ตัวอย่างการเขียนรายงานผลการวิจัย เบื้องต้นนี้ เขียนขึ้นโดยอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีที่ฝึกเขียนบทความวิจัย เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีนโยบายให้นักศึกษาทุกคนนำเสนอบทความวิจัยหรือบทความวิชาการก่อนเรียนจบ โดยมักจะเป็นนักศึกษาปี 3 หรือ ปี 4 ซึ่งข้าพเจ้าอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช เป็นอาจารย์นิเทศศาสตร์ สอนนักศึกษานิเทศศาสตร์ ซึ่งอาจจะไม่แกร่งเรื่องวิจัยเท่านักศึกษาที่เรียนคณะวิทยาศาสตร์ หรือบริหาร จึงอยากให้นักศึกษามีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนบทความ
ตัวอย่าง จาก อาจารย์พราว 1 หน้า ต่อ 1 งาน (แสดงว่า คุณจะทำ คนละ 2.5 หน้า)
สรุปผล
(ตอนเขียนสรุปผลการวิจัยเชิงปริมาณ เขียนตัวเลขและอธิบายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น หากจะเปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่น หรืออธิบายสาเหตุ ให้ไปเขียนในอภิปรายผล)
1. จำนวนตัวละคร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ความตื่นเต้นของฉาก (Correlation = 0.698)
2. ปริมาณการใช้ Visual Effect มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ความตื่นเต้นของฉาก (Correlation = 0.421)
3. ไม่พบ ความสัมพันธ์ระหว่าง เพศของตัวละครในฉาก และ ความตื่นเต้นของฉาก (Correlation = 0.015)
**ส่วนที่อยู่ด้านล่างนี้ คือการเขียนข้อเสนอแนะ จะเขียนต่อจากส่วนของการอภิปรายผลการวิจัย
ข้อเสนอแนะ และแนวทางการทำวิจัยในอนาคต
1. แนะนำคนที่จะศึกษาเรื่องนี้ต่อในอนาคต
งานที่อาจารย์พราว อรุณรังสีเวชศึกษา พราวศึกษาความสัมพันธ์จาก จำนวนตัวละคร ปริมาณการใช้ Visual Effect และเพศของตัวละครในฉาก ที่มีต่อ ความตื่นเต้นของฉาก ซึ่งจริง ๆ แล้ว ความตื่นเต้นที่ผู้ชมจะรับรู้จากภาพยนตร์ยังมีปัจจัยอื่นที่ยังไม่ได้นำมาวิเคราะห์ในงานนี้ ข้าพเจ้าจึงแนะนำให้ลองทดสอบ ความชื่นชอบตัวละคร นิสัยที่แปลกแยกของตัวละคร และผลลัพธ์ของการต่อสู้กัน เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้พบอะไรใหม่ ๆ ก็ได้
2.แนะนำผู้ผลิตสื่อ/ผู้ใช้งานเว็บไซต์/ผู้ชม
จะเห็นได้ว่า ทั้งจำนวนตัวละครและปริมาณ Visual Effect ในฉาก ทำให้ฉากตื่นเต้นขึ้น ดังนั้น ผู้กำกับที่อยากประหยัดงบประมาณในการสร้างภาพยนตร์ เลือกที่จะเพิ่มปริมาณตัวละครอย่างเดียวก็ได้
นอกจากนี้ เพศของตัวละครไม่มีผลใดๆ กับความตื่นเต้น แต่หากอาจารย์พราว อรุณรังสีเวชและนักศึกษาลองดูภาพยนตร์แนว Action, Sci-fi, Superhero ทั่ว ๆ ไป เราจะพบว่า จำนวนตัวละครชายมีมากกว่าตัวละครหญิง ดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าจึงแนะนำว่า ให้ผู้กำกับสามารถทำให้ตัวละครทั้ง 2 เพศ มีจำนวนเท่า ๆ กัน เพื่อเพิ่มความเท่าเทียมกันทางเพศในภาพยนตร์ เพราะไม่ว่าจะหญิงหรือชาย ก็ไม่ได้ส่งผลใด ๆ ให้ตื่นเต้นมากขึ้นหรือลดลงเลย
Pingback: เกลียดพวกละเมิดลิขสิทธิ์แล้วได้ดี มั้ยหล่ะ? | Sw-Eden.NET