บทความโดยคุณ หนุ่มน้อย และ สว อิเฎล
ภาพโดย สว อิเฎล
อนุญาตให้ผู้โพส (Admin ของเว็บนี้) เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นข้อคิดดี ๆ ต่อผู้อ่าน โดยห้ามมิให้เว็บไซต์อื่น ๆ Copy ไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด หากผู้ใดต้องการนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้ กรุณาติดต่อ Administrator โดยส่งบันทึกข้อความอย่างเป็นทางการเท่านั้น
หนุ่มน้อย: ผมไม่ชอบการเหยียดเพศที่ 3 เพราะ ในสังคมในปัจจุบันเราเริ่มมีการให้คุณค่าแก่ตัวบุคคลด้วยกันแล้ว ในเรื่องของสิทธิความเท่าเทียมที่สังคมได้ให้ว่าผู้ชายและผู้หญิงนั้นมีสิทธิเท่าเทียมกัน แล้วเพศที่ 3 ที่อยู่ในจุดกึ่งกลางระหว่างเพศหญิงและเพศชาย กลุ่มคนนี้ก็ควรจะได้รับสิทธิในสังคมนี้เหมือนกัน
หนุ่มน้อย: ในการหางานทำในสังคมไทย เพศที่ 3 จะมองได้แค่ไม่กี่งาน เช่น เป็นช่างแต่งหน้า เป็นแด๊นเซอร์ เป็นต้น แต่ด้วยการที่เขาเกิดมาเป็นเพศที่ 3 งานที่รองรับเขาก็ควรที่จะมีมากขึ้น เพศที่ 3 อาจจะทำงานในสภาได้ดีกว่าผู้ชายด้วยซ้ำ การว่าจ้างงานเพศที่ 3 ที่ดูน้อยนิดก็เปรียบเหมือนการเหยียดเขา สังคมไทยเราควรให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก
หนุ่มน้อย: เพศที่ 3 ไม่ใช่เป็นเพศที่มีแต่ความสนุกสนานหรือความตลกโป๊กฮาเป็นอย่างเดียว เขาก็มีร่างกายที่แข่งแกร่งเหมือนผู้ชายและมีหัวใจที่เหมือนผู้หญิง เขาก็สามารถทำงานได้หลายอย่างในสังคมไทย การเหยียดเพศที่ 3 เกิดขึ้นในสังคมในหลายรุ่น เช่น การไม่ยอมรับในตัวเพื่อนในห้องเรียนในเรื่องการเป็นเพศที่ 3 มันจึงเกิดการบลูลี่ และก็จะส่งผลกระทบต่อตัวของเขา อาจจะเกิดผลตามมาอย่างเช่นการเป็นโรคซึมเศร้าหรือเครียดนั่นเอง
สว อิเฎล: ปัญหาที่ สว อิเฎล พบได้ ก็คือในภาพยนตร์ ในอดีตภาพยนตร์ตะวันตกมีการเหยียดเพศที่สามมากพอพอกับภาพยนตร์ไทยปัจจุบัน ที่ทำให้คนเพศที่สามเป็นเครื่องมือทำให้ผู้ชมตลกขำขัน การที่บทภาพยนตร์มีการเหยียดเพศเช่นนี้ จะทำให้ทัศนคติของคนทั่วไปที่รับชมภาพยนตร์เปลี่ยนได้ เราต้องอย่ามองในระยะสั้น ๆ ที่ว่า ผู้กำกับ หรือผู้ผลิตสื่อได้ว่าจ้างให้งานกับนักแสดงที่เป็นเพศที่สาม นั่นอาจเป็นสิ่งที่ดีเพราะเป็นการให้อาชีพกับพวกเขา แต่การให้อาชีพคนไม่กี่คนนี้ อาจส่งผลสร้างความเดือดร้อนให้กับเพศที่สามคนอื่น ๆ ที่เสื่อมเสียภาพลักษณ์และถูดดูถูกโดยที่ผู้ดูถูกยังไม่รู้ตัวเสียด้วยว่าทำอะไรลงไป หรือเอาความเชื่อผิด ๆ เหล่านี้มาจากไหน
สว อิเฎล: สว อิเฎล จึงอยากขอให้คนที่ผลิตสื่อ ช่วยกลั่นกรองดี ๆ ทั้งภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ที่ปัจจุบันมีคำหยาบ และลามกต่ำกว่าสะดือเป็นจำนวนมาก และละครโทรทัศน์ที่เน้นสร้างความเคยชินกับการทะเลาะกันตบตีกันของผู้หญิง และการใช้กำลังแก้ปัญหาของเพศชาย
Pingback: ข่มขืนต้องประหาร ขมขืนเกย์ก็ต้องประหารด้วย! | Sw-Eden.NET
Pingback: พวกชังชาติ มันหมายถึงใครกัน? เราใช้พวกชังชาติหรือเปล่า? | Sw-Eden.NET
Pingback: คำว่า Genre อ่านว่าอะไร? มีอะไรบ้าง? | Sw-Eden.NET