Fungal infection or Nail fungus
สรุปโดย รตจิตร
Concluded by Ratajit |November 4, 2018
**งานเขียนของ รตจิตรนี้ ถือเป็นวิทยาทานเพื่อให้ทุกคนได้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อน ๆ ที่มีปัญหาเรื่องเล็บคัน หรือมีบุตรหลานที่ชอบกัดเล็บ รตจิตรเขียนจากประสบการณ์จริงเกี่ยวกับข้างเล็บนิ้วโป้งคัน ห้ามมิให้คัดลอกนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้ในเว็บไซต์อื่น ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งนี้อนุญาตให้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษาเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและชื่อผู้เขียน
หลายคนบอกว่าถ้า รตจิตรเล็บคัน หมายความว่า เกิดจากเชื้อรา ภาษาอังกฤษที่ใช้กันคือ Fungal infection หรือ Nail fungus หรือ Fungal nail infection หรือ Onychomycosis หรือ Dermatophytic onychomycosis หรือ Tinea unguium บ้างก็บอกว่าเชื้อแบคทีเรีย แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ทั้ง 2 สาเหตุ แต่เกิดจากระบบประสาทบริเวณเล็บ รตจิตรพยายามหาที่รักษามาหลายแห่ง เพราะการคันเล็บทำให้รตจิตรดูเสียบุคลิกมาก เพราะรตจิตรต้องคอยเกา ซึ่งมีวิธีเกาได้หลายรูปแบบจริง ๆ
สาเหตุของ เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียที่เล็บ
เชื้อราที่เล็บ ถ้าเป็นแล้ว ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะรักษาได้ หากดูแลไม่ดี ยังมีโอกาสติดไปที่เล็บอื่น ๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจากเล็บมือไปเล็บเท้า หรือในทางกลับกัน นอกจากจะรักษาให้หายยากแล้ว ยังมีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้ง่ายอีกด้วย รตจิตรขอสรุปสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียที่เล็บ เกิดจาก
1. เล็บติดเชื้อรา
มือของเราเป็นอวัยวะที่จับไปทั่ว ทำให้โอกาสติดเชื้อราได้ง่าย และอาจเกิดจากการสัมผัสผู้ที่เป็นเชื้อราอยู่แล้ว โดยเราไม่รู้
2. เล็บติดเชื้อแบคทีเรีย
ในวัยเด็ก รตจิตรเคยกัดเล็บ เด็ก ๆ หลายคนชอบกัดเล็บ เพราะเพลินจากการดูหนัง ดูทีวี หรือเพราะเครียดจากการเรียน การทำการบ้าน การสอบ หรือเครียดจากพ่อแม่ดุด่าในวัยเด็ก เป็นต้น รตจิตรในวัยเด็ก ไม่ได้กัดเล็บรุนแรง แต่ชอบใช้ลิ้นดุน ๆ เพื่อไม่ให้เล็บแห้ง กรณีของรตจิตร จึงไม่ใช่เชื้อรา แต่น่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียจากน้ำลายมากกว่า อย่างไรก็ตามพอขูดเนื้อข้างเล็บของรตจิตรไปตรวจ กลับไม่พบทั้งเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียเลย โชคดีไป
