(1)
1. ไปถ่ายวิดิโอจากสถานที่จริง
2. ถ้าคอมไม่แรง วิดิโอที่ถ่าย ไม่ควรถ่ายติดวิวที่ไกลมากๆ สุดลูกหูลูกตา
3. ถ่ายติดคนเดิน หรือหมาวิ่ง ก็ไปเป็นไร
4. พยายามถ่ายพื้นที่ว่างที่เราจะเอาของไปตั้งได้
5. พยายามอย่าให้มีอะไรมาบังพื่นที่ว่าง มิเช่นนั้น จะมีเพิ่มอีก 1 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนสุดท้าย ต้องไป Mask ของดังกล่าวใน After Effects
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
(2)
1. import วิดิโอที่ถ่ายได้ ลง After Effects
2. ลากวิดิโอลง Timeline
3. กดเมนู file, คลิก export, และคลิก Add to Render Queue
4. การทำให้เป็น PNG Sequence คือไปที่ Render Queue
5. เลือกตัวหนังสือเหลืองๆ ตรงคำว่า “Output Module” ที่ เดิมทีเขียนว่า Lossless
6. จะมีหน้าต่างโผล่ขึ้นมา ให้เลือกชนิดไฟล์ที่คำว่า Format เป็น PNG Sequence
7. กด OK แล้วหน้าต่างก็จะหายไป
8. ไปที่ Output To ซึ่งเป็นตัวหนังสือเหลืองๆ ถัดไปทางขวา
9. เลือก folder ที่จะ save ไฟล์ ซึ่งควรสร้าง folder พิเศษขึ้นมาไม่ให้ปะปนกับไฟล์อื่น
10. กด Render ทางขวามือของหน้าต่าง Render Queue และ รอ
11. PNG Sequence จะเป็นไฟล์ .png หลายๆ ภาพ อยู่รวมใน folder ที่เราเลือก Save ไว้
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
(3)
1. เปิดโปรแกรม MatchMover
2. ถ้าหาไม่เจอ มันจะอยู่ใกล้ๆ Autodesk Maya มันมาด้วยกัน
3. หรือถ้าไม่เจออีก ก็ลองพิมพ์หาดูในเครื่องคอมตัวเอง
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
(4)
1. เมื่อเปิด MatchMover แล้ว
2. กดปุ่ม Load Sequence (ปุ่ม A ตามภาพ)
3. จะมีหน้าต่างขึ้นมา เลือกไฟล์แรกของ PNG Sequence
(ปกติขั้นตอนนี้ ผู้เรียนจะมีปัญหาคือ หาไฟล์ตัวเองไม่เจอ ดังนั้น ควรไป copy ที่อยู่ไฟล์ใน Window Explorer แล้วค่อมาวาง ตอนค้นหาในโปรแกรมนี้)
4. ตอนนี้ จะมีวิดิโอ PNG Sequence ขึ้นที่หน้าจอนะ
5. คลิกปุ่ม Run the Automatic Tracking (ปุ่ม B ตามภาพ)
6. จะมีหน้าต่างเล็กๆ โผล่ขึ้นมา
7. นศ. สามารถกดปุ่ม “Run” ได้เลย หรือจะ Setting เพื่อกำหนดจำนวนจุดๆๆๆ ก็ได้
8. รอ โปรแกรม MatchMover สร้างจุดๆๆๆ
9. เมื่อเสร็จ ให้คลิกปุ่ม Export (ปุ่ม C ตามภาพ)
10. Save เป็นไฟล์นามสกุล 3D Studio Max (.ms)
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
(5)
1. เปิดโปรแกรม 3Ds Max
2. ลากไฟล์นั้น จาก folder ลงหน้าจอ 3Ds Max
3. ภาพที่เห็นบนหน้าจอตอนนี้คือ มีกล้องตัวนึง และมีจุดอีกมากมาย
4. ข้อควรระวังของขั้นตอนนี้คือ Timeline ปกติที่ 3Ds Max มีให้ตอนเริ่มต้นคือความยาวประมาณ 3 วินาที ดังนั้น ควรตั้งค่า Timeline ให้ยาวเท่าวิดิโอที่ถ่ายมาก่อน
5. ตอนทำงาน เราควรให้กล้องและจุดๆ ไม่แยกออกจากกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันมือพลาดไปโดน ควร Group พวกเขาทั้งสองไว้ด้วยกัน
6. หลังจาก Group ทั้งกล้องและจุดๆ จะติดกัน แยกกันไม่ได้
7. ให้จัดวาง Group ดังกล่าวให้เราดูปกติที่สุด คือ พื้นอยู่ในระนาบเดียวกันกับพื้นใน 3Ds Max
8. ขั้นตอนการหาพื้น อาจต้องใช้จินตนาการณ์สูงมาก
9. เมื่อการเตรียมกล้องเรียบร้อยแล้ว ควร Freeze ทุกอย่างไว้ ป้อนกันมิให้มือไปโดน
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
(6)
ใส่ environment
1. ดูที่เมนู Rendering
2. เลือก Environment
3. จะมีหน้าต่าง Environment ปรากฏขึ้น
4. เลือกปุ่ม None
5. จะมีหน้าต่างอีกอันโผล่ขึ้น
6. เลือก Bitmap
7. จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เราเลือกไฟล์
8. เลือกภาพแรกของ PNG Sequence เดิม
เมื่อทำขั้นตอนนี้เสร็จ จะพบว่าเมื่อเรา Render ไฟล์ออกเป็นวิดิโอ จะมีพื้นหลังเป็นแบบ PNG Sequence หรือวิดิโอต้นฉบับที่เราถ่ายไว้
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
(6.5)
(ขั้นตอนนี้จะทำหรือไม่ทำก็ได้)
บางคนชอบทำงาน ถ้าเห็นภาพบนหน้าจอจริงๆ เขาจึงต้อง ….
