่า
กลุ่มที่ 3 คือ 100 คนต่อมา ได้รับศีลจากสัตตบุรุษ ขณะที่ระดับน้ำเท่าเอว
กลุ่มที่ 4 คือ 100 คนต่อมา ได้รับศีลจากสัตตบุรุษ ขณะที่ระดับน้ำท่วมสะดือ
กลุ่มที่ 5 คือ 100 คนต่อมา ได้รับศีลจากสัตตบุรุษ ขณะที่ระดับน้ำท่วมอก
กลุ่มที่ 6 คือ 100 คนต่อมา ได้รับศีลจากสัตตบุรุษ ขณะที่ระดับน้ำท่วมคอ
กลุ่มที่ 7 คือ 100 คนสุดท้าย ได้รับศีลจากสัตตบุรุษ ขณะที่ระดับน้ำท่วมปาก หรือใกล้ตายแล้ว

และพ่อค้าพาณิชย์ทั้ง 700 คนก็ตาย ไปเกิดเป็นเทวดาชั้นดาวดึงษ์ ต่างคิดถึงแต่สัตตบุรุษที่ให้ศีลก่อนตาย ก็คือการคบหาผู้ทรงศีล ในที่นี้คือ สัตตบุรุษ ใครได้อยู่ใกล้ก็จะเจริญทั้งในภพนี้และภพหน้า พระมหาสิริชัยจึงพูดต่อถึงเรื่องอนิสงส์ของการถือศีล 5 ง่าย ๆ ว่าเป็นหลักประกันด้านใดแก่ผู้รักษาศีลข้อนั้น ๆ ดังนี้

เรื่องที่ 2 อนิสงส์ของการถือศีล 5

1. ห้ามฆ่าสัตว์:
อานิสงส์คือ อายุยืน เพื่อเป็นการประกันชีวิต
2. ห้ามลักทรัพย์:
อานิสงส์คือ จะมีทรัพย์ เพื่อประกันด้านทรัพย์สิน
3. ห้ามประพฤติผิดในกาม:
อานิสงส์คือ ไม่เกิดวิบากกรรมแก่ตนและครอบครัว เพื่อประกันด้านครอบครัว
4. ห้ามพูดปด:
อานิสงส์คือทำให้เป็นที่น่าเชื่อถือ เพื่อประกันด้านสังคม
5. ห้ามดื่มสุราเมลัย:
อานิสงส์คือ ไม่ให้ขาดสติ เพื่อเป็นการประกันด้านสติปัญญา

รตจิตรฟังธรรมบรรยาย

พระมหาสิริชัย ได้อัญเชิญพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เพื่อเสริมในเรื่องความสำคัญของการมีศีล ซึ่งเป็นกลอนที่ทั้งไพเราะ ทั้งทันสมัยตลอด จนถึงปัจจุบัน และต่อไปในอนาคตด้วย รตจิตร เองก็ชอบพระราชนิพนธ์ และคิดว่าเพื่อน ๆ ที่อ่าน sw-eden.net ก็คงชอบเช่นกัน รตจิตร จำได้ว่าได้ยินพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 บทนี้มานานมากแล้วตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ เดี่ยวกับ “งามด้วยศีล” แต่อยู่ที่สมัยนี้ไม่ค่อยมีใครนำขึ้นมาอ้างอิง เพราะสมัยนี้สังคม online เร็วมาก คนบริโภคสื่อก็รับข้อมูลข่าวสารเต็มไปหมด อย่างรวดเร็ว จนสมองไม่ค่อยคิดถึงเรื่องเก่า ๆ ทั้งๆ ที่ไพเราะและทรงคุณค่ามาก มารื้อฟื้นความทรงจำดี ๆ กับรตจิตรดีกว่า ตามที่พระมหาสิริชัยยกขึ้นมาเป็นบทสรุปของศีล 5 ก่อนจะไปหัวข้อถัดไป ดังนี้

“อันสตรีไม่มีศีลก็สิ้นสวย
บุรุษด้วยไม่มีศีลก็สิ้นศรี
ภิกษุเล่าไม่มีศีลก็สิ้นดี
ข้าราชการศีลไม่มีก็เลวทราม….”

เรื่องที่ 3 ทาน: อนาถบิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขา

เรื่องวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยพุทธกาล ได้แก่
– วัดพระเวฬุวันมหาวิหาร โดยพระเจ้าพิมพิสารทรงให้สร้างถวายเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา

– วัดเชตวันมหาวิหาร รตจิตรฟังเรื่องของอุบาสก อุบาสิกา คู่นี้มานานมาก หลายต่อหลายครั้งแล้วด้วย แต่รตจิตรเพิ่งรู้วันนี้เองว่า นางวิสาขาเป็นหลานสาวของอนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือ สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นอุบาสกที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก จึงได้สร้างวัดเชตวันมหาวิหารถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเงินมหาศาล โดยการซื้อสวนมะม่วงจากพระเจ้าเชษฐ์ เพื่อเป็นการให้ทานอย่างหนึ่งแก่ผู้ยากไร้ด้วย
เรื่องการสร้างวัดถวายแด่พระพุทธศาสนานั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยทรงตรัสไว้ว่า บัดนี้พระพุทธศาสนาได้หยั่งลึกลงพื้นโลกแล้ว เพราะเป็นการสร้างวัดบนพื้นดินนั่นเอง

