ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ

บทความนี้เขียนขึ้น และเป็นลิขสิทธิ์ของ พราว อรุณรังสีเวช
เขียนขึ้นครั้งแรกในปี 2559 และปรับปรุงเผยแพร่ในปี 2561
ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่หรือคัดลอกในที่ใด ๆ ไม่ว่าจะใช้ในสถาบันการศึกษาหรือสถานที่อื่น ๆ ที่เดียวที่ไม่ใช่เว็บไซต์นี้ และมีบทความนี้อยู่ คือ เอกสารประกอบการสอนวิชาศิลปะเพื่องานนิเทศศาสตร์ ซึ่งเป็นตำรากลางของคณะที่ข้าพเจ้าสังกัด และบทที่ 10 นั้น มีชื่อของ พราว อรุณรังสีเวช ปรากฏอยู่ ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้ผู้สอนท่านอื่น ๆ นำไปใส่ในตำราส่วนตัว เพื่อวางขาย เผยแพร่ หรือใช้ประกอบการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
หากผู้สอนท่านอื่นคัดลอกไปใช้ในเอกสารประกอบการสอนหรืิอตำราหรือหนังสือที่อ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่ง จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ทันที
กล่าวโดยสรุปคือ ไม่อนุญาตให้ Plagiarism ส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อมูลที่ปรากฏในโพสนี้

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ความคิดสร้างสรรค์ หรือต้นทุนทางความคิด ถือเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Coy, 2000) ด้วยวัตถุดิบ และต้นทุนที่จำกัด นักออกแบบสามารถเพิ่มการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผู้บริโภค ด้วยการสร้างสรรค์สินค้าที่มีความแตกต่างทั้งรูปลักษณ์ และการใช้งาน ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และมีความเจริญรุ่งเรือง การปรับใช้ศิลปวัฒนธรรมไทย ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ จึงสามารถช่วยเพิ่มมูลค่า และการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณค่าทางจิตใจ

ในสายงานด้านนิเทศศาสตร์ ภาพยนตร์ไทย โฆษณา ตลอดจนรายการโทรทัศน์ จำนวนมาก ได้ประสบความสำเร็จ และได้รับความสนใจ เมื่อมีการอิงประวัติศาสตร์ หรือผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรม อันเป็นที่เชิดชูของคนไทย และต่างชาติ ระพีพรรณ ภู่ผกาพันธ์พงษ์ ตัณฑรัตน์ (2556) ยังเสนอว่า การทำสื่อออนไลน์ และแอปพลิเคชัน ทั้งในรูปแบบการให้ข้อมูล หรือเกมส์ นั้น มิเพียงทำให้ตัวสื่อดูน่าสนใจ หากแต่ยังช่วยดำรงรักษาไว้ซึ่งสมบัติของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสืบทอดองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์สู่ชนรุ่นหลัง นอกจากนี้ การประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสื่อออนไลน์ ยังสามารถส่งผลต่อการเดินทางไปเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย เทียบเท่ากับการบอกปากต่อปาก (Arunrangsiwed, 2013)

การนี้ จึงสามารถกล่าวได้ว่า แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลกเสมอไป หากแต่สามารถเกิดจากการนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาผสมผสานกัน และทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่ตอบโจทย์ของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การประยุคสิ่งที่มีอยู่เดิมมาสร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่อาจส่งผลเสียต่อองค์กรในบางกรณี

จากที่ทราบดีว่า ตัวละครจาก DC Comics หลายตัวได้รับแรงบันดาลใจจากเทพเจ้ากรีก และโรมัน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจข้ามศาสตร์ ตามที่เอกสารประกอบการสอนนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า ศิลปินที่มีชื่อเสียงทางด้านการสร้างสรรค์งานวิจิตรศิลป์ สามารถเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สื่อทางนิเทศศาสตร์ได้ (พราว อรุณรังสีเวช, ปานแพร บุณยพุกกณะ, กฤษณะ เชื้อชัยนาท, และ นิติธร อุ้นพิพัฒน์, 2561) แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มแฟนคลับได้วิพากษ์วิจารณ์ตัวละครของ Marvel Comics ที่คัดลอกมาจาก DC Comics เช่น Quicksilver จาก The Flash, Hawkeye จาก Green Arrow, และ Ant Man จาก Atom เป็นต้น ซึ่งการคัดลอกที่มีความ “ใหม่” น้อยนั้น จะทำให้องค์กรกลายเป็นเป้าให้ผู้บริโภคตำหนินินทา