1. ไปที่หน้าจอทำงานที่เป็น Perspective (ปกติคือจอมุมชวาล่างของ 3Ds Max)
2. เปลี่ยนคำว่า Perspective เป็น กล้อง
3. ดูที่คำที่ถัดจาก Perspective คือคำว่า “Realistic”
4. คลิก Realistic เลือก Viewport Background
5. ทำเครื่องหมาย ติ๊กถูก หน้า “Environment Background”
เมื่อทำขั้นตอนนี้เสร็จ จะพบว่าพื้นหลังของหน้าจอทำงาน ดังกล่าว มีภาพที่เราถ่ายมาปรากฏขึ้น
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
(7)
1. สร้างวัตถุลงบนพื้น บนกำแพง หรือลอยฟ้าก็ได้
1. บางคนที่มีไฟล์ตัวละครอยู่แล้ว สามารถ copy และมา Paste ได้
1. บางคนอาจ import ไฟล์ เฟอร์นิเจอร์ นามสกุล Max มาใส่ได้ มักหา Download ได้จากเว็บไซต์ร้านค้าของตกแต่งบ้าน
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
(8)
เมื่อสร้างวัตถุเสร็จแล้ว เราอาจเห็นว่ามัน fake เหมือนลอยอยู่ไม่ติดกับพื้น ดังนั้น เราจึงควรใส่เงา
1. ไปคลิกที่ปุ่ม Material (ดูตามรูป)
2. จะมีหน้าต่างปรากฏขึ้น
3. คลิก Mode และเลือก Compact Material Editor
(พอดี อ.พราว เป็นคนรุ่นเก่า เลยชอบ Mode นี้)
4. ตอนนี้ เราจะเห็นลูกบอล 6 ลูก และมันจะเลือกลูกซ้ายบนให้อยู่แล้ว ช่างมัน ไม่ต้องทำไร
5. คลิกปุ่ม “Standard”
6. จะมีหน้าต่างปรากฏ ให้เลือก “Matte/Shadow”
7. ตั้งค่า Shadow Brightness ตามใจชอบ (วงกลมเหลือง)
8. ถ้าใครถ่ายวิดิโอต้นฉบับที่พื้นทำด้วยวัตถุเงาวาว ให้คลิก None (วงกลมแดง) และเลือก Raytrace
ตอนนี้เราเตรียม Material เสร็จแล้ว
1. สร้างกล่องให้พอดีกับพื้นที่เราจะให้เงาตกกระทบ
2. ลากลูกบอล Material ลงบนกล่องนั้น
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
(9)
อย่าลืมว่า เงาจะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีแสง ดังนั้น เราจึงต้องสร้างแสง
1. ไปที่ปุ่ม ดวงอาทิตย์ ทางขวามือของหน้าจอ (ดูตามรูป)
2. คลิกที่แสง/ไฟฉาย
3. เลือก Free Light
4. คลิกบนหน้าจอทำงาน ส่วนที่ต้องการจะวางแสง
(แนะนำให้วางแสงเยื้องไปทางด้านหลังกล้อง)
5. เมื่อวางแสงเสร็จ ให้คลิกขวา เพื่อออกจากคำสั่งการสร้างแสง (ถ้าไม่ทำ คุณไปคลิกที่ไหนก็ได้แสงเต็มไปหมด)
6. ตอนนี้ เราใช้เมาส์ธรรมดา คลิก ที่แสงที่สร้างไปเมื่อกี้
7. ดูที่เมนู Modify ทางขวามือของหน้าจอ
8. ทำเครื่องหมายถูก หน้าคำว่า On ใน Shadows
ขั้นตอนนี้ ทำให้แสงดังกล่าว สามารถก่อให้เกิดเงาได้
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
= = = = = = = = =
(10)
ตอนนี้ เหลือเพียง Render ออกมาให้เป็นไฟล์วิดิโอ ไว้อวดเพื่อนๆ
1. ไปที่ Render Setup (หรือกาน้ำอันซ้ายสุดของเมนูด้านบน)
2. จะมีหน้าต่างปรากฏขึ้น
3. เลือก Active Time Segment (ดูตามรูป) หมายความว่าให้ Render ทั้งหมดทั้งวิดิโอ ตลอก Timeline
4. ตั้งค่า ขนาดวิดิโอ ให้มีอัตราส่วนเท่าไฟล์ต้นฉบับ (ดูตามรูป)
5. คลิกที่ Files (ดูตามรูป) เพื่อระบุว่าจะให้ save เป็นไฟล์นามสกุลใด และ save ใน folder ไหน
6. การตั้งค่าทั้งหมดเสร็จแล้ว แต่อย่าพึ่งคลิก “Render”
7. ให้มั่นใจก่อนว่า เราคลิกที่หน้าจอทำงาน หน้าที่เป็นสิ่งที่กล้องเห็น สามารถสังเกตุกรอบสีเหลืองรอบหน้าจอทำงานนั้น
8. คลิก Render ได้ (ดูตามรูป)
Pingback: คำว่า Genre อ่านว่าอะไร? มีอะไรบ้าง? | Sw-Eden.NET
Pingback: Match Moving คืออะไร? ใช้อะไรทำได้บ้าง? | Sw-Eden.NET