บทความนี้เขียนขึ้น และเป็นลิขสิทธิ์ของ พราว อรุณรังสีเวช
เขียนขึ้นครั้งแรกในปี 2559 และปรับปรุงเผยแพร่ในปี 2561
ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่หรือคัดลอกในที่ใด ๆ ไม่ว่าจะใช้ในสถาบันการศึกษาหรือสถานที่อื่น ๆ ที่เดียวที่ไม่ใช่เว็บไซต์นี้ และมีบทความนี้อยู่ คือ เอกสารประกอบการสอนวิชาศิลปะเพื่องานนิเทศศาสตร์ ซึ่งเป็นตำรากลางของคณะที่ข้าพเจ้าสังกัด และบทที่ 10 นั้น มีชื่อของ พราว อรุณรังสีเวช ปรากฏอยู่ ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้ผู้สอนท่านอื่น ๆ นำไปใส่ในตำราส่วนตัว เพื่อวางขาย เผยแพร่ หรือใช้ประกอบการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
หากผู้สอนท่านอื่นคัดลอกไปใช้ในเอกสารประกอบการสอนหรืิอตำราหรือหนังสือที่อ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่ง จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ทันที
กล่าวโดยสรุปคือ ไม่อนุญาตให้ Plagiarism ส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อมูลที่ปรากฏในโพสนี้
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
การใช้ความรู้ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา และเพิ่มต้นทุนทางความคิดในการสร้างสรรค์สินค้า และบริการนั้น สามารถทำให้เกิดกำไรได้ จากการเช่าหรือซื้อลิขสิทธิ์ ตลอดจนการให้เช่าสิทธิบัตรภายในประเทศที่สิทธิบัตรดังกล่าวถูกจดไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการใด ๆ ที่ทำธุรกิจนอกประเทศที่สิทธิบัตรหนึ่ง ๆ ถูกจดสามารถนำสิทธิบัตรไปใช้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรนั้น
การนี้ทำให้ทราบว่า 2 หัวข้อข้างต้นสามารถทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ แต่อาจมิได้หมายความว่า จะเกิดความยั่งยืนเสมอไป องค์กรควรที่จะมีการปรับปรุงสินค้า และบริการอยู่ตลอดเวลา นั่นคือการต่อวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) เช่น เมื่อชาเขียวรสชาติปกติเป็นที่นิยมแล้ว ฟูจิได้ออกรสชาติใหม่ เป็นแบบน้ำตาลน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development) เช่น การเปลี่ยนจากการฟังเพลงจาก เทป มาเป็น ซีดี และจากซีดี มาเป็น ไฟล์เพลงในเครื่องเล่น ตลอดจนแอปพลิเคชันสำหรับฟังเพลงจากไฟล์ในโทรศัพท์มือถือ จะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถมาทดแทนผลิตภัณฑ์เก่าได้ และแก้ไขปัญหา รวมถึงเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค
การสร้างสรรค์สื่อทางนิเทศศาสตร์ก็เช่นกัน ผู้ผลิตสื่อควรที่จะพัฒนาการนำเสนอข่าว เทคนิคการสร้างภาพยนตร์ ลีลาการเขียนบท และความแปลกใหม่ของรายการโทรทัศน์ แต่ความแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ยังไม่สามารถทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่าธุรกิจของตนจะอยู่รอดในยุคที่ประชาชนส่วนมากใช้สังคมออนไลน์ องค์กรควรที่จะมีภาพลักษณ์ที่ดี และแก้ไขวิกฤตต่าง ๆ ได้ทันเวลาก่อนที่ข่าวไม่ดีจะถูกวิจารณ์โดยชนหมู่มาก ซึ่งการถูกวิจารณ์ในทางลบเป็นเวลานานนั้น สามารถทำให้ผู้คนเกิดอคติต่อองค์กร หรือรวมตัวกันไม่ซื้อสินค้า ไม่ใช้บริการ และไม่รับชมสื่อที่ผลิตโดยองค์กรนั้น ๆ
เว็บไซต์ onemillionmoms.com เป็นเว็บไซต์ที่ผู้ปกครองรวมตัวกันประท้วงโดยเขียนจดหมายถึงผู้ผลิตสื่อที่สร้างสื่อที่มีความรุนแรง สร้างความเชื่อผิด ๆ และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อเยาวชน เว็บไซต์ดังกล่าวได้โพสบอกเล่าเรื่องราวความสำเร็จของการประท้วงที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งส่วนใหญ่คือ ละครโทรทัศน์ที่ถูกต่อต้าน จะไม่ถูกสร้างต่อในซีซั่น (Season) ต่อไป ตัวอย่างนี้ทำให้ทราบว่า ผู้ปกครองหรือผู้ชมที่สามารถวิเคราะห์เนื้อหาในสื่อได้ เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของธุรกิจผลิตสื่อ ธุรกิจจะไม่สามารถอยู่รอด ถ้าสร้างสรรค์งานโดยหวังเพียงกำไร และไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ชม แม้รายการโทรทัศน์จะมีความแปลกใหม่ก็ตาม
จากหัวข้อ ความหมายของแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะเห็นได้ว่าการผลิตสื่อทางนิเทศศาสตร์ ก็สามารถใช้แนวคิดนี้ได้เช่นกัน ในหัวข้อถัดไปจะกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ และองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ โดยเชื่อมโยงกับงานด้านนิเทศศาสตร์
อ่านเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งบท
◉ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ความหมายของ Creative Economy
◉ ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า
◉ ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ
◉ ความยั่งยืนของธุรกิจ
◉ ความหมายและความสำคัญของผลิตภัณฑ์
◉ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
◉ จริยธรรมในการออกแบบ และ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์
◉ รายการอ้างอิง ของทั้งหมด
หมายเหตุ ข้าพเจ้า พราว อรุณรังสีเวช เคยเขียนเรื่องในหัวข้อเดียวกันนี้ลงวารสาร 2 เล่ม ตามที่ปรากฏในอ้างอิง แต่ไม่ต้องการให้เกิดการซ้ำซ้อนหรือ Plagiarism ตนเอง จึงได้ Paraphrase เนื้อหา แต่ถ้าใครต้องการสรุปไปอ้างอิง ให้ใช้ข้อมูลการอ้างอิงดังที่ปรากฏด้านล่างนี้
อ้างอิงบทความนี้:
พราว อรุณรังสีเวช และ รตจิตร อรุณรังสีเวช. (2560). แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์. วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(3), 47-63.
Arunrangsiwed, P. & Arunrangsiwed, R. (2017). Creative Economy and Perceived Product Value. Management Science Rajabhat Maha-Sarakham University Journal, 2(3), 47-63.
พราว อรุณรังสีเวช และ สิริพร มีนานันทน์. (2559). สื่อสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 1(2), 62-71.
Arunrangsiwed, P. & Meenanan, S. (2016). Prosocial Media for Education. Journal of Mass Communication Technology, RMUTP, 1(2), 62-71.
Pingback: วิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ | Sw-Eden.NET
Pingback: ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ | Sw-Eden.NET
Pingback: ความหมายและความสำคัญของผลิตภัณฑ์ | Sw-Eden.NET
Pingback: จริยธรรมในการออกแบบ และ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ | Sw-Eden.NET