วิธีการเลี้ยงลูกให้ฉลาด กับการเรียนพิเศษ

สรุปโดย รตจิตร
Concluded by Ratajit | November 9, 2017

เด็กเรียนพิเศษ

**งานเขียนของรตจิตรเรื่องนี้ ถือเป็นวิทยาทานเพื่อให้ทุกคนที่ได้ชื่อว่า “พ่อ” หรือ “แม่” ได้อ่าน ห้ามมิให้คัดลอกนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้ในเว็บไซต์อื่น ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งนี้อนุญาตให้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษา โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและชื่อผู้เข

วัตถุประสงค์ ของบทความนี้ รตจิตรอยากช่วยเพื่อน ๆ ที่อยู่ในฐานะพ่อแม่ ได้เลี้ยงดูบุตรหลานอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้มีปัญหาเมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น และเป็นการพัฒนาสมอง สติปัญญาของลูกในช่วงที่ยังมีโอกาสด้วย ปัญหาที่ปิดกั้นหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของเด็ก ๆ จากการให้ลูกเรียนพิเศษโดยขัดกับความต้องการของเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน หรือเรียนพิเศษในวันเสาร์-อาทิตย์ และวัดหยุดราชการ ไม่ว่าจะเรียนที่โรงเรียนของเด็กเอง หรือเรียนตามโรงเรียนกวดวิชา หรือแม้แต่ให้ครูมาสอนที่บ้าน เป็นต้น

1. ความจำเป็นที่ต้องให้ลูกเรียนพิเศษ

ในยุคนี้รตจิตรคิดว่าเป็นช่วงที่พ่อแม่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องทำงานนอกบ้าน ดังนั้นเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวที่ลูกยังเล็ก เช่นเรียนชั้นอนุบาล รตจิตรเป็นหลายโรงเรียนมักเลิกเรียนเวลาบ่าย 2 โมงหรือบ่าย 2:30 โมง เป็นต้น ในขณะที่พ่อแม่เลิกทำงานเวลา 4, 5 โมงเย็น แล้วแต่ว่าทำงานเอกชนหรือของรัฐ ทำให้ลูกจำเป็นต้องอยู่ต่อที่โรงเรียน การให้ลูกเรียนพิเศษ จึงกลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย
รตจิตรอยากให้เพื่อน ๆ ลองคิดคำนวณเวลาที่เด็กเล็กควรมีอิสระในการพัฒนาตนเองจะเห็นได้ว่า เด็ก ๆ ต้องใช้เวลาเรียนตามที่ครูหรือพ่อแม่ยัดเยียดให้เป็นจำนวนชั่วโมงพอ ๆ กับที่พ่อแม่ทำงาน รตจิตรได้ยินพ่อแม่ของเด็กมักบ่นว่า วัน ๆ หนึ่งพ่อแม่ต้องทำงานเยอะ ทำงานหลายชั่วโมง แต่ไม่ได้คิด หรือลืมคิด หรือคิดไม่ถึงว่า ลูก ๆ ของพวกเขาก็ใช้เวลาขลุกอยู่กับการเรียนไม่ด้อยไปกว่ากัน

วิธีการเลี้ยงลูก

2. ข้อดี ที่ส่งลูกเรียนพิเศษ

ตามความเห็นของรตจิตร รตจิตรคิดว่าการส่งลูกเรียนพิเศษ มีข้อดีอยู่หลายประการได้แก่ (2.1) เป็นการหาคนที่น่าจะไว้ใจได้ให้ช่วยดูแลลูก รตจิตรคิดว่าก็คืนครู หรือเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน (2.2) รตจิตรเห็นว่าการเรียนพิเศษบางครั้งเป็นการลดภาระพ่อแม่ในการทบทวนหรือสอนลูกทำการบ้าน (2.3) เป็นความรู้สึกของพ่อแม่ที่ลูกได้ใช้เวลาอย่างมีคุณค่า มีประโยชน์ (2.4) รตจิตรเคยคุยกับพ่อแม่บางคน บอกกับรตจิตรว่าการให้ลูกเรียนพิเศษ ทำให้ลูกได้มีสังคมกับเพื่อนๆ ในโรงเรียน เพราะบางโรงเรียนใช้วิธีรวมห้องเรียนพิเศษ เนื่องจากเด็กไม่ได้เรียนกันทุกคน และ (2.5) เป็นความรู้สึกของพ่อแม่ว่าลูกได้เรียนเท่าเทียมเด็กคนอื่น ๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี รตจิตรอยากให้เพื่อน ๆ ในฐานะพ่อแม่ลองดูข้อดีอย่างน้อยก็ 5 ข้อเพื่อเปรียบเทียบกับข้อเสียที่ส่งลูกเรียนพิเศษด้านล่างด้วยค่ะ

3. ข้อเสีย ที่ส่งลูกเรียนพิเศษ

ในการตัดสินใจให้ลูกเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน ควรเป็นการตัดสินของทั้งสองฝ่าย คือพ่อแม่ และตัวลูกเอง เด็กสมัยนี้ไม่เหมือนกับสมัยที่พ่อแม่ยังเป็นเด็ก เพราะเด็ก ๆ มีความรู้ มีการเรียนรู้ได้รอบด้าน เด็กอยู่ในยุคดิจิทอล ในสภาพแวดล้อมของ Social network อย่างน้อยพ่อแม่ควรถามความเห็นลูก 3 คำถามได้แก่