– วัดบุพพารามมหาวิหาร นางวิสาขา ซึ่งได้บรรลุโสดาบันตั้งแต่นางอายุได้เพียง 7 ขวบ นางเป็นผู้สร้างวัดบุพพารามมหาวิหาร อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มถวายผ้าอาบน้ำฝน นางวิสาขาเป็นอุบาสิกาที่ไปวัด ไม่เคยไปมือเปล่า นางต้องเตรียมปัจจัยไทยธรรมไปด้วยเสมอ ด้วยความดีอย่างมากด้านนี้ ทำให้นางวิสาขาได้รับยกย่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะฝ่ายทายิกา คือเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่ายของผู้เป็นทายิกานั่นเอง

ก่อนจะเริ่มเรื่องที่ 4 รตจิตร อยากเอาคำเปรียบเปรยเรื่องการให้ เกี่ยวกับจำนวนเงินที่ผู้ให้มี ที่พระมหาสิริชัย นำมาพูดในการแสดงธรรมด้วย ดังนี้
– ถ้าคนที่ 1 ที่ให้เงินเรามีเงินอยู่ 1,000 บาท และให้เงินเรา 100 บาท กับ
– คนที่ให้เราคนที่ 2 มีเงินอยู่ 100 บาท แต่ให้เราทั้งหมดที่มีคือ 100 บาทด้วย
เราจะรู้สึกดี ๆ กับผู้ให้คนที่ 2 มากกว่าผู้ให้ คนที่ 1

อาจารย์พราว ไหว้พระ

เรื่องที่ 4 การทะเลาะวิวาท

สุดท้ายของการบรรยายธรรม พระมหาสิริชัย ก็ปิดท้ายด้วยเรื่อง หากคนเราอยู่ด้วยกันอย่างสันติคงมีความสุข แต่ เป็นธรรมดาที่เราต้องเคยเข้าใจผู้อื่นผิด และต้องเคยถูกผู้อื่นเข้าใจเราผิดด้วย ท่านได้ยกตัวอย่างกลอนเกี่ยวกับ การไม่ต้องทะเลาะกับใคร นั่นแหละดีที่สุด แต่รตจิตรพยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง เพื่อให้เกียรติผู้แต่ไว้ในบทความสรุปการบบรยายธรรมในครั้งนี้ แต่ google search เท่าไรก็ไม่มีใครเขียนไว้ รตจิตรจะยินดีมาก หากเพื่อน ๆ หรือใครรู้จะช่วยมา comment ว่าเป็นผลงานแต่งของใคร เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้แต่ง รตจิตรขะขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้

“ทะเลาะกับเมีย เพลียใจที่สุด
ทะเลาะกับผัว ปวดหัวที่สุด
ทะเลาะกันแฟน แค้นใจที่สุด
ทะเลาะกับมิตร หงุดหงิดที่สุด
ทะเลาะกับพ่อแม่ แย่ที่สุด
ทะเลาะกับลูก ทุกข์ใจที่สุด
ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน รำคาญใจที่สุด
ทะเลาะกับพี่น้อง ฟ้องร้องไม่สิ้นสุด
ทะเลาะกับพระเณร เวรกรรมที่สุด
ทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน ฟุ้งซ่านที่สุด
ทะเลาะกับลูกน้อง มัวหมองที่สุด
ทะเลาะกับนาย วอดวายที่สุด
ทะเลาะกับผู้บังคับบัญชา ไม่ก้าวหน้าที่สุด
ทะเลาะกับครูอาจารย์ ร้าวฉานที่สุด
ทะเลาะกับนักเลง ถูกข่มเหงไม่สิ้นสุด
ทะเลาะกับขี้เมา งี่เง่าที่สุด
ทะเลาะกับคนบ้า น่าระอาที่สุด
ทะเลาะกับสตรี เสียศักดิ์ศรีที่สุด

ไม่ทะเลาะกับใคร .. สบายใจที่สุด

วัดขุนอินทรประมูล อ่างทอง

เรื่องที่ 5 ดูใจ

พระมหาสิริชัยยกกลอนสุขภาพใจให้ญาติโยมในห้องฟัง เป็นกลอนที่ไพเราะมาก รตจิตรเคยได้ยิน แต่อีกนั่นแหละ จำไม่ได้ จึงไปหาจาก seach engine, google.com สมัยนี้ช่างค้นหาง่ายเหลือเกิน ผิดกับสมัยที่ รตจิตรเรียนหนังสือ ผลที่ได้ กลอนนี้มาจากส่วนหนึ่งในเนื้อเพลงโลกสัจจธรรม แต่งโดย มานิต นส. มองตน มีใจความไพเราะดังนี้
“…..โลกภายนอก กว้างไกล ใครใครรู้
โลกภายใน ลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
จะมองโลก ภายนอก มองออกไป
จะมองโลก ภายใน ให้มองตน….”

พระมหาสิริชัยจบการบรรยายธรรมในวันนี้ด้วยประโยคเด็ด จากคำกล่าวของขงจื้อว่า
“เราสามารถมองไกลถึงขอบจักรวาล แต่เราไม่สามารถมองคิ้วของตนเองได้”

รตจิตร คิดว่า การเรียนหรือศึกษาธรรมะ ก็คือการเรียนเกี่ยวกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นโลกภายนอก โลกภายใน หรือการศึกษาให้รู้ “ตัวกู” ด้วยนี่เอง

1 Comment

Filed under Everything_Okay

One response to “กรณี พ่อค้าตาย 700 ศพ

  1. Pingback: คำว่า Genre อ่านว่าอะไร? มีอะไรบ้าง? | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.