นอกจากนี้ หมอที่รตจิตรเคยไปหา ยังบอกว่า น้ำประปาก็มีส่วนของ Bacteria มากเช่นกัน ทำให้คนที่ล้างมือบ่อย อาจติดเชื้อแบคทีเรียในน้ำมาได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำผงซักฟอก
3. คนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
ในวัยเด็กซึ่งมีภูมิคุ้มกันต้นทานโรคค่อนข้างต่ำ จึงพบว่าเกิดเชื้อราที่เล็บกันเป็นจำนวนมาก ส่วนรตจิตร แม้จะโชคดีที่ไม่ได้เป็นทั้งเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็สร้างความรำคาญใจให้รตจิตรเองไม่น้อยเลย
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเชื้อรา หรือไม่
1. รตจิตรหาหมอ เพื่อวิเคราะห์ผิวหนัง
รตจิตรทำได้อย่างเดียวคือหาหมอ แต่รตจิตรไม่กินยานะ รตจิตรให้หมอขูดผิวหนังข้างเล็บออกเป็นเนื้อขุย ๆ เพื่อนำไปเช็คว่าเป็นเชื้อรา หรือแบคทีเรีย หรือไม่ใช่ สมัยก่อนไม่มี Internet ให้ใช้ รตจิตรไม่สามารถค้นหาข้อมูล เพื่อหาความรู้ หาตัวช่วยได้เลย คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีความรู้แบบปัจจุบัน แม้แต่ตามคลินิก หลายแห่งก็ต้องส่งให้โรงพยาบาลตรวจเช็คเชื้อในแล็บ รตจิตรตรวจรักษาเล็บคันหลายที่ก็ไม่เจอว่าเป็นเชื้อรา หรือแบคทีเรีย เพราะถ้าเป็นเชื้อราก็ต้องกินยาเม็ดแก้หรือต้านเชื้อรา แต่หมอทุกคนก็ไม่เจอเชื้อราในเล็บของรตจิตร มีโรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง ที่หมอบอกว่า หาเชื้อราไม่พบ แสดงว่าที่รตจิตรเล็บคันเพราะมาจากแบคทีเรีย ซึ่งพบในน้ำผงซักฟอกได้ง่าย
2. รตจิตรดูลักษณะและอาการของเล็บติดเชื้อรา
– เล็บคัน
– เล็บมีโพรงช่องว่างระหว่างเล็บกับเนื้อใต้เล็บ
– เล็บมีลักษณะหนา และอาจขรุขระ หรือเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
– อาการเล็บคันอาจคันลามไปเล็บอื่น
– ลักษณะเล็บผิดรูปเพราะเกา หรือเล็บกินเข้าไปในเนื้อ
เชื้อราที่เล็บ รักษาอย่างไร
ตอนที่ รตจิตร ไปหาหมอ หมอส่วนมากจะใช้วิธีการรักษาโดยให้ยาทาข้างจมูกเล็บ และให้ยากินซึ่งมี 2 แบบคือ ยาแก้แพ้ และยาแก้คัน ตามความเห็นส่วนตัวของรตจิตรนะ ไม่ได้ช่วยรักษาจริงเลย ด้วยเหตุผลดังนี้
1. ยาทาเป็นสารสเตียรอยด์ (Steroid)
รตจิตรไปหาหมอหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลชื่อดัง อันดับต้น ๆ ของกรุงเทพฯ ที่ให้ยาแก้คันที่มีขายตามท้องตลาด รวมถึงแพทย์บางคนสั่งยาที่ตนเองผสมเอง โดยใช้ไขมันกับสารสเตียรอยด์ผสมด้วยกัน หรือแม้แต่คลินิกโรคผิวหนังชื่อดังมาก ๆ ที่ให้ยารตจิตรมาทาก็เช่นกัน ไม่มีที่ไหนรักษาเล็บคันของรตจิตรได้หาย ความเห็นส่วนตัว แม้จะใช้สารสเตียรอยด์ทาภายนอก ก็ไม่ดีเท่าไร เพราะสารสามารถซึมเข้าร่างกายได้ หมอมักพูดว่าน้อยมาก ไม่เป็นอันตราย แต่ในเมื่อรตจิตรรู้แล้วว่า สารสเตียรอยด์ไม่ดีต่อร่างกาย ก็ไม่ทาดีกว่า