(3.1) ลูกอยากเรียนพิเศษต่อหลังจากหมดคาบเรียนแล้วหรือไม่
เพราะเด็กสมัยนี้มีหัวคิดพอ มีความกล้าในการตัดสินใจพอ หากพ่อแม่บังคับให้เรียนพิเศษในขณะที่เด็ก ๆ ไม่ต้องการ จะทำให้สวรรค์ที่โรงเรียนอาจกลายเป็นนรกได้ เพราะเสมือนกับเป็นการยัดเยียดสิ่งที่เด็กไม่ต้องการให้เด็ก และอาจทำให้ความคิดในด้านลบต่อสถานศึกษาติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

ปัญหาจากการเรียนพิเศษ

(3.2) ถ้าคำตอบคือ ลูกอยากเรียนพิเศษ ควรตั้งคำถามต่อว่า อยากเรียนอะไร
การที่ลูกของคุณตอบว่าอยากเรียนพิเศษ ไม่จำเป็นต้องหมายถึงอยากเรียนตามที่โรงเรียนจัดสอนเพิ่มเติมให้ และไม่จำเป็นว่าการเรียนพิเศษ เป็นการสอนทำการบ้านเพื่อลดภาระพ่อแม่ที่เลิกงานแล้ว ต้องมาสอนลูกทำการบ้านต่อที่บ้าน เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่ลูกบางคนอยากทำการบ้านกับพ่อแม่ อยากอยู่ใกล้พ่อแม่ อยากให้พ่อแม่เห็นว่าลูกทำได้
หากลูกตอบว่าอยากเรียนพิเศษ ไม่จำเป็นต้องจัดให้เรียนตามที่โรงเรียนทั่วไปจัดสอนให้ เพราะบางโรงเรียนใช้วิธีสอนโดยการเพิ่มวิชาการให้เด็กมากเกินไป จนสมองเด็กอาจล้าได้ และกลายเป็นเด็กที่มีผลการเรียนไม่ดี ทั้ง ๆ ที่ความจริงเป็นเด็กเก่ง รตจิตรเห็นบางโรงเรียนที่จัดให้ชั่วโมงการสอนพิเศษเป็นการสอนทำการบ้าน อาจเป็นการบีบบังคับเด็ก ๆ ให้ต้องเร่งรีบทำการบ้านในช่วงหลังเลิกเรียน ซึ่งเด็ก ๆ อาจต้องการพัก อาจต้องการเล่นกับเพื่อน ต้องการความเป็นส่วนตัว หรือต้องการอยู่ในสังคมของการพัฒนาในหมู่เด็ก ๆ ด้วยกัน หรือแม้แต่อยากมีโอกาสทำอะไรตามฝันหลังจากที่ตัวเองได้เรียนรู้มาในวันนั้น

ข้อดีข้อเสียเด็กเรียนพิเศษ
(3.3) ถ้าคำตอบคือ ลูกไม่อยากเรียนพิเศษ
กรณีที่เด็กไม่ต้องการเรียนพิเศษ ในขณะที่พ่อแม่ก็ไม่มีเวลาที่จะไปรับลูกที่โรงเรียนก่อนเลิกงาน มีเด็กคนหนึ่งเล่าให้รตจิตรฟังว่า เพื่อน ๆ หลายคนของเขาก็ไม่ได้เรียนพิเศษ ทำให้พวกเด็ก ๆ สามารถอยู่ต่อที่โรงเรียนได้ และปลอดภัยพอโดยไม่ต้องเข้าห้องเรียนเพื่อเรียนพิเศษต่อ รตจิตรเองก็เชื่อว่าข่าวต่าง ๆ สมัยนี้รวดเร็วมาก โรงเรียนหลายแห่งจึงมีมาตรการพอสมควรเพื่อรักษาความปลอดภัย บางโรงเรียนนอกจากจะมียาม มีเจ้าหน้าที่ธุรการผลัดเวรคอยดูแล รตจิตรเห็นบางโรงเรียนมีครูคอยผลัดเวรกันเฝ้าเด็กนักเรียน จนกระทั่งพ่อแม่มารับหลังเลิกงานแล้ว

ปัญหาจากการเรียนพิเศษ

4. บทสรุป
การที่่พ่อแม่ให้ลูกเรียนพิเศษ เป็นดาบ 2 คม และอาจมีโทษมากกว่ามีประโยชน์ การเรียนพิเศษไม่ได้เป็นสิ่งที่ลูกชอบเสมอไป เด็ก ๆ หลายคนอาจเกลียดเสียด้วย ดังนั้นวัยเด็ก เป็นวัยที่เด็กควรมีสวรรค์ของตนเอง ควรมีเวลาในการพัฒนาตนเอง เพื่อเด็กจะได้มีพื้นที่ส่วนตัวแสดงความสามารถ ความถนัดที่ตนมีพรสวรรค์ออกมาให้พ่อแม่ได้เห็น เพื่อไม่ให้เด็กต้องสูญเสียโอกาส สูญเสียความมั่นใจในสิ่งที่ตนอยากทำในชีวิตวัยเด็ก และต่อไปในอนาคต รตจิตรหวังว่าหลังจากที่เพื่อน ๆ ในฐานะพ่อหรือแม่ ได้อ่านบทความนี้ อาจทำให้ได้อุทาหรณ์ในการตัดสินใจเรื่อง จะให้ลูก ๆ เรียนพิเศษ ดีหรือไม่ดี อย่างไร

ปัญหาจากการเรียนพิเศษ

1 Comment

Filed under Everything_Okay

One response to “วิธีการเลี้ยงลูกให้ฉลาด กับการเรียนพิเศษ

  1. Pingback: ทำอย่างไรจึงจะหยุดยั้งตนเองไม่ให้ฆ่าตัวตาย | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.