นอกจากนี้ ในยุคที่มีการเรียกร้องสิทธิสตรี จะเห็นได้ว่า ตัวละครหญิงของ DC Comics มีอาชีพการงาน แม้ชนิดของอาชีพจะจำกัดอยู่มากในยุคนั้น เช่น พยาบาล เลขา และนักข่าว ซึ่งอย่างน้อยที่สุด หนังสือการ์ตูนในยุค Golden Age (ค.ศ. 1938-1950) ที่มีกลุ่มผู้อื่นเป็นเยาวชน ก็สามารถสร้างทัศนคติด้านความเท่าเทียมกันทางเพศให้แก่ผู้อ่าน ซึ่งถือว่าเป็นการนำประเด็นทางสังคม และการเมืองมาหลอมรวมกับการผลิตงานหนังสือการ์ตูน สิ่งเหล่านี้มิใช่เพียงเป็นตัวอย่างของ แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หากแต่เป็นแนวคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบสังคม (Social Change) และสร้างความเท่าเทียมกันทางเพศ หากเปรียบเทียบกับตัวละครหญิงของ Marvel Comics ในยุคนั้น จะเห็นได้ชัดว่า ไม่ได้ก่อให้เกิดแนวคิดด้านความเท่าเทียมกันทางเพศ เพราะ พวกเธอมีบทบาทเป็น มารดา, แฟน, และภรรยา หาได้มีอาชีพการงานเหมือนเพศชาย (Dunne, 2006; Pratiwi, 2013)

อ่านเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งบท
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ความหมายของ Creative Economy
ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า
ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ
ความยั่งยืนของธุรกิจ
ความหมายและความสำคัญของผลิตภัณฑ์
การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
จริยธรรมในการออกแบบ และ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์
รายการอ้างอิง ของทั้งหมด

หมายเหตุ ข้าพเจ้า พราว อรุณรังสีเวช เคยเขียนเรื่องในหัวข้อเดียวกันนี้ลงวารสาร 2 เล่ม ตามที่ปรากฏในอ้างอิง แต่ไม่ต้องการให้เกิดการซ้ำซ้อนหรือ Plagiarism ตนเอง จึงได้ Paraphrase เนื้อหา แต่ถ้าใครต้องการสรุปไปอ้างอิง ให้ใช้ข้อมูลการอ้างอิงดังที่ปรากฏด้านล่างนี้
อ้างอิงบทความนี้:
พราว อรุณรังสีเวช และ รตจิตร อรุณรังสีเวช. (2560). แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์. วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(3), 47-63.
Arunrangsiwed, P. & Arunrangsiwed, R. (2017). Creative Economy and Perceived Product Value. Management Science Rajabhat Maha-Sarakham University Journal, 2(3), 47-63.
พราว อรุณรังสีเวช และ สิริพร มีนานันทน์. (2559). สื่อสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 1(2), 62-71.
Arunrangsiwed, P. & Meenanan, S. (2016). Prosocial Media for Education. Journal of Mass Communication Technology, RMUTP, 1(2), 62-71.

6 Comments

Filed under Uncategorized

6 responses to “ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ

  1. Pingback: วิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ | Sw-Eden.NET

  2. Pingback: วิธีการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ | Sw-Eden.NET

  3. Pingback: ความหมายและความสำคัญของผลิตภัณฑ์ | Sw-Eden.NET

  4. Pingback: จริยธรรมในการออกแบบ และ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ | Sw-Eden.NET

  5. Pingback: โจทย์ระดับมัธยม ออกแบบ สื่อโฆษณา | Sw-Eden.NET

  6. Pingback: การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal) ที่ไม่ถูกต้อง | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.