2. ยาเม็ดกินแก้แพ้ แก้คัน
การกินยาที่ไม่จำเป็นย่อมมีผลต่อตับ สมัยก่อนรตจิตรก็กินตามหมอสั่ง เดี๋ยวนี้รตจิตรไม่กินยาเลยค่ะ
3. ยาเม็ดต้านหรือฆ่าเชื้อรา
พอดีรตจิตรไม่ได้ติดเชื้อรา แต่หาเช็คเชื้อในห้องแล็บแล้วพบว่ามีเชื้อรา ก็จำเป็นต้องฆ่าเชื้อราก่อน ซึ่งหลายคนมองว่า รักษายาก รตจิตรสังเกตว่า คนที่เล็บมีเชื้อรา มักจะติดไปที่เล็บอื่นด้วย แต่ถ้าเป็นเล็บเดียว คันอยู่เล็บเดียวไม่ได้ติดลามไปเล็บอื่น ก็ไม่น่าจะใช่เชื้อรา
เล็บคัน จะทำอย่างไร
1. รตจิตรใช้ยาทาเล็บ
วิธีนี้ทำให้ รตจิตร ไม่เกา และสามารถป้องกันเล็บอื่น ๆ ติดเชื้อราไปด้วย
2. รตจิตรลอกเล็บออก
ด้วยความรำคาญเรื่องความคันของจมูกเล็บนิ้วโป้งมานาน เล็บที่นิ้วโป้งของรตจิตร มีลักษณะ หนาและแข็งมาก จะรักษาได้ยากกว่าเล็บบางอ่อนของนิ้วอื่น ๆ ทำให้หมอแนะนำให้ลอกเล็บออกหลังจากรักษามานาน เจ็บมาก เจ็บตั้งแต่ใช้เข็มฉีดยาชาเขาไปตามมุมจมูกเล็บของรตจิตร และหมุนเข็มยาชานั้นไปรอบ ๆ เล็บ เพื่อให้ยาชากระจายไปทั่ว ๆ ก่อนลอกเล็บ
3. รตจิตรไม่ทำอะไรกับเล็บที่คัน
เนื่องจากเล็บของรตจิตรคันเพราะเกี่ยวข้องกับประสาทตามนิ้ว รตจิตรจึงพยายามห้ามใจตัวเอง ไม่เกา ไม่กดเล็บที่คัน ไม่ถูไม่มา หรือตัดแกะให้เจ็บ ๆ แทน จะได้ไม่เกา
สมัยก่อนตอนเด็ก ๆ เล็บของรตจิตรคันมาก รตจิตรใช้หลายวิธีมากเพื่อแก้อาการคัน ได้แก่
– วิธียอดฮิตคือกัดเล็บ แม้แต่ปัจจุบันก็ยังเห็นเด็กบางคนยังชอบกัดเล็บอยู่
– รตจิตรเกา หรือกด บางทีรตจิตรก็เอา cutter ตัดหนังข้าง ๆ และใต้เล็บออก
– ใช้ลิ้นเอาน้ำลายดุน ๆ ตลอด
ดูแล เรื่องเล็บคันได้อย่างไร
1. ถ้าเล็บติดเชื้อรา หรือแบคทีเรีย
– รตจิตรขอแนะนำว่า ถ้าเพื่อน ๆ ได้รับการวินิจฉัยแน่ชัดว่าติดเชื้อรา หรือแบคทีเรีย ก็ต้องกินยาต้านตามหมอสั่ง
– รักษาความสะอาดให้ดี โดยเฉพาะเชื้อรา เพื่อไม่ให้ลามติดไปเล็บอื่น รตจิตรคิดว่าการใช้กรรไกรตัดเล็บควรแยกใช้เสียด้วยสำหรับเล็บที่คัน เผื่อมีเชื้อรา จะได้ไม่ติดต่อไปเล็บอื่น ถ้าเป็นที่เท้าก็ต้องซักถุงเท้าหรือล้างรองเท้าให้สะอาดเพียงพอ
2. ถ้าเล็บคันเพราะเส้นประสาท
รตจิตรขอแนะนำไม่ให้เกา อย่าแคะแกะเกา ถูไถไปมาด้วยนิ้วอื่นเด็ดขาด แล้วอาการจะหมดไป ลักษณะเล็บจะดีขึ้น
3. รตจิตรใช้โลชั่นที่ทาหน้าทา
รตจิตรใช้ night cream เครื่องสำอางค์ยี่ห้อหนึ่งทา ปรากฎว่า เนื้อที่แยกจากเล็บ สามารถติดกันไปเหมือนเดิม แต่ต้องไม่แกะเกาอีก เพราะอาจทำให้เนื้อแยกได้เหมือนเดิม
Pingback: D.I.Y. เขียนเล็บด้วยสีอคริลิค ทำเองให้ดู | Sw-Eden.NET
Pingback: 4 วิธี จัดการอาเจียนของสุนัขบนเบาะรถยนต์ผ้า เบาะกำมะหยี่ | Sw-Eden.NET
Pingback: หนอนร่าน บุ้ง หนอนบุ้ง พิษของบุ้ง และ วิธีรักษา | Sw-Eden.NET