ตัวอย่างการเขียนรายงานผลการวิจัย เบื้องต้นนี้ เขียนขึ้นโดยอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีที่ฝึกเขียนบทความวิจัย เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีนโยบายให้นักศึกษาทุกคนนำเสนอบทความวิจัยหรือบทความวิชาการก่อนเรียนจบ โดยมักจะเป็นนักศึกษาปี 3 หรือ ปี 4 ซึ่งข้าพเจ้าอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช เป็นอาจารย์นิเทศศาสตร์ สอนนักศึกษานิเทศศาสตร์ ซึ่งอาจจะไม่แกร่งเรื่องวิจัยเท่านักศึกษาที่เรียนคณะวิทยาศาสตร์ หรือบริหาร จึงอยากให้นักศึกษามีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนบทความ
ตัวอย่าง จาก อาจารย์พราว 1 หน้า ต่อ 1 งาน (แสดงว่า คุณจะทำ คนละ 2.5 หน้า)
สรุปผล
(ตอนเขียนสรุปผลการวิจัยเชิงปริมาณ เขียนตัวเลขและอธิบายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น หากจะเปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่น หรืออธิบายสาเหตุ ให้ไปเขียนในอภิปรายผล)
1. จำนวนตัวละคร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ความตื่นเต้นของฉาก (Correlation = 0.698)
2. ปริมาณการใช้ Visual Effect มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ความตื่นเต้นของฉาก (Correlation = 0.421)
3. ไม่พบ ความสัมพันธ์ระหว่าง เพศของตัวละครในฉาก และ ความตื่นเต้นของฉาก (Correlation = 0.015)
อภิปราย
(อภิปราย คือ การตีความ ว่า ทำไม ผลจึงเป็นเช่นนั้น บอกประมาณ 2-3 เหตุผล)
ต่อจากส่วนของอภิปรายผล คือ การเขียนข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยในอนาคต และสำหรับผู้ที่ผลไปใช้ในโลกความจริง
1. จำนวนตัวละคร อาจทำให้ผู้เขียนบทสามารถออกแบบเนื้อเรื่องได้หลากหลาย เวลาตัวเอกจะจนมุมตัวร้าย ก็มีตัวละครอื่น ๆ เข้ามาช่วย ทำให้ความสนุกตื่นเต้น ต่อเนื่องไปไม่หยุด แม้ว่าตัวละครบางตัวอาจแพ้แล้วในฉากต่อสู่ นอกจากนี้ จำนวนตัวละครยังสามารถเพิ่มสีสันได้ เพราะตัวละครแต่ละตัวมีบุคคลิคภาพและนิสัยไม่เหมือนกัน ดังนั้นการแก้ปัญหาในสถานการณ์คับคันจึงแตกต่างกัน และสร้างความตื่นเต้น น่าสนใจแก่ผู้ชม
2. เนื่องจากผู้ชมภาพยนตร์คือคนปกติ อาศัยอยู่ในโลกความจริง และเคยชินกับโลกความจริง การใช้ Visual Effect ในภาพยนตร์จึงทำให้เขารู้สึกตื่นเต้น เพราะสิ่งที่เขาเห็นเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ทำให้เขาอยากจับตามองตลอดเวลาว่าฉากจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง และสาเหตุที่เขาต้องใจจดใจจ่อดู ก็คือ เขาไม่สามารถเดาได้ว่าจะมีอะไรโผล่ออกมา หรือจะมีแสง สี การต่อสู้แบบไหน ซึ่งต่างจากฉากที่ไม่ใช้ Visual Effect ที่คนทั่วไปจะเดาได้ เช่น ตื่นมา ต้องไปแปรงฟัน แล้วไปแต่งตัว ไปขับรถ เป็นต้น
3. อาจารย์พราว อรุณรังสีเวชพบว่าเพศของตัวละครไม่มีความเกี่ยวข้องกับความตื่นเต้น อาจเป็นไปได้ เพราะ ผู้ชมภาพยนตร์มีทั้ง 2 เพศ ซึ่งผู้ชายอาจลุ้นไปกับตัวละครชาย และหลงไหลตัวละครหญิง ส่วนผู้หญิงก็ลุ้นไปกับตัวละครหญิง และแอบชอบตัวละครชาย เนื่องจากผู้ชม คละเพศ ทำให้ผลที่ได้มีการผสมกันระหว่าง 2 เพศ บ้างสูง บ้างต่ำ ทำให้เราไม่พบความสัมพันธ์ใด ๆ ในการสรุปผล นอกจากนี้ ธรรมชาติของเพศชาย จะต่อสู้และใช้กำลัง ซึ่งผู้ชมบางส่วนคิดว่าสนุก แต่ธรรมชาติของผู้หญิง จะใช้สมองมากกว่ากำลัง และเมื่อพวกเธอมาใช้กำลังในการต่อสู้ ผู้ชมจึงรู้สึกตื่นเต้น ดังนั้นแล้ว ในภาพยนตร์ Action ไม่ว่าตัวละครเพศใด ก็มีความสนุกตื่นเต้นไม่แตกต่างกัน เราจึงไม่พบความแตกต่างของตัวละครทั้ง 2 เพศ
ต่อจากส่วนของอภิปรายผล คือ การเขียนข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยในอนาคต และสำหรับผู้ที่ผลไปใช้ในโลกความจริง
คลิกที่นี่เพื่อดูการเขียนข้อเสนอแนะงานวิจัย
Pingback: เกลียดพวกละเมิดลิขสิทธิ์แล้วได้ดี มั้ยหล่ะ? | Sw-Eden.NET