สรุปโดย รตจิตร
Concluded by Ratajit | December 23, 2017
**งานเขียนของรตจิตรนี้ ถือเป็นวิทยาทานเพื่อให้ทุกคนได้อ่าน ห้ามมิให้คัดลอกนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้ในเว็บไซต์อื่น ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งนี้อนุญาตให้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษา โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและชื่อผู้เขียน
เรื่องที่รตจิตร จะเขียนต่อไปนี้ ไม่ยากเลย แต่กลับมีประโยขน์ต่อคนอื่น ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ขับรถในกรุงเทพฯ รตจิตร เสียภาษีรถยนต์ ที่กรมขนกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 หรือ ซอยสวนผัก 4 ตลิ่งชัน นั่นเอง รตจิตร ให้รายได้ที่กรมขนส่งพื้นที่นี้มา ตลอด การเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ตั้งแต่สมัยก่อน กำหนดให้ ขับรถต่อแถว หรือที่เรียกว่าเลื่อนล้อเสียภาษี (Drive Trhough) ได้ครั้งละ 2 คัน แต่เล่มทะเบียนต้องเป็นนามสกุลเดียวกัน ปัจจุบันจ่ายภาษีได้ครั้งละ 1 คัน และต้องขับรถวนอ้อมไปต่อแถวใหม่ เพื่อจ่ายคันต่อ ๆ ไป
ตามความเห็นของรตจิตร คิดว่า การให้เข้าแถวจ่ายภาษีรถยนต์ทีละคัน ทำให้เสียเวลา และเสียค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนทำให้แถวที่ต่อแถว กลับยาวโดยใช่เหตุ แต่เจ้าหน้าที่กรมขนส่งอธิบายว่ามันยุติธรรมสำหรับคันอื่น ๆ ที่มาชำระค่าภาษีรายปีเป็นรายคัน
รตจิตร ก็งงว่า กรมขนส่งเขียนไว้ว่าใช้เวลาในการเลื่อนล้อเสียภาษี เพียง 1 นาที 45 วินาที ต่อคัน ก็ไม่ได้มากมาย หนักหนาสากัณฑ์ขนาดไหน 2 คันค่อนข้างจะโอเคนะ จะทำให้ใช้เวลาเฉลี่ยต่อคันลดลงด้วย รตจิตร คิดว่ากรมขนส่งน่าจะชั่งน้ำหนักว่าอะไรมีผลได้ผลเสียมากกว่ากัน ไม่ใช่ดูจากความพึงพอใจของผู้เสียภาษี ชนิดที่ว่า จะเอาใจ มากกว่า เอาความถูกต้อง
เอกสารที่ต้องเตรียมในการการเสียภาษีรถยนต์
การเสียภาษีรถยนต์ รถใหม่
1. สมุดทะเบียนรถยนต์
2. พ.ร.บ. หรือหลักฐานแสดงการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์
3. เงินภาษี ตามใบเสร็จรับเงินของปีเก่าที่จะระบุท้ายใบเสร็จว่าปีต่อไปต้องจ่ายภาษีเท่าไร
การเสียภาษีรถยนต์ รถเก่า
คำว่ารถยนต์เก่า ตามความหมายของกรมขนส่งคือ รถยนต์ที่มีอายุครบ 7 ปี หรือก้าวสู่ปีที่ 8 ก่อน ซึ่งต้องตรวจสภาพรถยนต์เก่าก่อน รตจิตร นำรถเข้าตรวจสภาพ ตามรายการต่าง ๆ ที่กรมขนส่งกำหนด สภาพต่าง ๆ ที่ตรวจ เช่น ล้อ ไฟ เบรก ควันดำ เป็นต้น
