ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า

บทความนี้เขียนขึ้น และเป็นลิขสิทธิ์ของ พราว อรุณรังสีเวช
เขียนขึ้นครั้งแรกในปี 2559 และปรับปรุงเผยแพร่ในปี 2561
ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่หรือคัดลอกในที่ใด ๆ ไม่ว่าจะใช้ในสถาบันการศึกษาหรือสถานที่อื่น ๆ ที่เดียวที่ไม่ใช่เว็บไซต์นี้ และมีบทความนี้อยู่ คือ เอกสารประกอบการสอนวิชาศิลปะเพื่องานนิเทศศาสตร์ ซึ่งเป็นตำรากลางของคณะที่ข้าพเจ้าสังกัด และบทที่ 10 นั้น มีชื่อของ พราว อรุณรังสีเวช ปรากฏอยู่ ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้ผู้สอนท่านอื่น ๆ นำไปใส่ในตำราส่วนตัว เพื่อวางขาย เผยแพร่ หรือใช้ประกอบการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ

ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่นักศึกษาควรทราบและสามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ การแจ้งลิขสิทธิ์ การจดสิทธิบัตร และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์ สามารถเกิดขึ้นเองเมื่อสร้างสรรค์ผลงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีการจดแจ้ง แต่การจดแจ้งนั้นทำขึ้นเพื่อให้เป็นหลักฐาน ว่างานดังกล่าวถูกสร้างสรรค์โดยใคร และเมื่อไร ซึ่งศิลปินสามารถใช้วิธีอื่น ๆ แทนการจดแจ้งได้ เช่น การอัพโหลดภาพ หรือ วรรณกรรม ลงในสังคมออนไลน์ที่มีวันที่ระบุอยู่ เป็นต้น ประเภทของชิ้นงานที่ได้รับการคุ้มครอง คือ งานสร้างสรรค์ที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ 1 ในส่วนของประเภทของงานศิลปะ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2559)

อายุงานอันมีลิขสิทธิ์นั้นไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ และยิ่งไปกว่านั้น บางองค์กรอย่าง Walt Disney ได้มีการต่ออายุลิขสิทธิ์ของตัวละคร ตลอดจนปรับเปลี่ยนเครื่องแต่งกายใหม่เพื่อให้เริ่มนับอายุงานใหม่ นอกจากนี้ Walt Disney ยังนำ Animation เรื่องแรกของ Mickey Mouse คือ Steamboat Willie มาใช้แทนเครื่องหมายการค้า ก่อนเริ่มภาพยนตร์ในสังกัดของตน และจดทะเบียน Mickey Mouse เป็นเครื่องหมายการค้า จึงทำให้ตัวละครดังกล่าว ไม่มีวันที่จะกลายเป็นสาธารณสมบัติ (Public Domain) (Calhoun, 2018)

ทั้งนี้บริษัท Walt Disney ได้รับการวิภาควิจารณ์อย่างหนักในสังคมออนไลน์ เพราะ Walt Disney ได้กำไรมากมายจากการนำตัวละครที่เป็นสาธารณสมบัติในเทพนิยายมาใช้ แต่ในทางกลับกัน บริษัทกลับไม่ยอมมอบตัวละครที่ตนสร้างขึ้นให้เป็นสาธารณสมบัติของสังคม

พราว อรุณรังสีเวช

การจดสิทธิบัตร มีอายุไม่เกิน 20 ปี สื่อที่นำมาจดสิทธิบัตรได้ คือ กระบวนการผลิต ขั้นตอน วิธีการ และ งานใด ๆ ที่ความซับซ้อนเกินกว่าที่จะนำไปจดลิขสิทธิ์ เช่น ดินสอกดของ Pentel ซึ่งในปัจจุบัน เราสามารถพบว่า ดินสอกดของ Horse ซึ่งมีราคาถูกว่า Pentel นั้น มีความเหมือนกับดินสอกด Pentel รุ่นเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ทั้งนี้เนื่องจากสิทธิบัตร ของ Pentel หมดอายุ ทำให้งานออกแบบดินสอกดกลายเป็นของสาธารณะ ผู้ใดจะนำไปผลิตและสร้างกำไรก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจาก Pentel การมีกฎหมายในลักษณะนี้ ทำให้บุคคลทั่วไป และธุรกิจต่าง ๆ ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจ และความเจริญของประเทศ (มงคล แก้วมหา, 2559) แต่ในบางกรณี ผู้จดสิทธิบัตร อาจมิได้หวังผลกำไร หากแต่เป็นการจดเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นนำไปจดก่อน และหาผลประโยชน์จากผู้บริโภค

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สามารถช่วยป้องกันการปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าโดยผู้อื่น และยังป้องกันมิให้ผู้จดปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าที่มีอยู่เดิมโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้เนื่องจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นผู้ตรวจสอบให้ว่า เครื่องหมายการค้า หรือ เครื่องหมายบริการดังกล่าว เคยมีผู้ใดนำมาจดทะเบียนแล้วหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบอาจกินเวลาถึง 1 ปี

การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าโดยไม่รู้ตัว สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น นาวสาวเกด ต้องการเปิดร้านขายของเก่า จึงจ้างนายตุล ออกแบบเครื่องหมายการค้า แต่นายตุล ไปคัดลอกตราสัญลักษณ์ของร้านอื่น และนำมาให้นางสาวเกด ซึ่งนางสาวเกดไม่ทราบว่า นายตุลหลอกลวงตน การนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะสามารถช่วยนางสาวเกดตรวจสอบได้หากแต่ใช้เวลานาน

อ้างอิงบทความนี้:
พราว อรุณรังสีเวช และ รตจิตร อรุณรังสีเวช. (2560). แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์. วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(3), 47-63.
Arunrangsiwed, P. & Arunrangsiwed, R. (2017). Creative Economy and Perceived Product Value. Management Science Rajabhat Maha-Sarakham University Journal, 2(3), 47-63.
พราว อรุณรังสีเวช และ สิริพร มีนานันทน์. (2559). สื่อสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 1(2), 62-71.
Arunrangsiwed, P. & Meenanan, S. (2016). Prosocial Media for Education. Journal of Mass Communication Technology, RMUTP, 1(2), 62-71.

Advertisement

6 Comments

Filed under Uncategorized

6 responses to “ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า

  1. Pingback: วิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ | Sw-Eden.NET

  2. Pingback: ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ | Sw-Eden.NET

  3. Pingback: วิธีการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ | Sw-Eden.NET

  4. Pingback: ความหมายและความสำคัญของผลิตภัณฑ์ | Sw-Eden.NET

  5. Pingback: จริยธรรมในการออกแบบ และ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ | Sw-Eden.NET

  6. Pingback: พวกชังชาติ มันหมายถึงใครกัน? เราใช้พวกชังชาติหรือเปล่า? | Sw-Eden.NET

Leave a Reply ถาม หรือ แสดงความคิดเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.