Get rid of insects of trees (aphids, mealybugs and scale insects)
สรุปโดย รตจิตร
Concluded by Ratajit |October 2, 2018
**งานเขียนของ รตจิตรนี้ ถือเป็นวิทยาทานเพื่อให้ทุกคนได้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อน ๆ ที่รักการปลูกต้นไม้ ห้ามมิให้คัดลอกนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้ในเว็บไซต์อื่น ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งนี้อนุญาตให้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษาเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและชื่อผู้เขียน
คำนำ 10 วิธีการกำจัดเพลี้ย
เรื่องที่ รตจิตร กำลังจะบอกต่อให้เพื่อน ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนรักต้นไม้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นต้นกระบองเพชรที่คนปลูกมักให้เวลามากพอสมควร หรือต้นหนุมานนั่งแท่นที่รตจิตรปลูกขาย เพื่อเป็นทั้งไม้มงคล และสมุนไพรรักษาโรค ในเพจ facebook ขายต้นหนุมานนั่งแท่น – สมุนไพร หรือต้นไม้ทั่วไป เพราะต้นไม้บางต้น รตจิตร คิดว่าเพื่อน ๆ ต้องรักมาก เลี้ยงอย่างดี ดูแลตลอด ให้เวลาและมีต้นทุนที่เกี่ยวกับกับต้นไม้เหล่านี้มากจริง ๆ ซึ่ง รตจิตร ก็เคยเจอปัญหาเรื่องเพลี้ยเช่นกัน และพยายามกำจัดเพลี้ยโดย ใช้ทั้งพริก กระเทียม ใบยาสูบจากบุหรี่ เป็นต้น
เกี่ยวกับ 10 วิธีการกำจัดเพลี้ยนี้ รตจิตร หมายถึง Scales insect คือเพลี้ยรวม ๆ ทุกประเภท โดยวิธีกำจัดเพลี้ยส่วนมาก รตจิตรได้ข้อมูลมาจากอาจารย์พราว อรุณรังสีเวช ทุก ๆ วิธี อจ.พราว เป็นคนทดลองด้วยตนเอง และดูผลของการกำจัดแต่ละวิธีด้วย เนื่องจากเพลี้ยบางชนิดสามารถกำจัดได้ง่าย บางชนิดก็กำจัดได้ยากมาก ๆ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการ หรือระยะเวลาที่ใช้ และบางประเภทก็ยังหาวิธีกำจัดไม่ได้ จนทำให้ต้นกระบองเพชรต้องตาย เป็นต้น
ประเภทของเพลี้ย จากประสบการณ์
รตจิตร ไม่ได้อ้างอิงตามหลักวิชาการ แต่ 10 วิธีการกำจัดเพลี้ยน่าจะเรียกได้ว่า วิธีกำจัดเพลี้ยภาษาชาวบ้าน รตจิตรอาศัยประสบการณ์การปลูกต้นไม้ของรตจิตร เองมาประมาณ 40-50 ปี ที่ รตจิตรพบเห็นมาในชีวิต รตจิตรยังเห็นว่าต้นไม้บางชนิดไม่มีเพลี้ยมายุ่งเลย แต่ต้นไม้บางชนิด รตจิตรเจอเพลี้ยหลายประเภทมาก ได้แก่
1. Aphids หรือเพลี้ยเหลือง เป็นตัวเล็ก ๆ สีเหลือง ได้แก่ เพลี้ยที่ รตจิตรพบในใบกระเพา
2. Mealybugs หรือเพลี้ยแป้ง สีขาว ไม่ว่าจะเป็นเพลี้ยแป้งหางยาว (Long tail Jack Beardsley Mealybugs) หรือ เพลี้ยแป้งหางสั้น (Short tail Jack Beardsley Mealybugs) ที่ รตจิตรเห็นประจำบนหน่อยหน่า และมังคุด เป็นต้น กระบองเพชร ที่มีลักษณะต้นยาว ๆ เลื้อย ๆ เพราะลำต้นค่อนข้างอ่อน มักจะมีเพลี้ยแป้งเยอะ จนทำให้ยอดของต้นหงิกได้
3. Diaspis หรือเพลี้ยที่เป็นเส้น ๆ สีขาว รตจิตร คิดว่าเพลี้ยชนิดนี้ร้ายกาจมาก สามารถทำให้ต้นไม้ล้มตายได้ทั้งต้น พบได้บ่อยกับต้นไม้ประเภทกระบองเพชร กล้วยไม้ เพลี้ย Diaspis น่ากลัวที่สุด เพราะกำจัดยากจริง และถ้ามันขึ้นไปมากพอ ต้นจะตาย
