1
1. เตรียมไฟล์นามสกุล .png เป็นอวัยวะต่างๆ ของตัวละคร เช่น แขน ขา ตัว หัว
2. ทุกไฟล์แยกกัน พยายาม Crop ให้พอดีกับภาพที่วาด
3. เอาพื้นหลังออกให้หมด หรือที่เรียกว่า Transparent Background
4. ลากไฟล์ลงมาเตรียมใน Adobe After Effects
5. สร้าง Composition ตามขนาดจอที่ต้องการ
6. ลากไฟล์ลง Timeline (ตามรูป)
.
.
.
.
.
2
1. จัดอวัยวะต่างๆ ๆให้ถูกที่ถูกทาง เช่น วางตัวคนไว้ด้านหน้าสุด และเอาแขน ขา ไว้ด้านหลัง เป็นต้น
2. (ตามรูป) คลิกเลือกอวัยวะ 1 ชิ้น เช่น แขน
3. (ตามรูป) คลิกปุ่มที่วงไว้ในรูป เป็นปุ่มที่จะใช้เปลี่ยน Anchor Point ของวัตถุนั้นๆ
4. (ตามรูป ตรงลูกศรสีแดง) จุดๆ ที่ลูกศรสีแดงชี้คือ Anchor Point เป็นจุดหมุน
5. ใช้เม้าส์ลาก เลื่อนจุด Anchor Point ให้อยู่ตามข้อต่างๆ ตามลักษณะของมนุษย์จริง เช่น
— Anchor Point ของหัว ควรจะอยู่ที่ต้นคอ
— Anchor Point ของแขนท่อนบน ควรจะอยู่ที่หัวไหล่
— Anchor Point ของแขนท่อนบน ควรจะอยู่ที่ข้อศอก
— Anchor Point ของหน้าตักซ้าย ควรจะอยู่ที่สะโพกด้านซ้าย
— Anchor Point ของแขนแข้งขวา ควรจะอยู่ที่เข่าขวา
.
.
.
.
.
3
ต่อไปนี้ จะเป็นการเชื่อมอวัยวะต่างๆ เข้าด้วยกัน มี 2 วิธี
วิธีที่ 1 :
1. ไปดูที่ Timeline
2. ดูสัญลักษณ์หอยทาง ที่ในรูปด้านล่างวงไว้ด้วยสีเหลือง
3. เริ่มที่ Layer ที่มีภาพของอวัยวะที่ใกล้กับ “ตัว” มากที่สุด เช่น แขนท่อนบน ต้นขา และคอ
4. คลิกหอยทากของอวัยวะนั้นๆ และลากไปที่หอยทากของ “ตัว”
5. เมื่อเสร็จ มาดูที่ Layer อวัยวะที่อยู่ถัดออกมา เช่น แขนท่อนล่าง และ แข้ง
6. ลากหอยทากไปเชื่อมกับอวัยวะที่อยู่ติดกัน เช่น ลากจากแขนท่อนล่าง ไปแปะที่แขนท่อนบน หรือ ลากจากแข้งไปแปะที่ต้นขา
วิธีที่ 2 :
1. ไปดูที่ Timeline
2. ดูด้านขวา จะมี Column ที่ชื่อว่า Parent ซึ่งค่าเริ่มต้นจะเขียนว่า “None”
3. เริ่มที่ Layer ที่มีภาพของอวัยวะที่ใกล้กับ “ตัว” มากที่สุด เช่น แขนท่อนบน ต้นขา และคอ
4. เปลี่ยนจากคำว่า None ให้เป็นชื่อ Layer ที่มีภาพ “ตัว”
5. เมื่อเสร็จ มาดูที่ Layer อวัยวะที่อยู่ถัดออกมา เช่น แขนท่อนล่าง และ แข้ง
6. เปลี่ยนจากคำว่า None ให้เป็นชื่อ Layer อวัยวะที่ติดกับมันค่อนไปทางตัว เช่น ที่ Layer ของแขนท่อนล่าง จะเลือกค่า Parent ให้เป็น แขนท่อนบน, และ ที่ Layer ของแข้ง จะเลือกค่า Parent ให้เป็นต้นขา
.
.
.
.
.
4
ตอนนี้ถึงขั้นตอนที่จะทำให้ตัวละครของเราขยับ เราจะเริ่มขยับจากอวัยวะต่างๆ ในขณะที่ตัวคน ยังอยู่กับที่ เราจะขยับตัวคนทีหลังสุดในขั้นตอนสุดท้าย
1. ไปที่ Layer ต่างๆ เปิดการตั้งค่า Transform ของแต่ละ Layer ออกมา
2. ดูที่บรรทัดที่เขียนว่า Rotation
3. เลื่อนปิ๊กกีต้าร์มาที่จุดเริ่มต้นของ Timeline
4. เปิดนาฬิกา (ที่ลูกศรสีแดง ตามรูป)
5. ปรับค่าตัวเลขที่ Rotation หรือ ใช้เครื่องมือหมุนที่เมนูด้านบนก็ได้
6. ทุกๆ ครั้งที่จะให้ขยับ ให้เลื่อนปิ๊กกีตาร์ หรือถ้าจะสร้าง Keyframe ก็ให้กดจุดสีเหลืองที่อยู่ทางซ้ายสุดของ Timeline
เมื่อขยับเสร็จแล้วทุกส่วน ขั้นตอนสุดท้ายคือ ขยับตัว ซึ่งเป็น Parent หลัก
.
.
.
.
.
5
ขั้นตอนนี้ จะทำหรือไม่ทำก็ได้ แล้วแต่คน ว่าอยากจะให้ตัวละครเดินหรือไม่
1. ไปที่การตั้งค่า Transform ของ “ตัว” บรรทัดที่เขียนว่า Position
2. ลากตัวคน สร้าว Keyframe ตามที่ต้องการ ซึ่งในตัวอย่างจะลากคนจากทางด้านซ้ายมือไปทางขวามือ
.
.
.
.
.
Pingback: Moving Hold ในงาน Animation คืออะไร? | Sw-Eden.NET
Pingback: Cycle ในงาน Animation คืออะไร? | Sw-Eden.NET