ในใบรายงานผลการตรวจสภาพรถยนต์ รตจิตร เห็นวันที่ระบุไว้เลย เช่น ตรวจสภาพวันที่ 20 ธันวาคม 2560 รายงานนนี้จะหมดอายุวันที่ 20 มีนาคม 2561 เป็นต้น คือ สามารถตรวจก่อนที่จะเสียวภาษีได้ 3 เดือน รตจิตร อยากแนะนำเพื่อน ๆ ว่า ในการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีสำหรับรถเก่า 2 ข้อดังนี้
1. ถ้าเพื่อน ๆ ไม่มีเวลาไปตรวจสภาพรถเอง
รตจิตร คิดว่า เพื่อน ๆ ควรไปตรวจสภาพรถแถวกรมขนส่งจะดีกว่า รตจิตร เองเมื่อก่อนทำงานที่บริษัทขายรถยนต์ ซึ่งได้รับการอนุญาตให้เป็น หนึ่งในสถานที่ตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. นั่นเอง และรตจิตร ก็ไม่มีเวลาไปเสียภาษีด้วย แต่จ้างเด็กมอเตอร์ไซด์ไปจ่าย และทำให้ต้องใช้บริการ ตรอ. ที่สะดวกและใกล้
2. ถ้าเพื่อนๆ มีเวลาไปตรวจสภาพรถเอง
รตจิตร เคยเอารถไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งเอง ค่าบริการ ไม่กี่สิบบาท แต่แถวยาว และตอนรอรายงานนานหน่อย ช่วงหลัง รตจิตร เห็นว่า ขณะนี้มี ตรอ. มีหลายแห่ง และค่อนข้างแข่งกันทำงานด้วย มาตรฐานก็พอ ๆ กัน เพราะกรมขนส่งมีการส่งเจ้าหน้ามาคอย
ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องวัด รตจิตร เลือกใช้บริการที่ ตรอ. แถว ๆ กรมขนส่งเลย เพราะ
– มาตรฐานทุกร้านเหมือน ๆ กันหมด ราคาก็เท่ากันหมด เช่นในปี 2560 ราคาตรวจสภาพ 200 บาท
– มีจำนวนหลายแห่ง ทำให้แข่งกันในเรื่องบริการ และความรวดเร็ว อยู่ใกล้ไม่เสียเวลา
– มีให้เลือกมากมาย ถ้าร้านนี้แถวยาว ก็ไปร้านอื่น เพราะแต่ละร้านอยู่ติด ๆ กันหมด
เอกสารที่ต้องใช้ในการเสียภาษีรถเก่า
1. สมุดทะเบียนรถยนต์
2. หลักฐานแสดงการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พ.ร.บ.
3. เงินภาษี ตามท้ายใบเสร็จรับเงินของปีเก่าที่จะระบุว่าปีต่อไปต้องจ่ายภาษีเท่าไร
ความเห็นส่วนตัวของรตจิตร
ความเห็นรตจิตร การเสียภาษีรถยนต์ ด้านในเร็วกว่า ด้านนอก และเป็นห้องแอร์ ด้วย อีกทั้งไม่เปลืองน้ำมัน กล่าวคือ การเสียภาษีรถยนต์ผ่าน เคาน์เตอร์ เร็วกว่าขับรถต่อแถวเพื่อเสียภาษี แต่ปัญหาคือที่กรมขนส่งมักไม่มีที่จอดรถ ทำให้รตจิตร ต้องยอมขับรถต่อ
แถวไปเรื่อย ๆ เพื่อเสียภาษี ดังนั้น ถ้าวันไหนเพื่อน ๆ ไปกรมทขนส่งเพื่อเสียภาษีแล้ว หากมีที่จอดรถ ก็จอดเถอะเพื่อไปรับบัตรคิวด้านใน เสียภาษีกับเคาน์เตอร์ปกติจะดีกว่า และถ้ามีเวลา ต้องการตรวจสภาพรถยนต์ ตรวจที่ขนส่งก็จะถูกกว่า ตรอ. (สถานที่ตรวจสภาพรถเอกชน) แต่ต้องซื้อเวลาหน่อยนะ