4. เพลี้ยต้นมะม่วง ได้แก่ เพลี้ยหอย ที่เป็นตุ่ม ๆ ท้องใบมะม่วง และเพลี้ยไฟที่ทำให้ใบมะม่วงไหม้ได้ ตามที่ รตจิตรได้เห็นจากการปลูกต้นมะม่วงมาเป็น สิบ ๆ ปี
10 วิธีการกำจัดเพลี้ย
วิธีที่ 1 ใช้เขี่ยออก หรือบี้ตาย
รตจิตร คิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีแก้ปัญหาทันทีเมื่อเห็น จะเห็นได้ว่า ใช้เวลา และใช้สายตาค่อนข้างมาก กระบองเพชรต้นผอมๆ มีเพลี้ยแป้งเยอะมาก อาจารย์พราว ต้องคอยแกะเพลี้ย เพื่อบี้ให้ตายทุกวัน ถ้ายังคงทำตามวิธีนี้ต่อไป เพื่อน ๆ คงไม่ต้องทำอะไร จึงเกิดวิธีอื่น ๆ ตามมา
วิธีที่ 2 ใช้กระเทียม
อจ.พราว ใช้วิธีวางกระเทียมสดไว้ตามโคนต้นไม้ หรือ ใช้น้ำแช่กระเทียมสด ฉีดพ่น
วิธีที่ 3 ใช้ใบยาสูบ
อจ.พราว ใช้วิธีก้นบุหรี่ไว้ตามโคนต้นไม้ หรือ ใช้น้ำแช่บุหรี่ เฉาะที่เป็นใบยาสูบ ฉีดพ่น
วิธีที่ 4 ใช้น้ำสะเดา
อจ.พราว เกือบจะซื้อมาลอง คือ น้ำยาส่วนผสมสะเดาที่ขายตามร้านต้นไม้ เป็นขวด ๆ ละประมาณ 50-70 บาท แล้วแต่ยี่ห้อ แต่กลัวเป็นอันตรายกับสิ่งมีชีวิตอื่น ปรากฎว่าเพื่อนของอจ.พราว เคยใช้ฉีดพ่นเพลี้ยบนต้นไม้ เพื่อนของ อจ.พราว ยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายกับน้องหมา เพราะน้องหมาของเพื่อน อจ.พราว ชอบไปกินต้นไม้ด้วย แต่ต้องฉีดอย่างน้อย 3-4 ครั้ง อย่างไรก็ตาม รตจิตรเคยให้ยอดสะเดามาแช่น้ำแล้วฉีด หรือรดบนต้นไม้ เหมือนว่าป้องกันเพลี้ยได้ชั่วคราว พอกลิ่นหมดก็เห็นได้อีก
วิธีที่ 5 ใช้ฟองแชมพู
ฟองแชมพูนี้ มีที่มามากมาย ได้แก่ ยาสระผม น้ำยาฆ่าเห็บหมัดของสุนัข เมื่ออาจารย์พราว ใช้วิธีนี้ จะทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้ว อจ.พราว ก็ต้องรีบล้างออกให้สะอาด เพราะ
– ฟองไปเคลือบใบ ทำให้ใบไม่สามารถหายใจได้ เป็นผลเสียแก่ต้น
– ฟองบางอย่างแรง รตจิตร เห็นเลยว่า ถ้ามีส่วนตกค้างอยู่ ทำให้ใบไหม้ได้
วิธีที่ 6 ใช้ฉีดน้ำแรง
รตจิตรเคยใช้วิธีนี้ โดยการฉีดน้ำแรง ๆ ไม่เหมาะกับต้นไม้ที่บอบบาง ดอกหรือเมล็ดร่วงง่าย เช่น ต้นหนุมานนั่งแท่น แม้จะเป็นสมุนไพรที่ทน และแข็งแรง ปลูกง่าย แต่ประโยชน์มาก ดอกของมันก็ทนน้ำที่ฉีดแรง ๆ ไม่ได้ เป็นต้น
วิธีที่ 7 ใช้ยาฉีดกันยุง
การฉีดยากันยุง อาจเป็นอันตรายกับเด็กและสัตว์เลี้ยง ยกเว้นห่างไกลออกไป
วิธีที่ 8 ใช้บอแรกซ์
เช่นเดียวกับวิธีที่ 7 เพราะอาจเป็นอันตรายได้
วิธีที่ 9 ใช้ส่วนผสมธรรมชาติ
อาจารย์ พราว เห็นตามเว็บไซต์มีการ ใช้ กาแฟ ผสมกะทิ รดล้างเพลี้ยตามต้นไม้ ซึ่งก็ไม่ค่อยได้ผล อจ.พราว จึงใช้ส่วนผสมตามนี้ ซึ่งเรียกว่าเป็นสูตรเฉพาะตัวของอจ.พราว และก็ใช้ในการกำจัดเพลี้ยได้ค่อนข้างดี คือ กาแฟ, พริก, ใบยาสูบจากบุหรี่, น้ำส้ม โดยเมื่อผสมเสร็จ อจ.พราว ต้องกรองเพราะจะไว้ในกระบอกฉีด รตจิตรเคยไม่กรอง ทำให้กระบอกฉีดตันหมด
วิธีที่ 10 ใช้ เหล้า ผสม น้ำส้มสายชู
รตจิตร เมื่อวันก่อน กำจัด Diaspis ตัวผู้เป็นเส้นสีขาว ตัวเมียมีเกราะสีดำหุ้มอยู่ทำให้ดูเหมือนเป็นตัวสีดำ ความจริงถ้าเอาเกราะหุ้มออก ก็จะเห็น Diaspis ตัวเมียเป็นสีขาวเช่นกัน ทำไมเพลี้ยประเภทนี้ต้องมีเกราะ ก็เพื่อเป็นแหล่งเก็บไข่ นั่นเอง ไป รตจิตร
Pingback: cactus | Sw-Eden.NET